สืบค้นงานวิจัย
การใช้ความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตไก่พื้นเมืองของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบุรี
วชิระ แขวงโสภา - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้ความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตไก่พื้นเมืองของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบุรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วชิระ แขวงโสภา
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศักษาเกี่ยวกับ 1) การใช้ความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตไก่พื้นเมืองของเกษตรกรในเรื่องโรงเรียนหรือเล้าไก่ อาหารและการให้อาหารน้ำและการให้น้ำ การปรับปรุงพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ การป้อกันโรคและการกำจัดพยาธิ 2) แหล่งข้อมูลข่าวสารที่มีอิทธิพลต่อการผลิตไก่พื้นเมือง 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพพื้นฐานบางประการของเกษตรกร (อายุ รายได้ ระดับการศึกษา ปริมาณไก่พื้นเมืองที่เลี้ยง) กับการใช้ความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตไก่พื้นเมือง และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร ทำการศึกษาโดย 1) ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยโดยใช้การสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองที่อยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาลในจังหวัดเพชรบุรีจำนวน 145 คน และ 3) วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต มัธยฐาน สหสัมพันธ์อย่างง่าย และการวิเคราะห์ถดถอยพทุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีอายุเฉลี่ย 40 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เลี้ยงไก่พื้นเมืองไว้บริเวณโภคและจำหน่าย หรือจำหน่ายเพียงอย่างเดียว มีความสนใจที่จะเข้ารับการฝึกอบรม มีรายได้เฉลี่ย 36,000 บาท ต่อครัวเรือนต่อปี โดยมีรายได้จากการจำหน่ายไก่พื้นเมืองเฉลี่ย 800 บาทต่อครัวเรือนต่อปี เลี้ยงไก่พื้นเมืองเฉลี่ย 20 ตัวต่อครัวเรือน เกษตรกรส่วนมากไม่สร้างเล้าไก่ ส่วนเกษตรกรที่สร้างเล้าไก่นั้นส่วนใหญ่นำความรู้และเทคโนโลยีเรื่องโรงเรือน น้ำและการให้น้ำไปปฏิบัติ ไม่สนใจที่จะใช้พ่อพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์อย่างดีแล้วจากต่างประเทศคุมฝูง นอกจากนั้นยังพบว่าไม่สับเปลี่ยนพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์เพื่อป้องกันการผสมชิด แต่ให้ความสำคัญในเรื่องอัตราส่วนระหว่างพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ และการคัดไก่ไว้ทำพันธุ์ สำหรับการป้องกันโรคและการกำจัดพยาธิพบว่าส่วนใหญ่ไม่ทำวัคซีนป้องกันโรคระบาดที่สำคัญทั้ง 4 ชนิด รวมทั้งการถ่ายพยาธิด้วย เกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารจากเพื่อนบ้าน บุตรหลานญาติพี่น้อง มากที่สุด ในขณะที่ได้รับจากหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ทางราชการน้อยที่สุด และให้ความเชื่อถือเพื่อนบ้าน บุตรหลาน ญาติพี่น้องมากที่สุดเช่นกัน แต่ให้ความเชื่อถือสื่อมวลชนน้อยที่สุด แหล่งข้อมูลข่าวสารทุกแหล่งมีส่วนในการตัดสนิใจค่อนข้างน้อย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างสภาพพื้นฐานบางประการของเกษตรกรกับการใช้ความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตไก่พื้นเมือง พบว่า อายุ รายได้จากการจำหน่ายไก่พื้นเมือง การศึกษา และปริมาณไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับการใช้ความรู้และเทคโนโลยีในการผลิต ส่วนรายได้ทั้งหมดในครัวเรือนไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่ารายได้จากการจำหน่ายไก่พื้นเมือง การศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 และปริมาณไก้พื้นเมืองที่เลี้ยง สามารถร่วมกันทำนายการใช้ความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตได้ร้อยละ 32.84 ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) = 0.5731 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัญหาที่เกษตรกรประสบมากที่สุดคือ แหล่งข้อมูลข่าวสาร รองลงมาคือการป้องกันโรคและการกำจัดพยาธิ เกษตรกรให้ข้อเสนอแนะว่าเจ้าหน้าที่ทางราชการควรออกไปให้ความรู้บ่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) ควรกระตุ้นชักชวนให้เกษตรกรเห็นความสำคัญในการสร้างเล้าไก่ให้มากขึ้น 2) การใช้พ่อพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงอย่างดีแล้วจากต่างประเทศคุมฝูงควรพิจารณาถึงความต้องการของเกษตรกร ตลาด ความสามารถอยู่รอด และการให้ผลผลิตของไก่ลูกผสม 3) ควรมีการกระจายเวชภัณฑ์และวัคซีนสำหรับสัตว์ไปสู่เกษตรกรให้มากที่สุด และ 4) น่าจะนำตัวแปรต่าง ๆ เหล่านี้คือ ทัศนคติของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง ความคาดหวังของเกษตรกรต่อไก่พื้นเมือง ความต้องการ การคมนาคม ลักษณะสภาพภูมิประเทศ การตลาด และการปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาศึกษาร่วมกัน เพื่อทำนายการใช้ความรู้และเทคโนโลยีของเกษตรกรในการผลิตไก่พื้นเมืองให้ได้มากที่สุด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2532
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2532
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดเพชรบุรี
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตไก่พื้นเมืองของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบุรี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2532
ผลของสถานที่ การศึกษา สายพันธุ์ และวัตถุประสงค์การผลิตในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองต่อรายได้ของเกษตรกรในวังทอง เมือง บางระกำ และอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก การปรับวิธีการเลี้ยงของเกษตรกรเพื่อยกระดับการผลิตไก่พื้นเมือง การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดแพร่ การศึกษาการผสมพันธุ์ไก่พื้นเมืองและใช้ตู้ฟักไข่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไก่พื้นเมือง การศึกษาสภาพการผลิตมะนาวในจังหวัดเพชรบุรี การผลิตและการตลาดสับปะรด จังหวัดเพชรบุรี ความต้องการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของเกษตรกรในพื้นที่รอบโครงการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริจังหวัดระยอง-ชลบุรี การใช้เทคโนโลยีในการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์ การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวสาลีของเกษตรกร การใช้เทคโนโลยีการผลิตสับปะรดบริโภคผลสดของเกษตรกร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก