สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและการตลาดมะม่วงของเกษตรกรในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
มนูญ เมี้ยนกลาง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและการตลาดมะม่วงของเกษตรกรในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มนูญ เมี้ยนกลาง
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง สภาพการผลิตและตลาดมะม่วงของเกษตรกรอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกร สภาพการผลิตและตลาดมะม่วง ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ประชากรเป็นเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง จำนวน 191 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นประชากรทั้งหมด โดยวิธีสำมะโนประชากร ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ชนิดโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 48 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมรสแล้ว สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน พื้นที่ถือครองการเกษตรเฉลี่ย 20.90 ไร่ ส่วนใหญ่พื้นที่ถือครองเป็นของตนเอง มีอาชีพทำนา เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร มีรถไถเดินตาม เป็นของตนเอง เกษตรกรมีประสบการณ์การปลูกมะม่วง เฉลี่ย 21.34 ปี ไม่เคยได้รับการฝึกอบรม มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 2.25 ไร่ ดินเป็นดินร่วนปนทราย ลักษณะพื้นที่ปลูกเป็นที่ดอน ลุ่มและราบ ส่วนใหญ่ปลูกมะม่วงพันธุ์อกร่อง การขยายพันธุ์ปลูกโดยการเพาะเมล็ด ส่วนใหญ่จัดหาพันธุ์เอง ปลูกมะม่วงแซมกับพืชอื่น ใช้ระยะปลูก 4 x 4 เมตร จำนวนมะม่วงเฉลี่ย 35.09 ต้นต่อไร่ ส่วนใหญ่ปลูกมะม่วงโดยอาศัยน้ำฝน เกษตรกรมีการดูแลรักษาส่วนน้อยเกี่ยวกับการตัดแต่ง การใส่ปุ๋ย การป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีการระบาดของแมลงวันผลไม้ เก็บเกี่ยวโดยใช้ไม้สอยแบบตะกร้อ จำหน่ายให้กับพ่อค้ามารับซื้อที่สวนในลักษณะขายปลีก ใช้แหล่งเงินทุนจากกองทุนหมู่บ้าน ในภาพรวมเกษตรกรมีปัญหาในระดับมาก โดยมีปัญหาระดับมาก ในเรื่อง โรคพืชระบาด ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ขาดแหล่งพันธุ์ดี ขาดความรู้การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การรวมกลุ่ม แมลงศัตรูพืชระบาด ภัยธรรมชาติ ราคาจำหน่ายผลผลิตต่ำ ขาดเงินทุน ขาดความรู้ในการใช้ปุ๋ย การตัดแต่งกิ่งและตลาดรับซื้อไม่แน่นอน และเกษตรกรมีความต้องการในภาพรวมระดับมาก โดยในเรื่องที่เกษตรกรมีความต้องการมาก ได้แก่ ความรู้ การคัดคุณภาพ การบรรจุหีบห่อ การเพิ่มผลผลิต การให้น้ำ ปัจจัยการผลิต แหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ แหล่งจำหน่ายผลผลิต แหล่งรวบรวมผลผลิตและการประกันราคา ข้อเสนอแนะ ควรสนับสนุนวิชาการเกี่ยวกับการปลูกและการตลาดมะม่วง ปัจจัยการผลิต แหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ แหล่งพันธุ์ดีและแหล่งรับซื้อผลผลิต ควรให้มีการรวมกลุ่ม การศึกษาครั้งต่อไป ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตมะม่วงของเกษตรกร ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตมะม่วงให้ถูกต้องเหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการผลิตมะม่วงอย่างถูกต้องและเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและการตลาดมะม่วงของเกษตรกรในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการผลิตและการตลาดละมุดของเกษตรกรในตำบลตะขบ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในจังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกร ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา การผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกรในตำบลบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดมะม่วงของเกษตรกรกลุ่มผู้ผลิตมะม่วง อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกร อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา การผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลหนองหัวแก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก