สืบค้นงานวิจัย
การผลิตข้าวมอลต์นึ่งวิตามินบีสูงทางการค้า
ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล - มหาวิทยาลัยรังสิต
ชื่อเรื่อง: การผลิตข้าวมอลต์นึ่งวิตามินบีสูงทางการค้า
ชื่อเรื่อง (EN): Commercial Production of High Vitamin B Parboiled Rice Malt
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:               สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยภายใต้โครงการ “การผลิตข้าวมอลต์นึ่งวิตามินบีสูงทางการค้า” แก่มหาวิทยาลัยรังสิต มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการผลิตข้าวสุขภาพ (ข้าวมอลต์) ที่มีคุณสมบัติพิเศษด้านสี กลิ่น รส และสารอาหารแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ข้าวที่จำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เทคโนโลยีการเตรียมมอลต์ เป็นเทคโนโลยีที่ได้ดัดแปลงจากการเพาะมอลต์ของประเทศเยอรมันเป็นวิธีผสมผสานการเพาะมอลต์ ซึ่งข้าวความหนาแน่นต่อตารางเมตรต่ำกับบ่อเพาะมอลต์ที่สามารถเพาะข้าวเปลือกความหนาแน่นต่อตารางเมตรสูง ซึ่งคาดว่าจะได้ 150 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยคุณภาพข้าวไม่เปลี่ยนแปลงจากการทำในห้องปฏิบัติการในขั้นตอนย่อยของการแช่ (Sleeping) และขั้นตอนย่อยของการงอก (Germination) และนำมอลต์สดมาผ่านขั้นตอนย่อยของการอบแห้ง (Kilning) ที่สองระดับอุณหภูมิ (สูงหรือต่ำ) เพื่อให้เกิดการพัฒนาของสีกลิ่น และกลิ่นรส ที่สามารถช่วยกลบกลิ่นของข้าวนึ่งในขั้นตอนหลักที่สองได้ จะเป็นการเพิ่มกำลังผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการและกำลังสั่งซื้อจากผู้บริโภคที่มีมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นการขยายจากกำลังผลิตเดิมที่ทำได้เพียงวันละ 200 กิโลกรัม โดยบ่อเพาะเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีจำนวน 3 บ่อ ที่ได้ทำการติดตั้งระบบหมุนเวียนน้ำและอากาศ เทคโนโลยีการเตรียมมอลต์นึ่งซึ่งเป็นการดัดแปลงเทคนิคการนึ่งข้าวเปลือกที่ประกอบด้วยขั้นตอนการแช่ การนึ่งหรือต้ม และการทำแห้งของอุตสาหกรรมข้าวนึ่ง ก่อนจะนำมากระเทาะเปลือกด้วยเครื่องสีข้าวที่ได้ปรับระดับการขัดสีไว้สำหรับขัดสีข้าวกล้อง ซึ่งสามารถช่วยยืดอายุการเก็บโดยยังคงคุณภาพทางเคมี และคุณค่าสารอาหารไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ สามารถปรับมาใช้ถุงพลาสติกใสและการบรรจุแบบธรรมดาเพื่อลดต้นทุนการผลิตได้  ประโยชน์ที่ได้รับของโครงการจะได้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ข้าวมอลต์) ที่มีคุณสมบัติพิเศษด้านสี กลิ่น รส สารอาหาร และกรรมวิธีการผลิตที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งได้โรงงานต้นแบบข้าวมอล์ตจากข้าวปทุมธานี 41 ที่ได้มาตรฐาน GMP ที่มีคุณภาพ การลงทุนต่ำ มีกำลังการผลิต 1 ตันต่อวัน เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก อุตสาหกรรมขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งได้ข้อมูลคุณค่าทางอาหารของข้าว 14 พันธุ์ รวมทั้งสายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมต่อการทำข้าวมอลต์ 
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-03-05
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-04-04
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2551
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยรังสิต
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP ลิขสิทธิ์
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพและเวชสำอาง
เลขที่คำขอ 237964
วันที่ยื่นคำขอ 2010-08-16 12:00:00
เลขที่ประกาศ
วันที่จดทะเบียน 2010-10-05 12:00:00
เลขที่จดทะเบียน ส.8089
วันที่ประกาศ
สถานะปัจจุบัน เชิงพาณิชย์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตข้าวมอลต์นึ่งวิตามินบีสูงทางการค้า
มหาวิทยาลัยรังสิต
4 เมษายน 2553
ข้าวมอลต์นึ่งวิตามินบีสูง การผลิตข้าวมอลต์นึ่งวิตามินบีสูงทางการค้า การผลิตสารสกัดจากมอลต์ข้าวไทยและธัญพืชงอกระดับกึ่งอุตสาหกรรม แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม รูปพรรณข้าวขึ้นน้ำผลผลิตสูง การผลิตใบตองเพื่อการค้า ตำบลคลองกระจง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ผลของระยะปักดำต่อผลผลิตและการเป็นโรคจู๋ของข้าว การเปรียบเทียบเศรษฐกิจการใช้ปุ๋ยในการผลิตข้าว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก