สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาต้นตอของส้มโอ
กฤษณา กฤษณพุกต์ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การศึกษาต้นตอของส้มโอ
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Pomelo Rootstock
บทคัดย่อ: บทคัดย่อ การขยายพันธุ์ไม้ผลนิยมใช้ต้นตอเพราะได้ประโยชน์หลายด้าน จึงทดลองต่อกิ่งส้มโอบนพืชชนิดต่างๆ ในวงศ์ Rutaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับส้ม โดยพืชที่ใช้เป็นต้นตอได้แก่ มะขวิด มะกรูด ส้มเช้ง ส้มโอพันธุ์ทองดี และส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้งรวม 5 ชนิด ร่วมกับการศึกษาวิธีต่อกิ่งที่เหมาะสมในการต่อกิ่งส้มโอพันธุ์การค้าที่สำคัญสองพันธุ์คือ ทองดี และขาวน้ำผึ้ง โดยวิธีการต่อกิ่งที่ใช้คือ 1) การต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม 2) การต่อกิ่งแบบเสียบข้าง ทำการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของต้นตอแต่ละชนิดก่อนทำการต่อกิ่งได้แก่ จำนวนเมล็ดต่อผล เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ด และการเจริญเติบโตของต้นกล้าของต้นตอแต่ละชนิด หลังการต่อกิ่งทำการเก็บข้อมูล ได้แก่เปอร์เซ็นต์การต่อสำเร็จของส้มโอทั้งสองพันธุ์บนต้นตอแต่ละชนิด การเจริญเติบโตของส้มโอทั้งสองพันธุ์บนต้นตอแต่ละชนิดหลังทำการต่อกิ่ง 1 - 13 สัปดาห์ น้ำหนักแห้งและปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ได้อยู่ในรูปโครงสร้าง (total nonstructural carbohydrates ; TNC) ในส่วนต่าง ๆ พบว่า พืชที่ใช้เป็นต้นตอแต่ละชนิดมีจำนวนเมล็ดเฉลี่ยต่อผลแตกต่างกัน โดยมะขวิดมีจำนวนเมล็ดเฉลี่ยต่อผลสูงสุด คือ 643 เมล็ดต่อผล ในขณะที่ส้มเช้งมีจำนวนเมล็ดต่อผลต่ำสุดคือ 3.8 เมล็ดต่อผล ส่วนความงอกของเมล็ดต้นตอแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกัน โดยเมล็ดส้มโอพันธุ์ทองดีมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงสุด 91.4 % ส่วนเมล็ดมะกรูดมีความงอกต่ำสุดคือ 47.5% ต้นตอแต่ละชนิดใช้เวลาประมาณหนึ่งปีจึงสามารถทำการต่อกิ่งได้ หลังการต่อกิ่งส้มโอพันธุ์ทองดีบนต้นตอแต่ละชนิด ทั้งการต่อกิ่งแบบเสียบลิ่มและเสียบข้าง พบว่ามีเปอร์เซ็นต์การต่อติดแตกต่างกัน คือ ตั้งแต่ 30-100 % โดยส่วนใหญ่การต่อกิ่งแบบเสียบข้างจะให้ผลดีกว่า ส่วนการเจริญเติบโตของส้มโอหลังการต่อกิ่ง พบว่าส่วนใหญ่ต้นส้มโอที่ทำการต่อกิ่งแบบเสียบข้างจะมีการเจริญเติบโตที่ดีกว่าเล็กน้อย ส่วนน้ำหนักแห้งและปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ได้อยู่ในรูปโครงสร้างส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน บทคัดย่อ การขยายพันธุ์ไม้ผลนิยมใช้ต้นตอเพราะได้ประโยชน์หลายด้าน จึงทดลองต่อกิ่งส้มโอบนพืชชนิดต่างๆ ในวงศ์ Rutaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับส้ม โดยพืชที่ใช้เป็นต้นตอได้แก่ มะขวิด มะกรูด ส้มเช้ง ส้มโอพันธุ์ทองดี และส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้งรวม 5 ชนิด ร่วมกับการศึกษาวิธีต่อกิ่งที่เหมาะสมในการต่อกิ่งส้มโอพันธุ์การค้าที่สำคัญสองพันธุ์คือ ทองดี และขาวน้ำผึ้ง โดยวิธีการต่อกิ่งที่ใช้คือ 1) การต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม 2) การต่อกิ่งแบบเสียบข้าง ทำการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของต้นตอแต่ละชนิดก่อนทำการต่อกิ่งได้แก่ จำนวนเมล็ดต่อผล เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ด และการเจริญเติบโตของต้นกล้าของต้นตอแต่ละชนิด หลังการต่อกิ่งทำการเก็บข้อมูล ได้แก่เปอร์เซ็นต์การต่อสำเร็จของส้มโอทั้งสองพันธุ์บนต้นตอแต่ละชนิด การเจริญเติบโตของส้มโอทั้งสองพันธุ์บนต้นตอแต่ละชนิดหลังทำการต่อกิ่ง 1 - 13 สัปดาห์ น้ำหนักแห้งและปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ได้อยู่ในรูปโครงสร้าง (total nonstructural carbohydrates ; TNC) ในส่วนต่าง ๆ พบว่า พืชที่ใช้เป็นต้นตอแต่ละชนิดมีจำนวนเมล็ดเฉลี่ยต่อผลแตกต่างกัน โดยมะขวิดมีจำนวนเมล็ดเฉลี่ยต่อผลสูงสุด คือ 643 เมล็ดต่อผล ในขณะที่ส้มเช้งมีจำนวนเมล็ดต่อผลต่ำสุดคือ 3.8 เมล็ดต่อผล ส่วนความงอกของเมล็ดต้นตอแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกัน โดยเมล็ดส้มโอพันธุ์ทองดีมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงสุด 91.4 % ส่วนเมล็ดมะกรูดมีความงอกต่ำสุดคือ 47.5% ต้นตอแต่ละชนิดใช้เวลาประมาณหนึ่งปีจึงสามารถทำการต่อกิ่งได้ หลังการต่อกิ่งส้มโอพันธุ์ทองดีบนต้นตอแต่ละชนิด ทั้งการต่อกิ่งแบบเสียบลิ่มและเสียบข้าง พบว่ามีเปอร์เซ็นต์การต่อติดแตกต่างกัน คือ ตั้งแต่ 30-100 % โดยส่วนใหญ่การต่อกิ่งแบบเสียบข้างจะให้ผลดีกว่า ส่วนการเจริญเติบโตของส้มโอหลังการต่อกิ่ง พบว่าส่วนใหญ่ต้นส้มโอที่ทำการต่อกิ่งแบบเสียบข้างจะมีการเจริญเติบโตที่ดีกว่าเล็กน้อย ส่วนน้ำหนักแห้งและปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ได้อยู่ในรูปโครงสร้างส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน
บทคัดย่อ (EN): Using rootstock in fruit tree has many merits. Thus, this study tried to use different rootstocks in Family Rutaceae for pummelo. Seedling rootstocks used in this study were wood apple (Feronia limonia), Citrus hystrik, , Citrus maxima cv Thong Dee and Citrus maxima cv Khao Nam Phueng while scions are Citrus maxima cv Thong Dee and Citrus maxima cv Khao Nam Phueng. Before grafting, some traits of each rootstock i.e. number of seed per fruit, seed germination and growth of each rootstock were recorded. Grafting method were cleft and side veneer grafting. After grafted, success grafting, growth of new shoot, dried weight in each part of new grafted plants were measured. Total nonstructural carbohydrates (TNC) were also measured. The results showed that number of seed per fruit were different in each rootstock. Wood apple had highest seed per fruit (643 seeds) while the lowest one was Citrus sinensis (3.8 seeds). All kinds of rootstock took about one year to reach the appropriate size for grafting. Grafting success were ranged from 30 to 100 % and side veneer grafting showed better result than cleft grafting. Growth of new plant from side veneer grafting was also slightly faster than plant grafted by cleft grafting. Dry weight and TNC in each part of grafted plants were not different in all treatments.Using rootstock in fruit tree has many merits. Thus, this study tried to use different rootstocks in Family Rutaceae for pummelo. Seedling rootstocks used in this study were wood apple (Feronia limonia), Citrus hystrik, , Citrus maxima cv Thong Dee and Citrus maxima cv Khao Nam Phueng while scions are Citrus maxima cv Thong Dee and Citrus maxima cv Khao Nam Phueng. Before grafting, some traits of each rootstock i.e. number of seed per fruit, seed germination and growth of each rootstock were recorded. Grafting method were cleft and side veneer grafting. After grafted, success grafting, growth of new shoot, dried weight in each part of new grafted plants were measured. Total nonstructural carbohydrates (TNC) were also measured. The results showed that number of seed per fruit were different in each rootstock. Wood apple had highest seed per fruit (643 seeds) while the lowest one was Citrus sinensis (3.8 seeds). All kinds of rootstock took about one year to reach the appropriate size for grafting. Grafting success were ranged from 30 to 100 % and side veneer grafting showed better result than cleft grafting. Growth of new plant from side veneer grafting was also slightly faster than plant grafted by cleft grafting. Dry weight and TNC in each part of grafted plants were not different in all treatments.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาต้นตอของส้มโอ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2554
การศึกษาไวรอยด์ในส้มโอเพื่อการส่งออกส้มโอ ความต้องการเทคโนโลยีการผลิตส้มโอเพื่อการส่งออกของสมาชิกชมรมผู้พัฒนาคุณภาพส้มโอในจังหวัดนครปฐม เปรียบเทียบเกษตรดีที่เหมาะสม(ส้มโอ)กับการผลิตส้มโอของเกษตรกรในภาคตะวันตก การจัดการสวนส้มโอเพื่อผลิตส้มโอคุณภาพสำหรับส่งออก การจัดการสวนส้มโอเพื่อผลิตส้มโอคุณภาพสำหรับส่งออก การคัดเลือกต้นตอยางพาราที่มีความทนทานต่อโรครากขาว และความสามารถในการเข้ากันได้กับกิ่งพันธุ์ RRIM600 และ RRIT251 การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาผลผลิตส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามให้มีคุณภาพของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอในเขตลุ่มน้ำปากพนัง โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ส้มโอ โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ส้มโอ สถานการณ์การผลิตส้มโอเพื่อการส่งออกของเกษตรกรจังหวัดนครปฐม
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก