สืบค้นงานวิจัย
พืชอ้างอิงสำหรับประเมินการตรึงไนโตรเจนโดย N Isotope Dilution Technique
วิทยา มะเสนา - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: พืชอ้างอิงสำหรับประเมินการตรึงไนโตรเจนโดย N Isotope Dilution Technique
ชื่อเรื่อง (EN): Reference Plant for the Assessment of fixation by N Isotope Dilution Technique
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิทยา มะเสนา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Wittaya Masayna
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: พืชอ้างอิงหรือพืชมาตรฐาน (Reference plant หรือ standard plant) มีความสำคัญอย่างยิ่งในการประเมินการตรึงไนโตรเจน 15N Isotope Dilution Technique ซึ่งอาศัยหลักการความแตกต่างของการเจือจางไอโซโทป 15N ในพืชอ้างอิงกับพืชที่ตรีงไนโตรเจน ในทางปฏิบัติจะใส่ปุ๋ยไอโซโทป 15N ให้แก่พืชทั้งสองชนิดซึ่งปลูก ในดินและสภาพแวดล้อมเดียวกัน เมื่อสิ้นสุดการทดลองก็พิจารณาว่าพืชอ้างอิงจะได้รับไนโตรเจนจากดิน (14N) และจากปุ๋ย (15N) ส่วนพืชที่ตรึงไนโตรเจนจะได้รับไนโตรเจนจากดิน (14N) ปุ๋ย (15N) และจากบรรยากาศ (14N) ดังนั้น จะมีการเจือจางไอโซโทป 15N ในพืชทั้งสองชนิด โดยระดับการเจือจาง 15N จะมีมากในพืชที่ตรึงไนโตรเจน เพราะได้รับ 14N จากบรรยากาศอีกทางหนึ่งนอกเหนือจากที่ได้รับจากดิน เมื่อเราทราบ % 15N atomexcess ของพืชทั้งสองชนิดและทราบน้ำหนักแห้งกับปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดของพืชที่ตรึงไนโตรเจน เราก็สามารถคำนวณปริมาณไนโตรเจนที่พืชตรึงได้โดยไม่ยาก แต่ความแม่นยำของวิธีการนี้จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของพืชอ้างอิง ดังนั้น การคัดเลือกและศึกษาพืชอ้างอิงที่เหมาะสมกับพืชที่ตรึงไนโตรเจนชนิดใดที่จะปลูกภายใต้สภาพดินและสภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก
บทคัดย่อ (EN): Reference plants or ‘standard’ plants play an important role in the assessment of nitrogen fixation by the 15N isotope dilution technique, in both legumes and non-legume nitrogen fixing plants. The principle of this technique is based on differences in dilution of 15N isotope between the N2 fixing plant and the reference plant. In practice both plants receive the same15-N-labelled fertilizer under the same growing conditions. Throughout growth the reference plant obtains nitrogen from the soil (14N) and labeled fertilizer (15N), while the N2 fixing plant obtains nitrogen from the soil (14N), labeled fertilizer (15N) and atmosphere (14N) throng fixation. There will be dilution of 15N isotope will be observed in the N2 fixing plant. From the higher percentage of 15N in the reference plant relative to the N2 fixing plant, and the total dry matter and total N content of the N2 fixing plant, the amounts of N2 fixed can be calculated. However, the precision of this technique depends to a great extent on the reference plant selected. The evaluation of potential reference plants for particular soil climatic conditions is important for the value and accuracy of the technique.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2530
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2530
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
พืชอ้างอิงสำหรับประเมินการตรึงไนโตรเจนโดย N Isotope Dilution Technique
กรมวิชาการเกษตร
2530
เอกสารแนบ 1
การคัดเลือกพืชบางชนิดที่ไม่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศเพื่อใช้เป็นพืชมาตรฐานในการศึกษาปริมาณการตรึงไนโตรเจนของถั่วเหลืองโดย 15 N Dilution Method การใช้ประโยชน์จากการตรึงไนโตรเจนในการผลิตพืชเศรษฐกิจบางชนิดในภาคเหนือ การใช้เทคนิคทางไอโซโทป 15 N เพื่อประเมินการตรึงไนโตรเจนในพืชตระกูลถั่ว อิทธิพลของธาตุอาหารพืชไนโตรเจนที่ตรึงในดินต่อผลผลิตข้าว โครงการวิจัยการศึกษา สำรวจ และประเมินเชื้อพันธุกรรมพืช (พืชพื้นเมือง/พืชท้องถิ่น) ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช โครงการวิจัยการศึกษาศักยภาพการรับไนโตรเจนทางชีวภาพ กลุ่มแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนที่สำคัญและปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนกับอ้อยในอ้อยสายพันธุ์ไทย การประเมินสถานะธาตุอาหารพืชสำหรับพืชอาหารสัตว์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ2.สถานะธาตุอาหารพืชสำหรับหญ้ากินนีสีม่วงในชุดดินยโสธร โคราช น้ำพองและชุดดินวาริน การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจนในสภาพที่มีไนโตรเจนสูง Bio Stabilizer สำหรับเครื่องดื่มจากพืช การพัฒนาศักยภาพดอกชมจันทร์สำหรับผลิตพืชอาหารเพื่อสุขภาพ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก