สืบค้นงานวิจัย
การศึกษา Subtype ของเชื้อไวรัส Avian Influenza จากสัตว์ปีกในประเทศไทย
รื่นฤดี บุณยะโหตระ - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การศึกษา Subtype ของเชื้อไวรัส Avian Influenza จากสัตว์ปีกในประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): ----
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รื่นฤดี บุณยะโหตระ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ในปี 2007 ทำการเก็บตัวอย่าง cloacal swab จำนวน 6,283 ตัวอย่าง จากไก่และเป็ดที่มีสุขภาพทั่วไปปกติในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก ผลการแยกเชื้อโดยใช้ไข่ไก่ฟัก ตรวจหาและพิสูจน์เชื้อไวรัสโดยวิธี HA-HI และ NA-NI พบเชื้อไวรัส subtype H7N3จาก cloacal swab เป็ด จำนวน 1 ตัวอย่าง จากการศึกษาลำดับเบสและวิเคราะห์ส่วน cleavage site ของ HA gene พบว่าเชื้อไวรัสที่แยกได้อยู่ในกลุ่มความรุนแรงต่ำ (low pathogenic avian influenza, LPAI) ผลจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ (phylogenetic analysis) ของ viral gene segment ทั้ง 8 gene พบว่าอยู่ใน Eurasia group โดยส่วน HA gene มี maximum nucleotide และ amino acid similarities กับ A/duck/Jiangxi/1786/03(H7N7) และ A/duck/Nanchang/1904/1992 (H7N1) ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าทั้ง HA และ NA gene ของเชื้อ H7N3 ที่แยกได้ไม่มี phylogenetic relationship กับ H5N1 ที่พบในประเทศไทย ผลจากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการตรวจติดตามการปรับเปลี่ยนของเชื้อไวรัสในพื้นที่ต่อไป
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
เอกสารแนบ: http://www.tnrr.in.th/?page=result_search&record_id=10465509
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมปศุสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษา Subtype ของเชื้อไวรัส Avian Influenza จากสัตว์ปีกในประเทศไทย
กรมปศุสัตว์
2550
เอกสารแนบ 1
กรมปศุสัตว์
การศึกษา Subtype ของเชื้อไวรัสAvian Influenza A จากสัตว์ปีกในประเทศไทย การศึกษาคุณสมบัติของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A จากสัตว์ปีกในประเทศไทย การพัฒนาแอนติเจนและแอนติซีรั่มเพื่อใช้ในการตรวจการติดเชื้อไวรัสในสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีก การเฝ้าระวังทางซีรัมวิทยาของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในภาคกลางของประเทศไทย การศึกษาเชื้อไวรัสอาร์เอสที่ระบาดในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2561 Study of RSV in Thailand during 2017 - 2018 แอนติบอดีชนิด IgM และ IgG ต่อเชื้อไวรัสซิกาในประเทศไทย และการเกิดปฏิกิริยาข้ามกับไวรัสเดงกี และไวรัสเจอี พ.ศ. 2559 Detection of Anti-Zika IgM and IgG in Thailand and cross-reaction against dengue and ชีววิทยาของยุงพาหะโรคไข้เลือดออกและซีโรทัยป์ ของเชื้อไวรัสเดงกีในวงจรการเกิดโรคในประเทศไทย แนวทางการใช้สมุนไพรในปศุสัตว์ประเทศไทย การยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสในกุ้งที่ติดเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว (WSSV) ด้วยเทคนิค RNA Interference (ระยะที่ 2) ผลกระทบของการท่องเที่ยวเดินป่าต่อการพัฒนาชุมชนชาวไทยภูเขา และปัญหาสุขภาพอนามัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเอดส์ : รายงานการวิจัย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก