สืบค้นงานวิจัย
ศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานยางพาราในจังหวัดเชียงรายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ส่งออกไปยังจีนตอนใต้
ณภัทร ทิพย์ศรี, ณภัทร ทิพย์ศรี - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานยางพาราในจังหวัดเชียงรายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ส่งออกไปยังจีนตอนใต้
ชื่อเรื่อง (EN): Potential of Logistics and Supply Chain Managementof the Rubber in Chiang Rai Province for Enhance Competitiveness of Exporter toSouth of China
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานยางพารา ปัญหาและอุปสรรค รวมถึงแนวทางการพัฒนาศักยภาพการพัฒนาศักยภาพการจัดการ โลจิสติกส์และโซ่อุปทานยางพาราในจังหวัดเชียงราย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของ ผู้ส่งออกไปยังจีนตอนใต้ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพคือ สัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกรผู้ผลิตยางพารา ผู้ประกอบการส่งออก และหน่วยงานภาครัฐ เช่น ด่านศุลกากรเชียงของ และเชียงแสน จังหวัดเชียงราย รวมถึง สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จังหวัดเชียงราย และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงตัวเลขด้านเวลา และระยะทางในการขนส่งยางพารา จากจังหวัดเชียงรายไปยังจีนตอนใต้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ (Indepth Interview) และ การจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ทั้งนี้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวเลข ได้แก่ การคำนวณเวลาและระยะทางการขนส่งยางพาราจากจังหวัดเชียงรายไปยังจีนตอนใต้ ผลการศึกษา พบว่า การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานยางพาราในจังหวัดเชียงรายเพื่อการส่งออกไปยังจีนตอนใต้ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) เส้นทางการส่งออกทางถนน ผ่านเส้นทาง R3A เริ่มตั้งแต่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ผ่านด่านบ่อแก้ว สปป.ลาว ด่านบ่อเต็น สปป.ลาว ด่านบ่อหารประเทศจีน เข้าสู่ตลาดยางพาราในประเทศจีนตอนใต้ ระยะทาง 991 กิโลเมตร และใช้เวลา 15.40 ชั่วโมง และ 2) เส้นทางน้ำ ผ่านแม่น้ำโขง เริ่มตั้งแต่แม่น้ำโขง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เข้าสู่ประเทศจีนที่ท่าเรือกวนเหล่ย หลังจากนั้นสินค้าจะถูกขนถ่ายจากเรือไปยังรถบรรทุกเพื่อลำเลียงสินค้าใช้เส้นทางหลวงหลักระหว่างเมืองเข้าสู่ตลาดยางพาราในจีนตอนใต้ ระยะทาง 882 กิโลเมตร และใช้เวลา 33 ชั่วโมง V สำหรับปัญหาและอุปสรรคการส่งออกยางพาราไปยังจีนตอนใต้มีปัญหาหลายประการ ได้แก่ การส่งออกสินค้าจากไทยไปยังจีนตอนใต้ผ่านถนน เส้นทาง R3A ต้องผ่าน สปป.ลาวที่ด่านห้วยทราย ต้องเผชิญการหยุดพักกลางวันของเจ้าหน้าที่เนื่องจากการหยุดพักกลางวันอยู่ในช่วงเวลา 12.00-14.00 น. และมีการหยุดงานในวันอาทิตย์ เช่นกัน ทำให้เสียเวลาในการรอคอย การขนส่งยางพาราโดยผ่านแม่น้ำโขงท่าเรือเชียงแสนมักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับระดับน้ำขึ้น-ลงเป็นประจำ ทำให้เกิดปัญหาระยะเวลาการขนส่งไม่แน่นอนตลาดยางพาราในประเทศจีนมีการกระจายตัวตามมณฑลต่าง ๆ ซึ่งอยู่ห่างไกลกันทำให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งและการกระจายสินค้าสูง การส่งออกยางพาราของไทยส่วนใหญ่เป็นยางก้อนถ้วยซึ่งเป็นน้ำยางธรรมชาติ อาจทำให้น้ำหนักงานพาราสูญหายระหว่างการขนส่ง ขณะเดียวกันยังประสบปัญหากับการเสียเวลาในการเปลี่ยนถ่ายสินค้าที่ด่านบ่อเต็นใน สปป.ลาว ประมาณ 4-5 ชั่วโมงต่อครั้ง เนื่องจากรถบรรทุกไทยยังไม่สามารถวิ่งขนส่งสินค้าภายในประเทศจีน กฎระเบียบขั้นตอนการนำเข้าที่นำเข้าจีนมีความล่าช้าและยุ่งยาก มีการเก็บภาษีภายในประเทศและภาษีท้องถิ่น รวมถึงข้อกำหนดผลิตภัณฑ์และการตรวจสอบรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่จะต้องเป็นไปตามกฎระเบียบของจีนทั้งการรับรองคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานและได้รับเครื่องหมาย CCC (China Compulsory Certification: CCC) ขณะเดียวกัน ยังพบว่า จีนมีการขยายการลงทุนในการปลูกยางพาราทั้งในประเทศและประเทศใกล้เคียง เช่น ลาว เวียดนาม เป็นต้น นอกจากนั้น ยังพบว่าคุณภาพของยางพาราในจังหวัดเชียงรายค่อนข้างด้อยกว่าคุณภาพยางพาราในภาคใต้ ในส่วนของแนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานยางพาราในจังหวัดเชียงราย พบว่า ภาครัฐควรส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราสำหรับการส่งออกให้มีคุณภาพ มีการรวมกลุ่ม สร้างเครือข่ายยางพารา ขณะเดียวกันภาครัฐควรมีการเจรจาระหว่างภาครัฐในระดับประเทศทั้ง 3 ประเทศ คือ ไทย จีน และลาว เพื่อวางแผนความร่วมมือเป็นเขตการคาเสรีระหว่างจีนกับอาเซียน รวมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนควรทำการวิจัยพันธุ์ยางพาราที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ มีการสนับสนุนแปรรูปยางพาราให้เกิดความหลากหลาย ยกระดับมาตรฐานสินค้าแปรรูปสู่สากล และมีฐานข้อมูลทางการค้าการตลาดภายในและประเทศคู่ค้าให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
บทคัดย่อ (EN): The objective of this research was to study potential of logistics and supply chain of rubber, problem, and logistics management and supply chain potential developing of the rubber in Chiang Rai for enhance competitiveness of exporter to South of China. The research was both qualitative and quantitative methods. Qualitative research such as in-depth interview for rubber farmer, exporter, and governmental organizations, for examples, the Customs in Chiang khong and Chiang Saen, Chiang Rai Province, and rubber fund, Chiang Rai Province. Quantitative research was time duration and distance for rubber transportation from Chiang Rai to South of China. Research tools for data collecting were in-depth interview, focus group, content analysis, and number analysis for time duration and distance for rubber transportation from Chiang Rai to South of China. Research results for logistics and supply chain of rubber exported from Chiang Rai to South of China consists of two forms; (1). Route export via R3A route which started from Chiang Khong District, Chiang Rai Province passed Bo Kaew Customs, Lao, passed Bo Ten Customs, Lao to the rubber market Bo han, China with the distance of 991 kilometers and 15.40 hours. (2). River export which started from Mae Khong, Chiang Saen District, Chiang Rai Province to Kuan Lei port, China. After that VII rubbers were transported by truck to rubber market in South of China with the distance of 882 kilometers and 33 hours. Problems for exporting rubber to South of China were lunch break for staff at Huay Sai Customs of R3A route between 12 and 2 pm. as well as their day off on Sunday which caused waiting and waste of time. Rising water or dropping water was also caused problem for rubber transportation. The other problems were each rubber market in China was far from each other that caused high expense for transportation. Thai rubber was natural made that might lost weight during transportation. Some Customs took time for processing such as Bo Fen, Lao which took 4-5 hours because of the product transportation regulation in China was complicate and took time as well as tax collecting, standard quality product according to China Compulsory Certification. Inferior quality of the rubber in Chiang Rai to Lao and Vietnam. Logistics and supply chain management potential developing of rubber in Chiang Rai was governmental sector should promote rubber farmer for quality rubber export and the representatives from Thailand, China, and Lao should discuss and plan for free trade among ASEAN member countries. Government and private sectors should conduct research of quality rubber for appropriate land condition and promote rubber transformation for international standard quality product and updated data base for local and international market.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานยางพาราในจังหวัดเชียงรายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ส่งออกไปยังจีนตอนใต้
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
30 กันยายน 2558
การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มวิจัยยางพารา การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การเก็บรักษาคัพภะยางพาราในสภาพอุณหภูมิต่ำในหลอดทดลอง การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน โครงการพัฒนาศักยภาพโลจิสติกส์ไหมไทยและปฏิบัติการประยุกต์ใช้ตัวแบบโลจิสติกส์ในกลุ่มโซ่อุปทานเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การจัดการโซ่อุปทานกุ้งขาวแวนาไมในจังหวัดนครศรีธรรมราช การศึกษาแนวทางการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้สัก ศึกษาการจัดการธาตุอาหารของยางพารา การศึกษาศักยภาพและข้อจำกัดโรงงานแปรรูปยางและผู้ส่งออก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก