สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัดจากดอกอัญชันสำหรับการย้อมสีถุงหุ้มเลนส์ตาส่วนหน้าในการผ่าตัดต้อกระจก
รสสุคนธ์ คชรัตน์ - มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัดจากดอกอัญชันสำหรับการย้อมสีถุงหุ้มเลนส์ตาส่วนหน้าในการผ่าตัดต้อกระจก
ชื่อเรื่อง (EN): Efficacy and safety of butterfly pea flower extract for staining anterior capsule in cataract surgery
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รสสุคนธ์ คชรัตน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัดจากดอกอัญชันสำหรับการย้อมสีถุงหุ้มเลนส์ตาส่วนหน้าในการผ่าตัดต้อกระจก” แก่มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมี รศ.ดร.รสสุคนธ์ คชรัตน์ เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาสารย้อมสีถุงหุ้มเลนส์ตาเพื่อใช้ในการผ่าตัดต้อกระจก โดยใช้สารธรรมชาติซึ่งจะปลอดภัยกว่าสารเคมี โดยมีการทดสอบดังนี้ 1) ทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดอัญชันมาใช้ในการย้อมสีถุงหุ้มเลนส์ตา 2) ทดสอบความปลอดภัยต่อ endothelium ของเซลล์กระจกตามนุษย์ของสารสกัดอัญชัน จากการศึกษาวิจัย พบว่าสารสีจากกลีบดอกอัญชันสามารถสกัดได้โดยง่ายด้วยการต้มอย่างรวดเร็วในน้ำที่ไม่มีประจุ จากนั้นทำให้ปลอดเชื้อโดยวิธีการกรองผ่านแผ่นกรองปลอดเชื้อขนาดรูพรุน 0.22 ไมโครเมตร จากนั้นทำการศึกษาความคงตัวเมื่อทำการเก็บในอุณหภูมิต่างๆ เป็นเวลา 12 เดือน นอกจากนี้ยังได้ทดสอบถึงความเป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุชั้นในของกระจกตาในสภาวะหลอดทดลองด้วยวิธีรีซานูลิน และทดสอบภายนอกร่างกายด้วยการดูลักษณะทางจุลกายวิภาค โดยใช้ต้อกระจกตาหมูเป็นต้นแบบหลังจากฉีดสารสีดอกอัญชันเข้าไปสัมผัสที่เยื่อบุชั้นในของกระจกตาเป็นเวลานาน 5 นาที จากนั้นทดสอบการย้อมติดของสารสกัดสีดอกอัญชันที่ความเข้มข้นต่าง ในสภาวะภาพนอกร่างกาย โดยใช้ส่วนถุงหุ้มเลนส์ด้านหน้าที่ถูกตัดออกหลังจากการผ่าตัดต้อกระจกจากคนไข้ และทดสอบย้อมในต้อกระจกตาหมู โดยผลการทดลองพบว่า สารสกัดน้ำสีดอกอัญชันเป็นสีน้ำเงินเข้ม ซึ่งมีระดับความเข้มของสีที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นของสารสกัดจากดอกอัญชัน และมีค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 7 ปริมาณสีของสารสกัดมีความคงตัวที่ดีเมื่อเก็บไว้ในที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเก็บในสภาวะที่อุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังไม่พบความแตกต่างของสีหรือการเปลี่ยนแปลงของสีเมื่อสังเกตด้วยสายตา นอกจากนี้ ยังไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุชั้นในของกระจกตาในสภาวะหลอดทดลอง และภายนอกร่างกายด้วยการดูลักษณะทางจุลกายวิภาคของต้อกระจกตาหมู โดยความเข้มข้นที่เหมาะสมในการย้อมถุงหุ้มเลนส์ส่วนหน้าคือที่ความเข้มข้น 500 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งย้อมติดเป็นสีน้ำเงิน ดังนั้น ในการศึกษาครั้งนี้จึงสามารถพัฒนาสารสกัดสีดอกอัญชันได้สำเร็จ และมีประสิทธิภาพสูงสำหรับใช้ย้อมถุงหุ้มเลนส์ส่วนหน้าในการผ่าตัดต้อกระจก โดยไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุชั้นในของกระจกตา ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้คือ ได้สารสกัดจากสีดอกอัญชันที่มีความเข้มเหมาะสม ที่สามารถย้อมติดถุงหุ้มเลนส์ตาและมีความปลอดภัยต่อเซลล์เยื่อบุชั้นในของกระจกตาในสภาวะหลอดทดลอง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561-03-15
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562-03-14
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2561
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP อนุสิทธิบัตร
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ กรรมวิธีการสกัดสารจากดอกอัญชัน เพื่อใช้สำหรับการย้อมสีถุงหุ้มเลนส์ตาส่วนหน้าในการผ่าตัดต้อกระจก
เลขที่คำขอ 2003001549
วันที่ยื่นคำขอ 2020-07-08 12:00:00
เลขที่ประกาศ
วันที่จดทะเบียน
เลขที่จดทะเบียน
วันที่ประกาศ
สถานะปัจจุบัน เชิงพาณิชย์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัดจากดอกอัญชันสำหรับการย้อมสีถุงหุ้มเลนส์ตาส่วนหน้าในการผ่าตัดต้อกระจก
มหาวิทยาลัยนเรศวร
14 มีนาคม 2562
การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัดจากดอกอัญชันสำหรับการย้อมสีถุงหุ้มเลนส์ตาส่วนหน้าในการผ่าตัดต้อกระจก การสร้างมูลค่าเพิ่มจากดอกอัญชัน โครงการนาโนคลัสเตอร์แม่เหล็กที่เคลือบด้วยพอลิเมอร์และตรึงด้วยแอปตาเมอร์เพื่อการประยุกต์ใช้เพื่อความปลอดภัยทางด้านน้ำและอาหาร ศึกษาการสะสมธาตุไนโตรเจนและแอนโทไซยานินในอัญชัน 8 สายพันธุ์ การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการทางเคมีวิเคราะห์ รูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาการเปลี่ยนเพศกบนาเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตอาหารปลอดภัย การศึกษาประสิทธิภาพและออกแบบระบบบำบัดแหล่งกำเนิดการปนเปื้อนด้วย Chemical Oxidation, Chemical Reduction, และ Air Sparging ผลของสารสกัดจากรากกระพังโหมต่อการเกิดเจลซูริมิจากปลาชะโด ฤทธิ์ของสารสกัดจากสาหร่ายทะเลบางชนิดในการยับยั้งเชื้อโนดะไวรัสที่ก่อโรคในปลากะรังดอกแดง ประสิทธิภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก