สืบค้นงานวิจัย
ผลของการใช้เศษเหลือจากกระบวนการหมักมันสกุล Dioscorea sp. ด้วยยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ต่อการเจริญเติบโต และการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันของปลาหมอ
ปิยพงศ์ บางใบ, นุชจรี ทัดเศษ, ณัฐรินทร์ ศิริรัตนนันท์, ธนภัทร วรปัสสุ, พรทิศา ทองสนิทกาญจน์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้เศษเหลือจากกระบวนการหมักมันสกุล Dioscorea sp. ด้วยยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ต่อการเจริญเติบโต และการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันของปลาหมอ
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of fermentation process residue of Dioscorea sp. by Saccharomyces cerevisiae on Growth and Immune responses of Anabas testudineus
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดลองการใช้เศษเหลือจากกระบวนการหมักมันสกุล Dioscorea sp. ด้วยยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ต่อการเจริญเติบโต และการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันของปลาหมอ แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design : CRD) จ านวน 3 ซ ้า ดังนี้ การทดลองที่ 1 ประกอบไปด้วย ชุดการทดลองที่ 1 อาหารผงไม่ผสมเศษเหลือจากกระบวนการหมัก (CT) ชุดการทดลองที่ 2 อาหารผงผสมเศษเหลือจากกระบวนการหมักมันจาวพร้าว (DA) ชุดการทดลองที่ 3 อาหารผงผสมเศษเหลือจากกระบวนการหมักมันมือเสือ (DE) และชุดการทดลองที่ 4 อาหารผงผสมเศษเหลือจากกระบวนการหมักกลอย (DH) เลี้ยงในถังไฟเบอร์กลาส เป็นระยะเวลา 60 วัน การทดลองที่ 2 ศึกษาระดับของเศษเหลือจากกระบวนการหมักมันสกุล Dioscorea sp. ด้วยยีสต์ Saccharomyces cerevisiae โดยใช้ผลที่ได้จากการทดลองที่ 1 โดยแบ่งระดับของเศษเหลือออกเป็น 4 ระดับ คือ 0, 5, 10 และ 15 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ เลี้ยงในถังไฟเบอร์กลาส เป็นระยะเวลา 120 วัน ความหนาแน่นปลาที่ใช้ในการทดลองนี้ เท่ากับ 30 ตัวต่อตารางเมตร จากผลการทดลองที่ 1 พบว่า การอนุบาลลูกปลาหมอด้วยอาหารผงผสมเศษเหลือจากกระบวนการหมักกลอย (DH) มีอัตราการเจริญเติบโตดีที่สุด (P<0.05) เมื่อสิ้นสุดการทดลองที่ 2 พบว่าปลาหมอที่ได้รับอาหารผสมเศษเหลือจากกระบวนการหมักกลอยที่ระดับ 5 และ 10 เปอร์เซ็นต์ มีประสิทธิภาพการเจริญเติบโต ดีกว่าปลาหมอที่ไม่ได้รับอาหารผสมเศษเหลือจากกระบวนการหมักกลอย ในขณะที่ปลาหมอที่ได้รับอาหารผสมเศษเหลือจากกระบวนการหมักกลอยในทุกระดับ มีระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จ าเพาะดีกว่าปลาที่ไม่ได้รับอาหารผสมเศษเหลือจากกระบวนการหมักกลอย
บทคัดย่อ (EN): The effect of fermentation process residue of Dioscorea sp. by Saccharomyces cerevisiae on growth and nonspecific immune responses of Anabas testudineus was tested in this experiment. Two experiments were tested. The experimental design was Completely Randomized Design (CRD) in 3 replications. In the first experiment as 1) food powder without mixed fermented process residue of Dioscorea sp. (control-CT), 2) food powder mixed with fermented process residue of D. alata L. (DA), 3) food powder mixed with fermented process residue of D. esculenta (DE), and 4) food powder mixed with fermented process residue of D. hispida (DH) was fed in fiber grass pond 500 liters for 60 days. The second experiment as 4 different concentrations composed of 0, 5, 10 and 15% of fermented process residue of Dioscorea sp. was studied in fiber grass pond 500 liters for 120 days. A density of fish was 30 fish per m3. The result showed that in the first experiment, the fish that fed diet supplemented with D. hispida (DH) were enhanced growth greater than other groups (P<0.05). In the second experiment, the fish that fed with diet supplemented with a D. hispida at 5 and 10% was enhanced growth greater than those fed when compared with the control diet (P<0.05). While, the fish that fed with diets supplemented with a D. hispida at 5, 10 and 15% were enhanced immune responses than those fed with control diet (P<0.05).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการใช้เศษเหลือจากกระบวนการหมักมันสกุล Dioscorea sp. ด้วยยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ต่อการเจริญเติบโต และการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันของปลาหมอ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
30 กันยายน 2560
ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ การประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะการเจริญเติบโตในปลาหมอ ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของการเลี้ยงปลาหมอไทยในกระชังในที่ดินพรุ จังหวัดนราธิวาส การเสริมกากมะพร้าวสกัดน้ำมันในสูตรอาหารต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของปลาหมอ การเสริมโปรไบโอติกและอีเอ็มในอาหารต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของปลาหมอไทยที่เลี้ยงในกระชัง ผลของความเค็มต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของปลาหมอ "ชุมพร 1" ชนิดและระดับคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ การศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของปลาเสือตอที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีชีวิต คุณสมบัติทางเคมีและกระบวนการหมักเอทานอลจากมันพื้นเมืองสกุล Dioscorea sp. การตอบสนองในด้านการเจริญเติบโตและการรอดตายของปลากดแก้วที่ผ่านการคัดเลือก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก