สืบค้นงานวิจัย
สภาพการปลูกและต้นทุนในการผลิตพริกไทยของเกษตรกรใน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
สมคิด บุญรอด - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการปลูกและต้นทุนในการผลิตพริกไทยของเกษตรกรใน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมคิด บุญรอด
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ -ศึกษาสภาพการทำสวนพริกไทยของเกษตรกร -ศึกษาต้นทุนการผลิตในการทำสวนพริกไทย -ศึกษาสภาวะการตลาด การจำหน่ายผลผลิตพริกไทยของเกษตรกร วิธีการวิจัย -ใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์รายบุคคล pre-test เกษตรกรตัวอย่าง 16 ราย แล้วปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถาม -คัดเลือกตัวอย่างเกษตรกรเป้าหมาย ระดับตำบล โดยวิธี purposive sampling 3 ตำบลใน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ระดับหมู่บ้านใช้วิธี Simple random sampling 18 หมู่บ้าน -ระดับตัวอย่างใช้วิธี accidental sampling จำนวน 113 ราย -วิเคราะห์ข้อมูล แปลความจากตารางโดยประมวลผลเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย และความถี่ข้อมูล ผลสรุปและข้อเสนอแนะ 1.จากการวิจัยพบว่า เกษตรกรนิยมปลูกพริกไทยพันธุ์มาเลเซีย ส่วนพันธุ์พื้นเมืองมักเป็นสวนเก่ามีอายุมาก และขนาดของสวนส่วนมากเป็นสวนขนาดเล็ก 3-4 ไร่ ทั้งนี้เพราะมีข้อจำกัดในการดูแลรักษาต้องใช้แรงงานมาก สภาพการทำสวนพริกไทยมักทำควบคู่กับไม้ผลอื่นๆ โดยเริ่มปลูกช่วงปลายฤดูฝนและต้นฤดูหนาวเพื่อเลี่ยงการเน่าของยอดพันธุ์ การใช้ค้างนิยมใช้ไม้เนื้อแข็งและไม้เบญจพรรณเนื้อแข็ง ส่วนค้างซีเมนต์ยังไม่นิยมมากนัก พบว่าการปลูกโดยไม่ใช้ค้างนั้นเกษตรกรให้ความสนใจน้อยมาก -การใช้ปุ๋ยมีทั้งปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งชาวสวนส่วนใหญ่จะเน้นปุ๋ยเคมีทางใบมากและมีอัตราการใช้เกินความจำเป็นทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ส่วนอัตรา ช่วงเวลา สูตรปุ๋ย และวิธีการใส่ปุ๋ยนั้นเกษตรกรปฏิบัติถูกต้องเป็นส่วนน้อย - การให้น้ำส่วนใหญ่จะใช้วิธีสูบจากบ่อที่ขุดเอง แล้วปล่อยน้ำไปตามร่องแถวพริกไทยสัปดาห์ละครั้ง ส่วนน้อยให้น้ำแบบดัน ซึ่งจะประหยัดน้ำกว่า เพราะมีเกษตรกรจำนวนหนึ่งประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอยู่บ้านในฤดูแล้ง -การป้องกันกำจัดศัตรูพบว่าเกษตรกรส่วนใหญไม่มีความรู้ในการจำแนกชนิดของแมลงโรค ทำให้ไม่สามารถซื้อสารเคมีมากำจัดได้ถูกต้อง ข้อเสนอแนวทางในการส่งเสริมการเกษตร -เกษตรกรควรพิจารณาแรงงาน ทุนในการทำสวนพริกไทย เพื่อกำหนดขนาดของสวนให้เหมาะสมในการบำรุงรักษาอย่างทั่วถึง จะทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นได้ -ในการใช้ปุ๋ยเคมีนั้นเกษตรกรควร6บ่งช่วงการเจริญเติบโตของพริกไทยเป็นหลักในการใส่ปุ๋ย คือ ช่วงเก็บเกี่ยวเสร็จ ช่วงออกดอก แ6ะช่วงติดผล ลดปริมาณการให้ปุ๋ยเคมีทางใบน้อยลง - ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เจ้าหน้าที่ส่งเสริมควรเน้นการแนะนำให้เกษตรกรรู้จักศัตรูที่สำคัญๆ แลการป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี จะสามารถเพิ่มผลผลิตได้ 2.ต้นทุนในการผลิตพริกไทย โดยเฉพาะปีแรกสูงมาก (80,200 บาท/ไร่/ปี)ซึ่งจ่ายเป็นค่าค้าไม้เนื้อแข็งซึ่งมีราคาแพงและหายาก ในการส่งเสริมควรเน้นให้เกษตรกรหันมาใช้ค้างซีเมนต์ซึ่งมีราคาต่ำกว่า ตลอดจนสามารถขยายระยะปลูกให้ห่างขึ้นเป็นการประหยัดค่าไม้ค้าง ค่าแรงงานในการดูแลรักษา ง่ายต่อการตรวจสอบโรคแมลง การกำจัดวัชพืช ฯลฯ 3.สภาวะการตลาด และการจำหน่ายพริกไทยของเกาตรกร พบว่า มีการจำหน่ายผลผลิตพริกไทย 3 ชนิด คือ พริกไทยอ่อน พริกไทยดำ และพริกไทยขาว ผลผลิตเฉลี่ยส่วนใหญ่ยังต่ำ คือ 3,000 กก./ไร่ (น้ำหนักสด) ซึ่งเกษตรกรจะจำหน่ายให้พ่อค้าในหมู่บ้านในหมู่บ้านเป็นส่วนใหญ่ ในราคาพริกไทยดำ 22 บาท/กก และพริกไทยขาว 38.50 บาท/กก. (ปี 2525/26) ในราคาระดับนี้เกษตรกรยังขาดทุนอยู่มาก ระดับราคาที่เกษตรกรพอใจไม่ขาดทุนคือ พริกไทยขาวชั้นหนึ่ง กก.ละ 50-55 บาท พริกไทยขาวชั้น 2 กก.ละ 40-45 บาท และพริกไทยดำ กก.ละ 30-35 บาท
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2525
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2526
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการปลูกและต้นทุนในการผลิตพริกไทยของเกษตรกรใน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2526
สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี การจัดการการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานแปรรูปในจังหวัดสกลนคร สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกร อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการปลูกและต้นทุนการผลิตมะลิ ปี 2528 อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม สภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรที่เข้าร่วมระบบการผลิตตามการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี สมการการผลิต ต้นทุน และผลตอบแทนจากการปลูกยางพาราของเกษตรกร จังหวัดสุราษฎร์ธานี สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย การศึกษาสมการการผลิตและต้นทุนผลตอบแทนจาก การปลูกยางพาราในจังหวัดสุราษฎร์ธานี สภาพการผลิตและความต้องการรับการส่งเสริมด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกร ตำบลแจนแวน กิ่งอ.ศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร : กรณีศึกษาการปลูกข้าวในตำบลบ้านดุง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ปีการเพาะปลูก 2546/2547

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก