สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มค่าความร้อนของโปรดิวเซอร์แก๊สที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรผ่านกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันโดยใช้ไอน้ำ
อัครินทร์ อินทนิเวศน์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มค่าความร้อนของโปรดิวเซอร์แก๊สที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรผ่านกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันโดยใช้ไอน้ำ
ชื่อเรื่อง (EN): Improvement of the producer gas heating value produced from Agricultural waste via Steam assisted Biomass Gasification
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อัครินทร์ อินทนิเวศน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในการผลิตพลังงานความร้อนโดยใช้กระบวนการแก๊สซิฟิเคชันจะได้โปรดิวเซอร์แก๊สที่มีค่าความร้อนที่ต่าเนื่องมาจากสัดส่วนของแก๊สไฮโดรเจนที่น้อย การเพิ่มไอน้าในปริมาณที่เหมาะสมเข้าไปในห้องเผาไหม้เป็นอีกหนึ่งทางในการเพิ่มค่าความร้อนให้กับโปรดิวเซอร์แก๊ส โดยในงานวิจัยนี้จะได้ทาการศึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มค่าความร้อนของโปรดิวเซอร์แก๊สที่ผลิตจากกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันโดยใช้ไอน้าสาหรับเตาแก๊สซิฟายเออร์แบบไหลลง ซึ่งใช้วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร 3 ชนิด เป็นเชื้อเพลิง ได้แก่ ไม้ลาไย ซังข้าวโพด และขี้เลื่อยจากก้อนเชื้อเห็ดอัดแท่ง จากการศึกษาพบว่ากรณีไม่มีการป้อนไอน้าเข้าสู่ระบบพบว่าไม้ลาไยและซังข้าวโพดให้โปรดิวเซอร์แก๊สที่มีค่าความร้อนต่าสูงสุดประมาณ 4.32 และ 4.21 MJ/Nm3 ซึ่งสูงกว่าขี้เลื่อยอัดแท่งจากก้อนเชื้อเห็ดประมาณ 1.2-1.3 MJ/Nm3 แต่ไม้ลาไยจะให้ปริมาณโปรดิวเซอร์แก๊สที่มากกว่า จึงทาให้ประสิทธิภาพแก๊สเย็นของระบบมีค่าสูงสุดเท่ากับ 66% แต่เมื่อมีการป้อนไอน้าระหว่างกระบวนการเผาไหม้โดยให้ค่าอัตราการไหลของไอน้าอยู่ระหว่าง 1.4-4 kg/h พบว่าค่าความร้อนของโปรดิวเซอร์แก๊สที่ได้จากเชื้อเพลิงไม้ลาไยจะมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 4.73 MJ/Nm3 เป็น 5.92 MJ/Nm3 คิดเป็น 25% โดยค่าความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นนี้มาจากการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนแก๊สไฮโดรเจนในโปรดิวเซอร์แก๊ส แต่เมื่อพิจารณาปริมาณทาร์ในโปรดิวเซอร์แก๊สพบว่ามีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 3-5 เท่า อันเนื่องมาจากความชื้นที่เพิ่มสูงขึ้นในระบบที่มีการใช้ไอน้า
บทคัดย่อ (EN): Heat production from agricultural waste using gasification process often ends up with the producer gas having low heating value due to low H2 gas composition. Introduction of a suitable amount of steam to the gasification process is one of several ways to increase the heating value of the producer gas. This project is targeted to enhance the heating value of the producer gas using steam assisted gasification process. Three types of agricultural wastes, longan wood, corn cobs and sawdust briquette from the mushroom were chosen in this investigation. Without the steam, the maximum heating value of the producer gas was found to be 4.32 and 4.21 MJ/Nm3 for longan wood as well as corn cobs which was 1.2-1.3 MJ/Nm3 higher than that of the sawdust briquette. The maximum amount of producer gas was achieved using longan wood where by the system reached the maximum thermal efficiency of 66%. Steam injection with the flow rate ranging from 1.4-4 kg/h during the gasification process significantly improved the heating value of the producer gas from 4.73 MJ/Nm3 to 5.92 MJ/Nm3. A 25% enhancement of the producer gas heating value was observed for the longan wood fuel. Higher composition of H2 gas due to steam injection in the producer gas significantly improves the heating value. On the other hand, the amount of tar increased 3-5 times upon the introduction of steam due to higher moisture level derived from steam utilization.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: วิทยาลัยพลังงานทดแทน
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-60-030
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 300,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2560
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มค่าความร้อนของโปรดิวเซอร์แก๊สที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรผ่านกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันโดยใช้ไอน้ำ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2560
พฤติกรรมและความต้องการของตลาดผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปเศษวัสดุเหลือ ทิ้งทางการเกษตร การเพิ่มคุณภาพชีวมวลเหลือใช้ทางการเกษตรโดยกระบวนการเพิ่มความหนาแน่นและทอร์รีแฟคชั่นสำหรับการผลิตไฟฟ้าเพื่อชุมชน การผลิตเอนไซม์ย่อยสลายลิกโนเซลลูโลสโดยแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนเพื่อย่อยสลายวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร วัสดุเหลือใช้จากตาลโตนดมาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตไฟฟ้าชีวมวล พันธุศาสตร์ของลักษณะทางการเกษตรต่างๆ ในงา การเพิ่มมูลค่าการใช้ประโยชน์ของเถ้าลอยชีวมวลเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตอ้อยและมันสำปะหลัง การผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลและไบโอชาร์จากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร การพัฒนากระบวนการผลิตไบโอเอทานอลจากวัสดุเหลือทิ้งไร่ข้าวโพด โดยการหมักแบบแยกกระบวนการผลิต ศูนย์สาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานเพื่อการเกษตร การพัฒนาพลังงานจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก