สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 3 การวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและสารเคลือบผลสำหรับควบคุมโรคผลเน่าของสตรอเบอรี่
อังสนา อัครพิศาล - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 3 การวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและสารเคลือบผลสำหรับควบคุมโรคผลเน่าของสตรอเบอรี่
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Bio-substance and Coating Fruit for Controlling Strawberry Fruit Rot
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อังสนา อัครพิศาล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุมาลี เม่นสิน
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การสำรวจโรคที่ระบาดบนผลสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80 จากพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ 4 แห่ง คือ โครงการหลวงหนองหอย ผลสตรอเบอรี่ที่จำหน่ายในโครงการหลวงสุเทพ ผลสตรอเบอรี่ที่จำหน่ายในอำเภอสะเมิง และผลสตรอเบอรี่ที่จำหน่ายในโครงการหลวงแม่แฮ พบโรคแอนแทรกโนสและโรคราสีเทาระบาด ซึ่งสามารถแยกเชื้อสาเหตุ Colletotrichum spp. ที่ทำให้เกิดโรคแอนแทรกโนสได้ 10 ไอโซเลท ได้แก่ CN1, CN2, CS1, CS2, CK11, CK12, CK21, CK22, CM1 และ CM2 เชื้อสาเหตุ Botrytis spp. ที่ทำให้เกิดโรคราสีเทาได้ 8 ไอโซเลท ได้แก่ BN1, BN2, BS1, BS2, BK1, BK2, BM1 และ BM2 เมื่อเชื้อราสาเหตุนำไปปลูกเชื้อกลับบนผลสตรอเบอรี่สด เพื่อทดสอบความรุนแรงของการเกิดโรค พบว่า Colletotrichum sp. ไอโซเลท CK21 และ Botrytis sp. ไอโซเลท BK2 ทำให้เกิดโรครุนแรงที่สุด จากนั้นคัดเลือกจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่แยกจากใบและผลของสรอเบอรี่ได้ 105 ไอโซเลท เมื่อทดสอบโดยวิธี dual culture technique พบว่าจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ 5 ไอโซเลท K18, K27, S15, S16 และ S17 มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อรา Colletotrichum sp. (CK21) โดยมีประสิทธิภาพในการยับยั้ง 33.75, 66.25, 31.25, 37.50 และ 33.75 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ส่วนเชื้อรา Botrytis sp. (BK2) พบจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ 8 ไอโซเลท ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อราสาเหตุได้ ได้แก่ K1, K18, K27, S15, S16, S17, N7 และ N23 โดยมีประสิทธิภาพในการยับยั้ง 43.75, 36.88, 64.38, 26.88, 25.63, 33.75, 25.00 และ 47.50 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ จากนั้นทำการทดสอบเชื้อราสาเหตุกับสารเคลือบผิวในสภาพห้องปฏิบัติการ เพื่อนำไปพัฒนาเป็นสารเคลือบผล ได้แก่ ascorbic acid, citric acid, calcium-D-gluconate monohydrate, palmatic acid, glycerol และ chitosan พบว่าความเข้มข้นของสารเคลือบผิวที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อราสาเหตุ Colletotrichum sp. (CK21) ได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ คือ 2%ascorbic acid, 1%citric acid และ 10%glycerol โดยมีประสิทธิภาพในการยับยั้ง 61.30, 78.89 และ 61.80 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ส่วนเชื้อรา Botrytis sp. (BK2) สารที่มีสามารถยับยั้งได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ คือ 2%ascorbic acid, 1%citric acid, 1%calcium-D-gluconate monohydrate และ 10%glycerol โดยมีประสิทธิภาพในการยับยั้ง 55.19, 52.22, 56.30 และ 60.83 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): A survey to determine the strawberry (Fragaria?ananassa Duch.) cv. Pharachatan 80 diseases were reached epidemic of anthracnose disease and gray mold disease on area of highland in Chiangmai, Thailand in 2014. The surveys of the strawberry were isolated from field at Nonghoi Royal Project, Maehae Royal Project, Samoengs district and Suthap Royal Project Marketing store. This study 10 isolates of Colletotrichum spp. (CN1, CN2, CS1, CS2, CK11, CK12, CK21, CK22, CM1 and CM2) and 8 isolates of Botrytis spp. (BN1, BN2, BS1, BS2, BK1, BK2, BM1 and BM2) were isolated from strawberry disease. Inoculation of pathogens into fresh strawberry fruits in laboratory found that isolate CK21 and BK2 can cause most severity symptom. A total of 105 isolates of antagonist microbial were isolated from leaves and fruits of fresh strawberry from production area. When screening tested their abilities to inhibit growth of Colletotrichum sp. isolate CK21 by dual culture technique on PDA. It was found five antagonistic microbial (K18, K27, S15, S16 and S17) were found that inhibited Colletotrichum sp. isolate CK21 growth efficacies of 33.75%, 66.25%, 31.25%, 37.50% and 33.75% respectively. While, eight antagonistic microbial (K1, K18, K27, S15, S16, S17, N7 and N23) were found that inhibited Botrytis sp. isolate BK2 growth efficacies of 43.75%, 36.88%, 64.38%, 26.88%, 25.63%, 33.75%, 25.00% and 47.50% respectively. Furthermore, this study selected organic compounds including ascorbic acid, citric acid, calcium-D-gluconate monohydrate, palmatic acid, glycerol and chitosan, the proper inhibitory concentration of the organic compounds against Colletotrichum sp. isolate CK21 were determined and inhibited the fungal growth more 50 percentage on PDA. It was found that 2% ascorbic acid, 1% citric acid and 10% glycerol inhibited the fungal growth efficacies of 61.30%, 78.89% and 61.80%, respectively. However, 2%ascorbic acid, 1%citric acid, 1%calcium-D-gluconate monohydrate and 10%glycerol against Botrytis sp. isolate BK2 inhibited the fungal growth efficacies of 55.19%, 52.22%, 56.30% and 60.83%, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 3 การวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและสารเคลือบผลสำหรับควบคุมโรคผลเน่าของสตรอเบอรี่
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและสารเคลือบผลสำหรับควบคุมโรคผลเน่าของสตรอเบอรี่ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 วิธีดูแลตนเองจากเพลิงไหม้สารเคมี โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาและพัฒนาต้นแบบชีวภัณฑ์ลดความเป็นกรดและความเป็นพิษโลหะหนักาซินิคในดินบนพื้นที่สูง โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืชและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจบนพื การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 4 การวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เชื้อราสาเหตุโรคและแมลงสารไล่แมลงเพื่อควบคุมหนอนมลงวันเจาะลำต้ ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 2 การศึกษาและพัฒนาต้นแบบชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดโรคขอบใบไหม้กะหล่ำปลีและใบจุดตากบผักกาดหอมห่อบน โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพเกษตรจากความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก