สืบค้นงานวิจัย
ผลของตำแหน่งและพันธุ์ของต้นตอกลางต่อการต่อกิ่งมะม่วง
วัลลภ จันทร์งาม - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ผลของตำแหน่งและพันธุ์ของต้นตอกลางต่อการต่อกิ่งมะม่วง
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Position and Cultivar of Interstock on Grafting of Mango
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วัลลภ จันทร์งาม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Wanlop Junngam
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ธวัชชัย รัตน์ชเลศ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Tavaichai Radanachaless
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: มะม่วงเป็นไม้ผลยืนต้นที่นิยมปลูกบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน โดยมีมะม่วงแก้วเป็นพันธุ์ในท้องถิ่น ที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายที่สุด งานทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะวัดความสามารถในการเชื่อมประสานและการอยู่รอดของยอดพันธุ์แก้วเมื่อต่อกิ่งบนต้นตอกลางมะม่วงการค้า 3 พันธุ์ ได้แก่ เขียวเสวยหนังกลางวันและน้ำดอกไม้ รวมทั้งประเมินผลของพันธุ์และตำแหน่งการต่อกิ่งที่มีต่อการอยู่รอดและการเจริญเติบโตของยอดพันธุ์แก้ว ได้ศึกษาในเรือนเพาะชำของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และในแปลงของเกษตรกร บนพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรรมโครงการป่าจอมทอง กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ การตัดเนื้อเยื่อตามแนวขวางบริเวณรอยต่อแสดงให้เห็นว่า แคลลัสซึ่งเจริญขึ้นมาจากต้นตอกลางเขียวเสวยและหนังกลางวัน เกิดการเชื่อมประสานกับยอดพันธุ์แก้วได้ดีกว่าต้นตอกลางน้ำดอกไม้ ที่ 60 วันหลังการต่อกิ่ง ในการต่อยอดพันธุ์แก้วที่ตำแหน่งกิ่งหลัก กิ่งรอง และกิ่งแขนง บนต้นตอกลางเขียวเสวยและหนังกลางวันที่มีอายุ 9-10 ปี ในแปลงของเกษตรกร การอยู่รอดและการเจริญเติบโตของยอดพันธุ์แก้วไม่มีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามการต่อกิ่งในตำแหน่งกิ่งรองบนต้นตอกลางจะเหมาะสมในทางปฏิบัติ การศึกษานี้สรุปได้ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนพันธุ์ต้นมะม่วงที่ไม่ต้องการโดยใช้ยอดพันธุ์แก้วต่อกิ่งบนตำแหน่งกิ่งรอง
บทคัดย่อ (EN): Mango is the widely adapted fruit tree in the rainfed upland conditions, where the local cultivar, Kaew is most popular grown. The research aim to determine the ability of grafting Kaew scion on interstocks of three commercial cultivars, Kiew Sawoer, Nang KJangwan and Nam Dokmai and to evaluate the effects of cultivar and grafing position of interstocks on survival and growth of Kaew scions. The experiment was conducted in the nursery of Faculty of Agriculture, Chiang Mai University and farmer field at the Chom Tong Land Reform Project area, Doi Lor District, Chiang Mai Province. The cross-section of the grafted materials revealed that the callus of the interstocks originated from Kiew Sawoer and Nang Klangwan fused better with Kaew scion than those from Nam Dokmai at 60 days after grafting. When the Kacw scions were grafted on the main, secondary and tertiary branching positions of 9-10 year-old Kiew Sawoer and Nang Klangwan cultivars in farmer field, the survival and growth of the grafted scions were not different. However it would be more practical to graft on the secondary branches of the interstocks. The study concludes that it is possible to replace the unwanted mango trees by grafting the desirable Kaew scions on the secondary branches.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2543
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2544
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/247122/169330
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของตำแหน่งและพันธุ์ของต้นตอกลางต่อการต่อกิ่งมะม่วง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2544
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการของมะนาวพันธุ์แป้นพิจิตร 1 บนต้นตอพืชตระกูลส้ม 5 ชนิด ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของมะม่วงพันธุ์ต่างๆ อิทธิพลต้นตอมะม่วงทะวายต่อความหนาแน่นสโตมาตาของกิ่งพันธุ์ดี ผลของการใช้ความร้อนต่อการเปลี่ยนแปลงโปรตีนระหว่างการสะท้านหนาวของผลมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ การไว้ผลต่อคุณภาพผลและการคัดขนาดของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ผลของการชะลอระยะเวลาตัดแต่งกิ่งต่อระยะเก็บเกี่ยวมะม่วงแก้วในภาคเหนือตอนบน แนวทางการส่งเสริมการผลิตมะม่วงของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาผลของการตัดกิ่งต่อการเจริญเติบโต และการออกดอก ของมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ในระยะปลูกชิด ผลกระทบของปรากฏการณ์ “เอลนิโญ” ต่อการออกดอกของมะม่วง ผลกระทบของความเค็มต่อการเจริญเติบโตของมะม่วง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก