สืบค้นงานวิจัย
การใช้กากปาล์มน้ำมันและยูเรียอัดเม็ดเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหาร ข้นสำหรับโครีดนม
ผส.ดร.รัชตาภรณ์ ลุนสิน - มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
ชื่อเรื่อง: การใช้กากปาล์มน้ำมันและยูเรียอัดเม็ดเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหาร ข้นสำหรับโครีดนม
ชื่อเรื่อง (EN): Utilization of oil palm meal and urea pellet (PMUP) as a protein replacement for soybean meal in concentrate supplement for lactating dairy cows
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผส.ดร.รัชตาภรณ์ ลุนสิน
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การใช้กากปาล์มน้ำมันและยูเรียอัดเม็ดเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารข้นสำหรับโครีดนม” แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตกากปาล์มน้ำมัน และยูเรียอัดเม็ดเป็นแหล่งอาหารโปรตีนสำหรับโครีดนม การใช้กากปาล์มน้ำมัน และยูเรียอัดเม็ดเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนกากถั่วเหลืองในสูตรอาหารต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ของโภชนะ กระบวนการหมักในกระเพาะรูเมนของโครีดนม สูตรอาหารต่อผลผลิตน้ำนมและองค์ประกอบทางเคมีของน้ำนมในโครีดนม และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการใช้กากปาล์มน้ำมันและยูเรียอัดเม็ดเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารโครีดนม จากการศึกษาวิจัยพบว่า การใช้ยูเรียอัดเม็ด (Oil palm meal and urea pellet : PMUP) เป็นแหล่งโปรตีนทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารข้น สำหรับโครีดนมต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ของโภชนะ กระบวนการหมักในกระเพาะรูเมน และสมรรถนะการให้ผลผลิตน้ำนมของโคนม โดยใช้ PUMP ที่ระดับ 0 25 50 75 และ 100 เปอร์เซ็นต์ พบว่า สามารถใช้ PMUP ในสูตรอาหารข้นสำหรับโครีดนมได้ ตั้งแต่ 25 – 75 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่มีผลกระทบต่อสัตว์ และไม่ทำให้สมรรถนะการให้ผลผลิตของโคนมด้อยลง โดยการใช้ PMUP ที่ระดับ 50 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้ปริมาณการกินได้ การใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะ และกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมน มีประสิทธิภาพสูงที่สุด รวมทั้งมีปริมาณผลผลิตน้ำนม และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการเลี้ยงโคนมสูงที่สุดเช่นกัน            ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้คือ วิธีการผลิต และระดับที่เหมาะสมในการใช้กากปาล์มน้ำมัน และยูเรียอัดเม็ด (Oil palm meal and urea pellet : PMUP) เพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีนทางเลือกทดแทนกากถั่วเหลือง ในสูตรอาหารข้นสำหรับใช้เป็นอาหารโคนม และสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดอื่น เช่น โคเนื้อ กระบือ แพะ และ แกะ รวมทั้งแนวทางในการเพิ่มศักยภาพการนำผลพลอยได้ จากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มแบบหีบรวมเมล็ดในปาล์มมาใช้ประโยชน์มากขึ้น 
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-07-05
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-07-04
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2557
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP อนุสิทธิบัตร
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ อาหารอัดเม็ดสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องที่ผลิตจากกากปาล์มน้ำมันและยูเรีย
เลขที่คำขอ 1603000821
วันที่ยื่นคำขอ 2016-05-17 12:00:00
เลขที่ประกาศ 14378
วันที่จดทะเบียน 2018-09-21 12:00:00
เลขที่จดทะเบียน 14378
วันที่ประกาศ 2018-09-21 12:00:00
สถานะปัจจุบัน เชิงสาธารณะ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้กากปาล์มน้ำมันและยูเรียอัดเม็ดเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหาร ข้นสำหรับโครีดนม
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
4 กรกฎาคม 2558
การใช้กากปาล์มน้ำมันและยูเรียอัดเม็ดเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารข้นสำหรับโครีดนม การใช้กากเนื้อในเมล็ดปาล์มเป็นอาหารเสริมสำหรับโครีดนม การใช้กากปาล์มน้ำมันเป็นอาหารโค - กระบือ การทดสอบการเสริม Urea Molasses Multinutrient Block (UMMB) แก่โครีดนมในฟาร์มเกษตรกร การตอบสนองของถั่วเหลืองพันธุ์ต่าง ๆ ต่อสภาพที่ขาดน้ำ การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 โปรตีนจากแมลงทางเลือกใหม่ของผู้บริโภค การผลิตถ่านกัมมันต์จากกะลาปาล์ม การใช้ต้นและเปลือกฝักถั่วเหลืองแห้งเป็นอาหารเสริมโครีดนมในฤดูแล้ง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก