สืบค้นงานวิจัย
ผลของคุณภาพหญ้าแพงโกล่าแห้งต่อสมรรถนะการผลิตและลักษณะซากของโคลูกผสมบราห์มันอายุมาก
ปริญญา จเรรัชต์ - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: ผลของคุณภาพหญ้าแพงโกล่าแห้งต่อสมรรถนะการผลิตและลักษณะซากของโคลูกผสมบราห์มันอายุมาก
ชื่อเรื่อง (EN): Productivity and carcass characteristics of Thai indigenous cattle fed on different quality hay
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปริญญา จเรรัชต์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Parinya Chararachata
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สมรรถนะการผลิตและลักษณะซากของโคพื้นเมืองไทยที่เลี้ยงด้วย อาหารหยาบที่มีคุณภาพแตกต่างกัน ปริญญา จเรรัชต์ 1/ จีระศักดิ์ ชอบแต่ง 2/ สุมน โพธิ์จันทร์ 2/ วัฒนาวรรณ ศรีสมพร 3/ สุกัญญา คำพะแย 4/ บทคัดย่อ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของคุณภาพของหญ้าแห้งที่มีต่อสมรรถนะการผลิตและลักษณะซากของโคพื้นเมืองไทย วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอดภายในบล็อก มี 4 ซ้ำ ใช้โคพื้นเมือง เพศผู้อายุ 15 เดือน น้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 137.75?22.96 กิโลกรัม จำนวน 12 ตัว สิ่งทดลองได้แก่ หญ้า แพงโกล่าแห้ง 2 ชั้นคุณภาพ (คุณภาพดีและปานกลาง) และหญ้ารูซี่แห้งคุณภาพต่ำ โคทุกตัวได้รับอาหารข้น (โปรตีน 11.85 เปอร์เซ็นต์) เสริมอัตรา 1 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ศึกษาลักษณะซากเมื่อเลี้ยงโคได้ 118 วัน ผลการทดลอง พบว่า โคที่เลี้ยงด้วยอาหารหยาบทั้ง 3 คุณภาพ กินวัตถุแห้งได้แตกต่างกัน (p0.05) แต่มากกว่า (p0.05) คุณภาพอาหารหยาบมีผลต่อน้ำหนักเนื้อแดง อวัยวะภายในและระบบทางเดินอาหารเมื่อแยกเป็นชิ้นส่วนย่อย โดยส่วนใหญ่ พบว่า โคที่เลี้ยงด้วยอาหารหยาบคุณภาพดีและปานกลางน้ำหนักชิ้นส่วนย่อย ไม่แตกต่างกัน (p>0.05) แต่มากกว่า (p<0.05) โคที่เลี้ยงด้วยอาหารหยาบคุณภาพต่ำ ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวและลักษณะซากที่สำคัญ ได้แก่ น้ำหนักซากอุ่น น้ำหนักเนื้อแดงในซาก น้ำหนักกระดูกในซาก น้ำหนักอวัยวะภายในรวม และ น้ำหนักระบบทางเดินอาหารรวม เป็นบวก โดยทุกลักษณะมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงถึงสูงมาก โดยสรุป ในการเลี้ยงโคพื้นเมืองไทยสายอีสาน เพื่อให้โคมีสมรรถนะการผลิต น้ำหนักซาก และปริมาณเนื้อแดงที่ดี ควรใช้อาหารหยาบที่มีคุณภาพปานกลางเป็นอย่างน้อย คำสำคัญ: หญ้าแห้ง คุณภาพ สมรรถนะการผลิต ลักษณะซาก โคพื้นเมืองไทย เลขทะเบียนวิจัย : 51(1)-0214-052 1/สถานีพัฒนาอาหารสัตว์หนองคาย อ. สระใคร จ.หนองคาย 2/กลุ่มวิจัยอาหารสัตว์ กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 3/ สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ร้อยเอ็ด อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด 4/ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ขอนแก่น ต.ท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น
บทคัดย่อ (EN): Productivity and carcass characteristics of Thai indigenous cattle fed on different quality hay Parinya Chararachata 1/ Jeerasak Chobtang 2/ Sumon Pojun 2/ Wattanawan Srisomporn 3/ Sukanya Kamphayae 4/ A study aimed to compare productivity and carcass characteristics of Thai indigenous bulls was conducted at Nongkhai Animal Nutrition Development Station. A randomized complete block design with 4 blocks was used as experimental plan. Twelve intact Thai indigenous cattle, initial body weight of 137.75?22.96 kg, were allocated into the experimental treatments. Treatments were three quality of hay comprised two of Digitaria eriantha hay (good and medium quality) and one of Brachiaria ruziziensis hay (low quality). All bulls were equally supplemented with 1% of body weight of concentrate (11.85% crude protein). The animals were killed to determine the carcass traits after 118 days of feeding period. The results showed that there were significant different (p0.05) in carcass (95.7, 85.5 and 71.3 kg, respectively) and meat weight (69.2, 61.1 and 50.0 kg, respectively) between high and medium quality hay group but higher than (p0.05) in carcass and meat portions when present in percent of shrunk body weight. Similarly, retail cut of meat, internal organ and gastrointestinal tract between high and medium quality group did not significantly differ (p>0.05) but higher than (p<0.05) that of low quality group. Correlation coefficient (r) among empty body weight and hot carcass weight, meat weight, bone weight, internal organ weight and gastrointestinal tract weight were in highly positive. In conclusion, to increase performance and carcass traits of Thai indigenous bulls, at least medium quality of hay should be used as animal feed source. Keywords: hay, quality, productivity, carcass characteristic, Thai indigenous cattle Research Project No.: 51(1)-0214-052 1/Nongkhai Animal Nutrition Development Station, Sakrai, Nongkhai. 2/Animal Nutrition Division, Ratchathewi, Department of Livestock Development Bangkok . 3/ Roi Et Animal Nutrition Development Station, Suwanaphum, Roi Et. 4/Khon Kean Animal Nutrition Research and Development Center, Muang, Khon Kean.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมปศุสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของคุณภาพหญ้าแพงโกล่าแห้งต่อสมรรถนะการผลิตและลักษณะซากของโคลูกผสมบราห์มันอายุมาก
กรมปศุสัตว์
30 กันยายน 2551
กรมปศุสัตว์
ผลของคุณภาพหญ้าแพงโกล่าแห้งต่อสมรรถนะการผลิตและลักษณะซากของโคพื้นเมืองเต็มวัย ค่าโภชนะที่ย่อยได้ของหญ้าแพงโกล่าคุณภาพต่ำในโคเนื้อลูกผสมบราห์มัน การทำหญ้าแพงโกล่าแห้ง การศึกษาลักษณะโคลูกผสมชาร์โรเลส์อเมริกันบราห์มัน 50% ที่สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก ค่าพลังงานใช้ประโยชน์ได้เพื่อการดำรงชีพของโคลูกผสมบราห์มัน ที่ได้รับหญ้าแพงโกล่า คุณภาพซากและเนื้อของโคขาวลำพูนและโคลูกผสมบราห์มันที่เลี้ยงด้วยหญ้าแพงโกล่า การประเมินคุณค่าทางโภชนะของหญ้าแพงโกล่าแห้ง ผลของระดับใบถั่วท่าพระสไตโลป่นทดแทนอาหารข้นต่อสมรรถนะการผลิตโคเนื้อลูกผสมบราห์มัน การใช้หญ้าแพงโกล่าแห้งเลี้ยงโคนมในฟาร์มเกษตรกรจังหวัดชัยนาท การจัดชั้นคุณภาพหญ้าแพงโกล่าแห้งโดยการวิเคราะห์การรวมกลุ่ม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก