สืบค้นงานวิจัย
น้ำหนักตัวและค่าอัตราพันธุกรรมของไก่พื้นเมืองไทยประดู่หางดำเชียงใหม่ เมื่อคัดเลือกถึงชั่วอายุที่ 9
อำนวย เลี้ยวธารากุล - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: น้ำหนักตัวและค่าอัตราพันธุกรรมของไก่พื้นเมืองไทยประดู่หางดำเชียงใหม่ เมื่อคัดเลือกถึงชั่วอายุที่ 9
ชื่อเรื่อง (EN): Body weight and heritability of Pradu-Hangdum Chiangmai breed of Thai native chicken for nine generations of selection
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อำนวย เลี้ยวธารากุล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Amnuay Leotaragul
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาน้ำหนักตัวและค่าอัตราพันธุกรรมของไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ ที่ผ่านการ คัดเลือกและพัฒนาพันธุ์มา 9 ชั่วอายุ จากฝูงไก่ที่เริ่มต้นจากการรวบรวมไก่พื้นเมืองที่มีลักษณะภายนอกเป็นไก่ประดู่หางดำจากภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย จำนวนพ่อพันธุ์ 70 ตัว แม่พันธุ์ 350 ตัว และในแต่ละชั่วอายุพ่อพันธุ์แต่ละตัวจะผสมกับแม่พันธุ์ 5 ตัว โดยวิธีผสมเทียม วิเคราะห์ ข้อมูลน้ำหนักตัวไก่ชั่วอายุที่ 1 - 9 จำนวน 38,817 ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า เมื่ออายุพร้อมจำหน่ายที่ 12 สัปดาห์ ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ มีน้ำหนักตัวที่ชั่วอายุที่เพิ่มขึ้นจาก 804.84 + 165.81 กรัม เป็น 1,159.79 + 190.27 กรัมใน ชั่วอายุที่ 9 ส่วนค่าอัตราพันธุกรรมมีค่าลดลงจาก 0.46 + 0.04 เป็น 0.27 - 0.05 ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): The aims of this study was to estimate body weight and heritability of Pradu-Hangdum Chiangmai chicken that were selected and developed breed for nine generations, from the base population of seventy sires, three hundred and fifty dams of Pradu-Hangdum breed of Thai native chicken were collected from many regions of Thailand. Artificial insemination has been wildly practices in breeding program, with each sire being mated to 5 dams for each generation. The data analysis of body weight of chicken comprised 38,817 records from generation 1 – 9. The results showed that body weight of Pradu-Hangdum chicken at selling age (12 wk) increasing from 804.84 ± 165.81 g to 1,159.79 ± 190.27 g in generation 1 and 9, respectively. For heritability estimate decreased from 0.46 ± 0.04 to 0.27 ± 0.05, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=264-268.pdf&id=997&keeptrack=10
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
น้ำหนักตัวและค่าอัตราพันธุกรรมของไก่พื้นเมืองไทยประดู่หางดำเชียงใหม่ เมื่อคัดเลือกถึงชั่วอายุที่ 9
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ความหลากหลายทางพันธุกรรมและจำแนกกลุ่มพันธุกรรมไก่พื้นเมืองในจังหวัดน่านด้วยไมโครแซทเทิลไลท์ ไก่พื้นเมืองไทย: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ผลของการใช้ใบหม่อนหมักในอาหารต่อสมรรถการเจริญเติบโตในไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำระยะรุ่น (4-7 สัปดาห์) ผลของอายุและสายพันธุ์ต่ออัตราการเคลื่อนที่, อัตราการรอดชีวิต และความสมบูรณ์พันธุ์ของน้ำเชื้อแบบแช่แข็งของพ่อพันธุ์ไก่พื้นเมือง ผลผลิตไข่และต้นทุนการผลิตลูกของไก่ลูกผสมประดู่หางดำเชียงใหม่ - โรดไทยเมื่อเลี้ยงโดยฟาร์มของเกษตรกร ผลผลิตไข่และต้นทุนการผลิตลูกของไก่พื้นเมืองประดู่หางดำเชียงใหม่ เมื่อเลี้ยงโดยฟาร์มของเกษตรกร ลักษณะภายนอกและสมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมือง (ประดู่หางดำเชียงใหม่) พันธุ์แท้และลูกผสม ความเป็นไปได้ของการคัดเลือกพันธุกรรมหลายลักษณะร่วมกัน โดยใช้โมเดลตัวสัตว์ในไก่พื้นเมืองไทย (ประดู่หางดำและชี) ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อเนื้อไก่พื้นเมือง (ประดู่หางดำเชียงใหม่) ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่เมื่อเลี้ยงในระบบขังคอกและปล่อยอิสระ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก