สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสับปะรดในพื้นที่เกษตรกร
นายละเอียด ปั้นสุข - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสับปะรดในพื้นที่เกษตรกร
ชื่อเรื่อง (EN): Testing and Development Technology of Pineapple Production on Farm.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นายละเอียด ปั้นสุข
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ละเอียด ปั้นสุข
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: บทคัดย่อ โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคโนโลยีการผลิตสับปะรดที่เหมาะสมของกรมวิชาการเกษตรไปแก้ปัญหาการผลิตสับปะรดของเกษตรกรโดยเฉพาะปัญหาดินเสื่อมโทรม ผลผลิตกระจุกตัวทำให้ล้นตลาดแต่บางช่วงเวลาผลผลิตไม่เพียงพอ การเกิดปัญหาโรคเหี่ยวในสับปะรด ดำเนินงานระหว่างปี 2554-2556 ดังนี้ ทดสอบการใช้ปุ๋ยและการปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด จังหวัดอุทัยธานีทำการทดสอบการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับการไถกลบซากต้นสับปะรดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรดร่วมกับเกษตรกร ตำบลเจ้าวัด อำเภอบ้านไร่ จ.อุทัยธานีดำเนินงาน 2 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีเกษตรกรเป็นวิธีการที่เกษตรกรเคยปฏิบัติ และกรรมวิธีทดสอบโดยการไถกลบซากต้นสับปะรดและใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ดำเนินการทดสอบ 2 ปี การผลิตพบว่า ผลผลิตสับปะรดกรรมวิธีทดสอบเฉลี่ยเท่ากับ 8,856 กก./ไร่ กรรมวิธีเกษตรกร 7,619 กก./ไร่ ซึ่งผลผลิตในกรรมวิธีทดสอบสูงกว่า 16.23 เปอร์เซ็นต์ รายได้สุทธิในกรรมวิธีทดสอบเท่ากับ 12,740 บาท/ไร่ กรรมวิธีเกษตรกร 10,804 บาท/ไร่ ซึ่งกรรมวิธีทดสอบสูงกว่า 17.92 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อวิเคราะห์สัดส่วนรายได้ต่อการลงทุน (BCR) พบว่า กรรมวิธีทดสอบปีมีค่าเท่ากับ 1.77 และกรรมวิธีเกษตรกรมีค่า 1.75 ซึ่งทั้ง 2 กรรมวิธียังมีความเสี่ยงในการผลิต ทดสอบเทคโนโลยีการกระจายการผลิตสับปะรดทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี ในเดือนตุลาคม 2553 – กันยายน 2556 การกระจายการผลิตในช่วงฤดูแล้ง (ก.พ. – มี.ค.) ให้เริ่มปลูกเดือน ธ.ค. และมีการให้น้ำตั้งแต่หลังปลูกถึงเดือนพ.ค. จะช่วยให้การเจริญเติบโตในช่วง 6 เดือนแรกดีขึ้น แต่เมื่อสับปะรดได้รับฝนตามฤดูกาลแล้วต้นที่ไม่ได้รับน้ำเพิ่มในช่วงแรกสามารถเจริญเติบโตได้ทันกัน การให้ปุ๋ยทางกาบใบ และพ่นทางใบเพิ่มไม่ได้ช่วยให้สับปะรดมีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นในขณะที่สับปะรดยังได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอ แต่การให้ปุ๋ยทางใบและมีการให้น้ำเพิ่มในช่วงที่มีการพัฒนาผลส่งผลให้น้ำหนักผลเฉลี่ยเมื่อเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น ส่วนการกระจายการผลิตในช่วงฤดูฝน (ส.ค. – ก.ย.) ให้เริ่มปลูกเดือน เม.ย. โดยต้องมีการให้น้ำเสริมในช่วงฝนทิ้งช่วง (พ.ย. – พ.ค.) และการให้ปุ๋ยทางใบเสริมไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสับปะรด แต่ต้องมีการเพิ่มปริมาณปุ๋ยทางกาบใบเป็นครั้งละ 25 ก/ต้น จำนวน 2 ครั้ง สับปะรดจะมีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น เมื่อเก็บผลผลิตช่วง ก.ย. ผลผลิตที่ได้ไม่แตกต่างกัน ทดสอบเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืชเพื่อแก้ปัญหาโรคเหี่ยวสับปะรดด้วยการเตรียมหน่อพันธุ์ก่อนปลูกโดยการแช่หน่อพันธุ์ในน้ำร้อน 55?ซ นาน 60 นาที และ จุ่ม thiamethoxam 4 ก/น้ำ 20 ล ร่วมกับการจัดการแปลงโดยกำจัดวัชพืชในแปลง กำจัดมดด้วย diazinon และสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอเมื่อพบต้นเป็นโรคกำจัดออกจากแปลง ซึ่งดำเนินการในพื้นที่เกษตรกร อ. สามร้อยยอด จ. ประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างตุลาคม 2553 – กันยายน 2556 จากการดำเนินการเตรียมหน่อพันธุ์พบว่าการแช่น้ำร้อนหน่อพันธุ์มีผลต่อการเจริญเติบโตของสับปะรดในช่วงแรกเท่านั้น และเมื่อสับปะรดอายุ 8 เดือนมีการเจริญเติบโตของต้นสับปะรดไม่แตกต่างกัน เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตสับปะรดที่ได้จากแปลงทดสอบเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวไม่แตกต่างกับวิธีของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการเตรียมหน่อพันธุ์ร่วมกับการจัดการแปลงช่วยลดการเป็นโรคได้โดยต้นสับปะรดยังคงให้ผลผลิตได้เกิดความเสียหายไม่รุนแรง ทดสอบเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาโรคเหี่ยวสับปะรดดำเนินงานในพื้นที่เกษตรกรจังหวัดระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และในพื้นที่แปลงเกษตรกร ตำบลหนองกระท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ดำเนินงาน 2 กรรมวิธีได้แก่ กรรมวิธีทดสอบโดยใช้เทคโนโลยีการผลิตสับปะรดของกรมวิชาการเกษตร และกรรมวิธีเกษตรกร ซึ่งเป็นวิธีที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่แล้ว ผลการดำเนินงานในจังหวัดระยอง พบว่ากรรมวิธีทดสอบได้ผลผลิตเฉลี่ย 7,880 กก./ไร่ มีต้นทุน 21,935 บาท/ไร่ มีรายได้สุทธิ 17,465 บาท/ไร่ กรรมวิธีเกษตรกรได้ผลผลิตเฉลี่ย 7,524 กก./ไร่ มีต้นทุน 22,324 บาท/ไร่ มีรายได้สุทธิ 15,296 บาท/ไร่ จังหวัดชลบุรี พบว่ากรรมวิธีทดสอบได้ผลผลิตเฉลี่ย 5,320 กก./ไร่ มีต้นทุน 18,725 บาท/ไร่ มีรายได้สุทธิ 7,875 บาท/ไร่ กรรมวิธีเกษตรกรได้ผลผลิตเฉลี่ย 4,768 กก./ไร่ มีต้นทุน 22,748 บาท/ไร่ มีรายได้สุทธิ 1,092 บาท/ไร่ จังหวัดฉะเชิงเทราพบว่า วิธีทดสอบได้ผลผลิตเฉลี่ย 5,253 กก./ไร่ มีต้นทุน 16,884.68 บาท/ไร่ มีรายได้สุทธิ 15,683.92 บาท/ไร่ วิธีเกษตรกรได้ผลผลิตเฉลี่ย 4,962 กก./ไร่ มีต้นทุน 15,674.80 บาท/ไร่ มีรายได้สุทธิ 15,089.60 บาท/ไร่ สำหรับในพื้นที่จังหวัดจังหวัดพิษณุโลก และ จังหวัดอุตรดิตถ์ ผลการทดสอบทั้ง 2 ปี พบว่ากรรมวิธีทดสอบ และกรรมวิธีเกษตรกร มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเหี่ยวเฉลี่ย 4.92 และ 8.31 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยมีการเกิดโรคเหี่ยวลดลง 3.39 เปอร์เซ็นต์ การให้ผลผลิตเฉลี่ย 4,171 และ 3,826 กก./ไร่ ตามลำดับ มีต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 15,013 และ 14,241 บาท/ไร่ รายได้เฉลี่ย 20,246 และ 18,514 บาท/ไร่ มีรายได้สุทธิเฉลี่ย 5,232 และ 4,347 บาท/ไร่ ตามลำดับ โดยกรรมวิธีทดสอบมีรายได้สูงกว่าวิธีเกษตรกร 885 บาท/ไร่
บทคัดย่อ (EN): The research has the intention of bring in the technology of pineapple production of agriculturist into consideration regarding a problem of the inefficient or degenerated soil. The cluster produce excesses the market, but occasionally, the shortage occurs. The research of the cause of having the internal wilt of pineapple, carry on between 2554-2556, is the following. The research performs testing on fertilizer and improving the soil in order to increase the efficiency of producing pineapple. In Tumbon Jao Wat, district of Ban Rai, Uthaitani, it begins by applying the chemical fertilizer according to the analysis of the soil and also plowing over the scrap of pineapple trees. The development refers to 2 practices which are the practice of Farmer practice by agriculturists in that area and the Test practice by chosen agriculturists that perform or apply the research method. The operation carries on for 2 years. The development shows that the pineapple production of Farmer practice makes 7,619 kg/rai while the Test practice make 8,856 kg/rai The test practice makes about 16.23% higher. The net profit is also higher, which is 12,740 bath/rai However, the Farmer practice make 10,804 bath/rai The percent different compared is 17.92%. After analyzing the Benefit Cost Ratio (BCR), it determines that the test practice has a value of 1.77 and 1.75 for the farmer practice, which tells that both practices still have the risk in producing the production. Moreover, a test on expanding pineapple produce takes place at the Research and Development Center at Petchaburi in October of 2553 to September of 2556. To expand or produce more pineapple in dry season (February – March), start planting in December and after finish, immediately give water until May. Practicing this strategy will help improve the growth in the first 6 months. And when the pineapple receives water from the rain season those other trees that did not receive water in earlier stage will all grow at the same pace. Applying the fertilizer through the leaf doesn’t help improve the growth of the produce when they already receive water consistently. However, applying the fertilizer and give more water during the growing stage will help increase the average weight of the pineapple after the harvest. Furthermore, the procedure in expanding the produce during the rainy season (August – September) starts in April. Giving water is necessary in early season or during the delay of rain (November – May). About 25 grams/tree fertilizer must be used through the leaf 2 times. The fertilizer will help improve the growth of the produce. And in the harvest season-September, the amount of pineapple produce received is not different than the one from dry season. Testing the technology of preventing pest from creating the mealybug wilt disease in pineapple by preparing the germinated pineapple trees; before planting them in the soil, immerse them in hot water (55 ?C) about 60 minutes and dip them in the Thiamethoxam 4 grams/20 Liters of water. Moreover, preparing the plot by using getting rid of the weed and using the Diazinon to prevent to ants are necessary. Caring is also important; if suspecting any ones that are wilted be sure to take them out. This testing procedure takes place at the agricultural soil in district of Sam RoiYod, PraJuabKiriKun province, between October of 2553 to September of 2556. Immersing the young plants in hot water will only help the plant with growing in the first stage. However, after 8 months, the pineapple is fully grown and ready to harvest. When the harvest is done the amount of pineapple made from this procedure is as good as any other pineapple producers. Preparing germinated pineapple trees and the plots help reduce the risk of mealybug wilt disease and lower the damage of the produce. Testing the technology for solving the mealybug wilt problem in pineapple takes place at the agricultural soils in Ra Yong, Chonburi, Chacherngsout province, and Tumbon Nong Kratao, district of Nakornthai, Pisanuloak province, and district of Nampad, Utharadith province. The test is focusing on 2 practices; the farmer practice in Rayong and the test practice of chosen agriculturists that are represent the test procedure. The result shows that the test practice produces pineapple in average of 7,880 kg/rai The initial budget is 21,935 bath/rai The net profit is 17,465 bath/rai For farmer practice, they make pineapple in average of 7,524 kg/rai using initial budget of 22,324 bath/rai and making net profit of 15,296 bath/rai In Chonburi, the test practice makes 5,320 kg/rai, uses budget of 18,725 bath/rai , and makes net profit of 7,875 bath/rai The farmer practice make 4,768 kg/rai, net profit of 1,092 bath/rai , and use 22,748 bath/rai of the budget. In Chacherngsout, the test practice makes 5,253 kg/rai using 16,884.68 bath/rai and making 15,689.92 bath/rai in profit. The farmer practice makes 4,962 kg/rai using 15,674.80 bath/rai and making the net profit of 15,089.60 bath/rai For those area in Pisanuloak and Utharadith, the result of both 2 years shows that both the test practice and the farmer practice encounter percentage of mealybug wilt problem about 4.92 and 8.31 percent accordingly. Fortunately, these are an improvement in reducing the mealybug wilt disease by 3.39 percent. The product made is 4,171 and 3,826 kg/rai accordingly. The original budget changes which results in average of 15,013 and 14,241 bath/rai The average profit is 20,246 and 18,514 bath/rai The average net profit of 5,232 and 4,347 bath/rai accordingly. These results show that the test practice makes great profit than the farmer practice by 885 bath/rai
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/292158
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสับปะรดในพื้นที่เกษตรกร
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2556
เอกสารแนบ 1
การใช้เทคโนโลยีการผลิตสับปะรดบริโภคผลสดของเกษตรกร โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย สภาพการผลิตสับปะรดจังหวัดหนองคาย โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ในระดับเกษตรกร โครงการวิจัยและพัฒนาส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ระยะที่ 1 ปัจจัยบางประการที่เกี่ยวข้องกับการกระจายผลผลิตสับปะรดของเกษตรกรจังหวัดเพชรบุรี การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียของเกษตรกรในจังหวัดชุมพร การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี การพัฒนาวิธีการผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดผลสดเพื่อการส่งออก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก