สืบค้นงานวิจัย
เศรษฐกิจการผลิตการตลาดผลิตภัณฑ์ปลาป่นภาคใต้ตอนบน ปี 2550
ชุมพล พูลศิริ, ชุมพล พูลศิริ - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ชื่อเรื่อง: เศรษฐกิจการผลิตการตลาดผลิตภัณฑ์ปลาป่นภาคใต้ตอนบน ปี 2550
ชื่อเรื่อง (EN): production and market of fish meal for the upper south of Thailand in 2007
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยเศรษฐกิจการผลิต การตลาดผลิตภัณฑ์ปลาป่น ภาคใต้ตอนบน ปี 2550 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระบบการผลิต ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิต เพื่อศึกษาโครงสร้างการตลาด วิถีการตลาด และปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตปลาป่นอย่างมีคุณภาพและขายได้ราคาเพิ่มขึ้น ปลาป่นเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตอาหารสัตว์ที่ได้จากปลาเป็ด ปลาชนิดอื่นๆ ที่จับได้โดยเรือประมงประเภทต่างๆ ส่วนใหญ่โรงงานผลิตปลาป่นเป็นผู้กำหนดราคาวัตถุดิบ ซึ่งผู้ผลิตปลาป่นมีจำนวนมากกว่าผู้ผลิตอาหารสัตว์ ที่มีฐานะทางการเงินที่มั่นคงกว่า การกำหนดราคาซื้อขายปลาป่น จึงขึ้นอยู่กับผู้ผลิตอาหารสัตว์และความต้องการใช้ปลาป่น โดยเฉพาะบริษัทผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ในประเทศไทย ส่วนบริษัทผลิตอาหารสัตว์รายย่อยและตัวแทนหรือนายหน้า การซื้อขายปลาป่นได้อิงราคาจากบริษัทผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ ในการซื้อขายมักจะพบปัญหาข้อถกเถียงกันในเรื่องของคุณภาพปลาป่น รวมไปถึงปริมาณการผลิตปลาป่นคุณภาพโปรตีน ร้อยละ 60.00 ขึ้นไป ที่มีไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น จากการขยายตัวและการพัฒนารูปแบบการเลี้ยงสัตว์ เพื่อตอบสนองต่อการขยายตัวของการบริโภคเนื้อสัตว์ภายในประเทศ ตลอดจนถึงการส่งออกไปตลาดต่างประเทศ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ไข่ไก่ กุ้ง เป็นต้น เครื่องจักรที่ใช้ดำเนินการผลิตปลาป่นในโรงงานภาคใต้ตอนบนเป็นแบบใช้ไอน้ำให้ความร้อน (Stream) และแบบใช้น้ำมันทนความร้อนหมุนเวียน (Hot oil) ใช้ต้นทุนการผลิตปลาป่นรวมทั้งหมด 24.32บาทต่อกิโลกรัม เป็นค่าใช้จ่ายต้นทุนผันแปร 23.48 บาทต่อกิโลกรัม ร้อยละ 96.56 ในจำนวนนี้ เป็นค่าวัตถุดิบ 18.71 บาท ร้อยละ 76.95 ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวม 4.77 บาท ร้อยละ 19.61 และค่าใช้จ่ายต้นทุนคงที่ 0.84บาท ร้อยละ 3.44 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ราคาเฉลี่ยปลาป่นที่ขายได้ 28.36 บาทต่อกิโลกรัม ได้รับผลตอบแทนสุทธิ 4.05 บาทต่อกิโลกรัม ในอัตราการแปรรูปจากวัตถุดิบต่อปลาป่น เท่ากับ 3.8210 : 1 วิถีการตลาดปลาป่นภาคใต้ตอนบน โดยผู้ประกอบการโรงงานผลิตภัณฑ์ปลาป่น วัตถุดิบที่นำมาผลิตซึ่งได้จากเจ้าของแพปลาเอกชนที่มีเรือประมงเป็นของตนเองส่วนหนึ่ง และจากเรือประมงพาณิชย์นำวัตถุดิบมาขายที่แพปลานี้ด้วย ร้อยละ 82.54 ได้จากเรือประมงของ ผู้ประกอบการโรงงานผลิตภัณฑ์ปลาป่น ร้อยละ15.03 ได้วัตถุดิบจำพวกหัวปลา เศษปลาจากโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ ร้อยละ 2.04 และได้จากพ่อค้าคนกลางที่รับซื้อวัตถุดิบจากชาวประมงชายฝั่ง นำมาขายที่โรงงานผลิตภัณฑ์ปลาป่น ร้อยละ 0.39 ของปริมาณวัตถุดิบทั้งหมด ส่วนปลาป่นที่ผู้ประกอบการผลิตได้ จำหน่ายให้กับโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ร้อยละ89.84 จำหน่ายให้กับตัวแทนหรือนายหน้า ร้อยละ 9.92 และเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ไก่ กุ้ง ในพื้นที่มาซื้อที่โรงงานโดยตรง ร้อยละ 0.24 ของปริมาณการผลิตปลาป่นอาหารสัตว์ทั้งหมด ส่วนผลพลอยได้จากกากหอยกากปูที่แยกออกมาจากการผลิตปลาป่น ขายให้กับพ่อค้าหรือผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปในด้านต่างๆ เพื่อใช้ผสมอาหารสัตว์ ใช้เป็นส่วนผสมของปุ๋ย เป็นต้น การศึกษาครั้งนี้มีข้อคิดเห็นเสนอแนะ คือ เจ้าของเรือประมงควรดำเนินการแบ่งแยกประเภทของปลาที่ใช้เป็นวัตถุดิบ การรักษาความสดและมีวัสดุอื่นเจือปนได้ไม่เกินข้อกำหนด สามารถขายได้ราคาสูงกว่าปลาเป็ดชนิดคละหรือมีความสดต่ำเพราะวัตถุดิบมีจำกัด ความต้องการแนวโน้มสูงขึ้น ด้านโรงงานผลิตภัณฑ์ปลาป่นเมื่อมีการปรับปรุงโรงงานและควรดำเนินการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ทดแทนเทคโนโลยีรุ่นเก่า สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ดีกว่าและควรดำเนินการผลิตเข้าสู่ระบบ GMP ซึ่งปลาป่นที่ผลิตได้เป็นที่ยอมรับของตลาด ทั้งภายในและต่างประเทศ ขายได้ราคาสูงกว่าโรงงานผลิตภัณฑ์ปลาป่นทั่วไป นอกจากนี้ ในพื้นที่ที่รับผิดชอบของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขตอื่นที่มีการประกอบธุรกิจด้านนี้ รวมไปถึงการส่งออกปลาป่นและผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ควรดำเนินการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวเพื่อได้ทราบถึงปัญหา ข้อคิดเห็นต่างๆ มากำหนดมาตรการ แนวทางแก้ไขได้ครบทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรมในระดับประเทศต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เศรษฐกิจการผลิตการตลาดผลิตภัณฑ์ปลาป่นภาคใต้ตอนบน ปี 2550
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
30 กันยายน 2551
การศึกษาเศรษฐกิจการผลิตการตลาดปลาป่นระบบประกันคุณภาพ การศึกษาเศรษฐกิจการผลิตการตลาดปลาสวยงาม เศรษฐกิจการผลิตการตลาดปลากระพงขาวในกระชัง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตำรับยาสมุนไพรไทยต้านมะเร็งจากฐานข้อมูลคัมภีร์ตำรายาสมุนไพรไทย ปีที่ 3 เศรษฐกิจการผลิตและการตลาดหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 การผลิตและการตลาดแพะเนื้อในพื้นที่ภาคตะวันตก เศรษฐกิจการผลิตการตลาดกุ้งก้ามกราม ศักยภาพการผลิตการตลาดกระบือนม การศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดปลานิล ในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ การศึกษาการผลิต การตลาด ชาอินทรีย์และชาทั่วไป

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก