สืบค้นงานวิจัย
การเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ป่าเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมอย่างยั่งยืน
วิมล พรหมทา - มหาวิทยาลัยนครพนม
ชื่อเรื่อง: การเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ป่าเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมอย่างยั่งยืน
ชื่อเรื่อง (EN): Cultured of Wild Orchids for Gene Conservation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิมล พรหมทา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ป่าเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมอย่างยั่งยืนมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์กลัวยไม้ป่า 2 อนุรักษ์พันธุกรรมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน แล:3) ส่งเสริมและ สนับสนุนให้ชุมชนเห็นคุณค่ของการอนุรักษ์พันธุกรรมกล้วยไม้ป่ในท้องถิ่น โดยทำการสำรวจชนิด กล้วยไม้ป่าในพื้นที่ศึกษา 2 จุด คือ ป้ผลัดใบในบริเวณวัดเนินบ่อทอง และป่าเต็งรังและป่าผลัดใบใน บริเวณศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเกษตร มหาวิทยาลัยนครพนม หมู่ 16 ตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ผลการสำรวจพบว่ามีกลัวยไม้ป่าจำนวน 8 ชนิด ได้แก่ เอื้องกุหลาบแดง(Aerides crassiffolia Par. & Burb.), เอื้องเข็มแดง(Ascocentrum curifolium(LindL)Schttr.), สิงโตสมอหิน (Bulbophyllum blepharistes Rchb. f), เอื้องหมาก(Coelogyne trinervis Lindl) กาเรการ่อน (Cymbidium alojfolium L.) เอื้องเงิน(Dendrobium draconis Rchb. f), เอื้องช้างน้าว (Dendrobium pulchellum Rchb. f.) และเอื้องเขาแกะ(Rhynchostylis coelestis Rchb. f) อิง อาศัยอยู่กับไม้ยืนต้นหลายชนิดได้แก่ เต็ง(Shorea obtusa), รัง(Shorea siamensis Mig.), จิก (Millingtonia racemosa), ประดู่(Pterocapus indicus Willd.), กระบาก(Anisoptera costatoa Kath), มะพอก(Parinari anamensis Hance.) และยางนา(Dipterocapus alatus Roxb.) ทำการคัดเลือกกล้วยไม้ป่า จำนวน 3 ชนิดได้แก่ เอื้องเข็มแดง(Ascocentrum curvifolium(LindL)Schltr.), เอื้องข้างน้าว(Dendrobium pulchellum Rchb. f.) และเอื้องเขาแกะ (Rhynchostylis coelestis Rchb.f.) มาทำการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดใสภาพปลอดเชื้อสามารถ เพิ่มจำนวนต้นได้ชนิดละ 600 ต้น รวม 1,800 ต้น และอนุบาลปลูกเลี้ยงให้เจริญเติบโตแข็งแรงก่อนนำ ปลูกคืนสู่ธรรมชาติ โดยมีชุมชนมีส่วนร่วมต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Cultured of wild Orchids for gene conservation. The study was aimed to 1) cultured and propagation of wild orchid 2) gene conservation sustainable and 3) encourage the communities to awareness about wild orchid in their local. Field survey and specimen collection were made at 2 sites at the deciduos forest of Wat Nern Bothong moo 16 Tambol Ramrat Amphoe Tha-Uthen Nakhon Phanom Province and at the deciduous forest of Research and Agricuture Centre Nakhonphanom University. The result showed a total of 7 species of host trees i.e. Shorea obtusa, Shorea siamensis Miq,, Millingtonia racemosa), Pterocapus indicus Willd.,Anisoptera costata Kath, Parinari anamensis Hance. And Dipterocapus alatus Roxb. for 8 species of orchids i.e. Ascocentrum curvifolium(Lindl.)Schltr., Bulbophyllum blepharistes Rchb. f., Coelogyne trinervis Lindl., Cymbidium aloifolium L., Dendrobium draconis Rchb. f., Dendrobium pulchellum Rchb. f. and Rhynchostylis coelestis Rchb. f. Selected 3 beautiful species of orchid to propagation by in vitro seed germination, in vitro cultuered and seedling maintained amount of 600 seedling per specie in the nursery before bring the seedling to the nature by communities collaboration. Key words: wild orchid, gene conservation.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนครพนม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ป่าเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมอย่างยั่งยืน
วิมล พรหมทา
มหาวิทยาลัยนครพนม
30 กันยายน 2557
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ป่าเพื่อการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ป่าของประเทศไทยที่ใกล้จะสูญพันธ์ เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรม การสำรวจและอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่าในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ การใช้พลูเพื่อยับยั้งเชื้อแบคทีเรียสาเหตุของการปนเปื้อนในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ กล้วยไม้ป่า การใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน การพัฒนาการเพาะเลี้ยงม้าน้ำเพื่อการอนุรักษ์ พันธุกรรมของกล้วยไม้ป่าในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยขอนแก่น การสำรวจกล้วยไม้ป่าในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี ฤทธิ์ทางชีวภาพ เครื่องหมายโมเลกุล และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของเปราะ เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่าในอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก