สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาข้าวพันธุ์บางแตนให้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล
รื่นฤดี แก้วชื่นชัย - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาข้าวพันธุ์บางแตนให้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Bahng Taen rice variety with brown planthopper resistance through marker-assisted selection
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รื่นฤดี แก้วชื่นชัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Reunreudee Kaewcheenchai
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ข้าวพันธุ์บางแตน เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุสั้น ผลผลิตสูง ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคตะวันออก แต่ในปัจจุบันความต้านทานลดลงเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงพัฒนาพันธุ์บางแตนด้วยวิธีผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลชนิด SSR ช่วยในการคัดเลือก เพื่อให้ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงลักษณะของพันธุ์บางแตนอยู่ โดยมีพันธุ์ PTB33 และ Rathu Heenati เป็นพันธุ์ให้ใช้เครื่องหมาย RM 190 ในคู่ผสมพันธุ์บางแตนกับ PTB33 และ RM 170 ในคู่ผสมพันธุ์บางแตนกับ Rathu Heenati สำหรับติดตามและตรวจสอบการถ่ายทอดยีนต้านทาน Bph3 ในแต่ละชั่วควบคู่กับคัดเลือกลักษณะทรงต้น โดยสามารถพัฒนาประชากรข้าว BC4F1 ที่มีจีโนไทป์ heterozygous ของคู่ผสมพันธุ์บางแตนกับ PTB33 ได้ จำนวน 26 ต้น และคู่ผสมพันธุ์บางแตนกับ Rathu Heenati จำนวน 30 ต้น และปล่อยให้ผสมตัวเองได้ประชากร BC4F2 ที่มีจีโนไทป์ homozygous จำนวน 38 และ 25 ต้น ตามลำดับ สำหรับนำไปทดสอบปฏิกิริยาต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Bahng Taen is a non-glutinous, non-photoperiod sensitive, short duration and high yielding rice variety. This variety showed resistance against brown planthopper (BPH) in the Eastern region, but the resistance has decreased drastically. Therefore, marker-assisted backcrossing was applied to improve BPH resistance by introgression of a Bph3 resistant gene from PTB33 and Rathu Heenati into Bahng Taen. Two SSR markers, RM 170 for Bahng Taen with PTB33 crossing and RM 190 for Bahng Taen with Rathu Heenati crossing, were used in combination with plant type selection to obtain the target plants with Bph3 gene. Twenty six and thirty heterozygous BC4F1 plants were developed from the cross of Bahng Taen with PTB33 and Bahng Taen with Rathu Heenati, respectively. Thirty eight and twenty five homozygous BC4F2 plants carrying Bph3 gene are further screened for BPH reaction.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/328718
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาข้าวพันธุ์บางแตนให้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล
กรมการข้าว
2556
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
มุมมองเรื่องชีวชนิดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม อาร์โทรปอตในระบบนิเวศน์นาข้าวพันธุ์อ่อนแอและพันธุ์ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล อิทธิพลของขนาดเพลี้ยอ่อนถั่ว (Aphis cracciuora) ที่มีผลต่อขนาด ระยะเวลาการพัฒนา อัตราส่วนทางเพศของตัวเบียน และจำนวนตัวเบียน (Aphidius colemani) ที่เกิดจากเพลี้ยอ่อน แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ความสัมพันธ์ของพันธุ์ข้าวส่งเสริมบางพันธุ์ต่อปริมาณประชากรของ การพัฒนาความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในพันธุ์ข้าวชัยนาท 1 โดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย สาเหตุของความต้านทานในข้าวพันธุ์ต่าง ๆ ต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparuata lugens (Stal) การพัฒนาข้าวพันธุ์บางแตนให้ต้านทานโรคไหม้แบบผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก