สืบค้นงานวิจัย
ผลของระดับความหนาแน่นต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาหมอด้วยชุดถังเลี้ยงปลาระบบน้ำหมุนเวียน
วรพงษ์ นลินานนท์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของระดับความหนาแน่นต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาหมอด้วยชุดถังเลี้ยงปลาระบบน้ำหมุนเวียน
ชื่อเรื่อง (EN): The Effect of Density on Climbing Perch (Anabas testudineus) Growth Performance and Water Quality in the Recirculation Aquaculture Tanks (RAT)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วรพงษ์ นลินานนท์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Warrapong Nalinanon
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สายชล เลิศสุวรรณ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Saichon Lerdsuwan
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาระดับความหนาแน่นต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและค่คุณภาพน้ำของปลาหมอที่เลี้ยงใน ชุดถังเลี้ยงปลาระบบน้ำหมุนเวียน วางแผนการทดลองแบบสุมตลอด (CRD) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 ชุดการทด ลองๆละ 4 ซ้ำ รวม 20 หน่วยทดลอง โดยจัดชุดการทดลองตามระดับความแน่นของปลาในถังทดลอง 5 ระดับคือ 10 15 20 25 และ30 ตัว/ถัง ปลาหมอทดลองมีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 5.98-6.07 กรัม ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของปลาหมอที่เลี้ยงในระดับความหนาแน่นที่ 10, 15 และ 20 ตัว/ ถังมีค่าน้ำหนักสุดท้าย ความยาวสุดท้าย น้ำหนักเพิ่ม ความยาวเพิ่ม น้ำหนักเพิ่มต่อตัว และอัตราการเจริญเติบโต จำเพาะไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p >0.05) แต่มีค่ที่สูงกว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับปลาหมอที่ เลี้ยงในระดับความหนาแน่นที่ 25 และ 30 ตัว/ถัง ส่วนค่าคุณภาพน้ำในถังเลี้ยงปลาทุกพารามิเตอร์ ที่ทุกระดับความ หนาแน่นมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05)ดังนั้นจึงสรุปว่าระดับความหนาแน่นที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงปลา หมอในชุดถังเลี้ยงปลาระบบน้ำหมุนเวียนคือ 20 ตัว/ถัง
บทคัดย่อ (EN): Study on effect of density levels in the recirculation aquaculture tanks for Climbing perch (Anabas testudineus) culture was conducted in CRD 5 treatments with 4 replications each and 20 experimental units. Treatments at 5 densities: 10, 15, 20, 25 and 30 fish/tank. Fish with initial weight 5.98-6.07 g. Fish growth performance and water quality were monitored for a 16-week period. Results shown that the fish densities at 10, 15 and 20 were significantly better (P < 0.05) in final weight, final length, weight gain, length gain, ADG and SGR than the fish densities at 25 and 30 fish/tank.Moreover, water quality in all parameters of all fish densities were not significantly (P > 0.05) different.This study conclude that a density 20 fish/tank has suitable for culture Climbing perch in RAT.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=93_Fis07.pdf&id=3565&keeptrack=5
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของระดับความหนาแน่นต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาหมอด้วยชุดถังเลี้ยงปลาระบบน้ำหมุนเวียน
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2562
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การอนุบาลปลาม้าในบ่อซีเมนต์ระบบน้ำหมุนเวียนด้วยความหนาแน่นต่างกัน การเลี้ยงปลาแดงเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ที่ความหนาแน่นต่างกัน การอนุบาลลูกปลาหนวดพราหมณ์ (หนวด 7 เส้น) ด้วยความหนาแน่นแตกต่างกันในระบบน้ำหมุนเวียน การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในกระชังร่วมกับปลาหมอเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และความปลอดภัยด้านอาหาร การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในกระชังร่วมกับปลาหมอเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และความปลอดภัยด้านอาหาร ผลของเกลือ (NaCl) ในสูตรอาหารต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพซากของปลาหมอ (Anabas testudineus Bloch, 1792) ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการพัฒนาการเลี้ยงปลาหมอเชิงพาณิชย์ การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดินที่ความหนาแน่นต่างกัน ศึกษาปริมาณแคลเซียม แมกนีเซียม และฟอสฟอรัสในการเลี้ยงกุ้งขาวแวนาไมที่ระดับความหนาแน่นแตกต่างกัน ที่เลี้ยงในบ่อ PE (Polyethylene) โดยผ่านระบบควบคุมโรค การเพิ่มศักยภาพการเลี้ยงปลาหมอไทยด้วยการเสริมกวาวเครือขาวในสูตรอาหารเพื่อผลิตอาหารปลอดภัยสำหรับการบริโภค

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก