สืบค้นงานวิจัย
พฤติกรรมการใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
สามารถ มณีมงคล, สามารถ มณีมงคล - มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Behavior of students using the computer lab in Faculty of Agricultural Technology Chiang Mai Rajabhat University
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: หัวข้อวิจัย พฤติกรรมการใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาและบุคลากร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ชื่อผู้วิจัย สามารถ มณีมงคล ทุนอุดหนุนการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระยะเวลาการทำวิจัย 2558 บทคัดย่อ โครงการ วิจัยพฤติกรรมการใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาและบุคลากร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาและบุคลากร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และเพื่อนำผลจากการวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการให้บริการของห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาและบุคลากร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยแบ่งเป็นนักศึกษา 271 คน บุคลากร 36 คน ใช้วิธีการเลือกประชากรแบบสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS มาใช้ในการประมวลผลและใช้สถิติพื้นฐานในการบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า พบว่านักศึกษาและบุคลกร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 188 คน อายุระหว่าง 21-25 ปี จำนวน 166 คนหลักสูตรที่ศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ จำนวน 115 คน นักศึกษาส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 จำนวน 73 คน พฤติกรรมการใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การสืบค้นข้อมูล เพื่อการเรียนการสอน การสนทนาออนไลน์ และการจัดทำรายงาน เข้ามาใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คือ วันอังคาร ช่วงเวลาที่มาใช้บริการบ่อยที่สุด ช่วงบ่าย เวลา 13.01-16.00 น. จำนวนชั่วโมงที่มาใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ต่อครั้ง มากกว่า 1 ชั่วโมง ได้รับการแนะนำหรือช่วยเหลือในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์จากเจ้าหน้าที่ ใช้โปรแกรม Microsoft Office เช่น Word, Excel, PowerPoint เว็บไซต์ที่ใช้งานมากที่สุดคือ www.google.com อุปกรณ์ต่อพ่วงหรืออุปกรณ์เสริมที่ต้องการมากที่สุดคือ ชุดหูฟัง ความเร็วในการใช้อินเตอร์เน็ตในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เห็นว่าดี ความเพียงพอของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการใช้งาน เห็นว่ามาก ปัญหาในการใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่ คือ อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ที่ไม่เพียงพอ เช่น หูฟัง ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ ดี
บทคัดย่อ (EN): Research Title A Study of Behavior in Using Computer Laboratory of Undergraduate Students and Officers. of Faculty of Agricultural Technology, Chiangmai Rajabhat University Research Samart Maneemongkol Research Fund National Research Council of Thailand (NRCT) Year 2015 The research of A Study of Behavior in Using Computer Laboratory of Undergraduate Students and Personnel of Faculty of Agricultural Technology at Chiangmai Rajabhat University was belonged to Chiangmai Rajabhat University. The purposes of the descriptive research were to study the behavior in using computer laboratory of undergraduate students and personnel of Faculty of Agricultural Technology of Chiangmai Rajabhat University and get the research result for making the advantage of it to improve the service of Computer laboratory of Faculty of Agricultural Technology of Chiangmai Rajabhat University. So the populace and the sample in this research were undergraduate students and personnel of Faculty of Agricultural Technology of Chiangmai Rajabhat University which divided into 271 undergraduate students and 36 personnel by chosen randomly. The instrument used for data collection was a questionnaire. SPSS Statistics program and descriptive statistics were used in data analysis and the findings reveal that For undergraduate students part the major purpose of using computer laboratory is for query and come to use computer laboratory on Tuesday. Period of computer laboratory usage is from 13.00 until 16.00. Usage timespan is more than an hour using Microsoft office program and website www.google.com. The required input device or computer accessory was a headset. The opinions in speed of the internet were good. The opinions in the sufficiency of computer were plentiful. The problem of using computer laboratory is the lack of audio-visual equipment and the suggestion is to improve about the equipment such as the headset should be sufficed for user. For personnel part the major purpose of using computer laboratory is for query and come to use computer laboratory on Friday. Period of computer laboratory usage is from 12.00 until 13.00. Usage timespan is more than an hour using Microsoft office program and website www.google.com. The required input device or computer accessory was a printer. The opinions in speed of the internet were good. The opinions in the sufficiency of computer were moderate. The problem of using computer laboratory is the lack of audio-visual equipment. The opinions in satisfaction of using computer laboratory were excellent. The suggestion is to improve about the equipment such as the headset should be sufficed for user.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
พฤติกรรมการใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
30 กันยายน 2558
ปัจจัยทางการตลาดและพฤติกรรมที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถไถเดินตามของเกษตรกรในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี / ชูเกียรติ จิตรภาษ์นันท์ การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนของคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ การตื่นตัวของต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ การศึกษาสภาพการผลิต ปัญหาและพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผักคะน้าของเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา การวิเคราะห์จำแนกประเภทปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการเรียนนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง การวิเคราะห์เชิงประจักษ์เกี่ยวกับพฤติกรรมและการประเมินผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมลำไยอบแห้งในจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ โดยใช้บาลานซ์ สคอร์การ์ด ความสัมพันธ์ระหว่างนิสัยทัศนคติในการเรียน และพฤติกรรมการสอนกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ศึกษาพฤติกรรมการสร้างค่านิยมด้านความซื่อสัตย์ ด้านใฝ่หาความรู้ ด้านความมีระเบียบวินัย สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาตามหลักสูตรกำหนดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โครงการศึกษาพฤติกรรมฝนในประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก