สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยของการเกิดโรคปลาที่เลี้ยงในกระชังในแม่น้ำมูลเขต จ.อุบลราชธานี
จักรพงศ์ นีละมนต์ - มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยของการเกิดโรคปลาที่เลี้ยงในกระชังในแม่น้ำมูลเขต จ.อุบลราชธานี
ชื่อเรื่อง (EN): Factors affecting the Occurrence of Fish Disease of the Cage Culture in the Mun River Ubon Ratchathani
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จักรพงศ์ นีละมนต์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: กาญจนา พยุหะ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาจำนวนปรสิตในปลาที่เลี้ยงในกระชังแม่น้ำมูล จ.อุบลราชธานี จากจำนวนตัวอย่างปลาทั้งหมด 1,020 ตัวอย่าง พบปลาติดเชื้อปรสิตคิดเป็นร้อยละ 48.8 ของตัวอย่างทั้งหมด พบปรสิตภายนอก 3 Phylum จำนวนสกุลทั้งสิ้น 10 สกุล (genus) ได้แก่ Phylum Protozoa ชนิดปรสิตที่พบคือ Trichodina (เห็บระฆัง), Oodinium, Epistylis, Glossatella และ Ichthyophthirius, Phylum Platyhelminthes ชนิดปรสิตที่พบคือ ปลิงใส Gyrodactylus และDactylogyrus และ Phylum Arthropoda ชนิดปรสิตที่พบคือ Alitropus (หมัดปลา), Argulus (เห็บปลา) และ Lernaea (หนอนสมอ) และตรวจพบปรสิตภายใน 3 Phylum ได้แก่ Phylum Acanthocephala Phylum Platyhelminthes และ Phylum Protozoa พบเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคในปลาจำนวน 1 สกุล คือ Saprolegnia จากการศึกษาในครั้งนี้พบปลาที่เลี้ยงในกระชังแม่น้ำมูลติดเชื้อแบคทีเรีย 4 ชนิด ได้แก่ Flavobacterium columnare , Aeromonas hydrophila, Streptococcus agalactiae และ Plesiomonas shigelloides.
บทคัดย่อ (EN): A total of 1,020 samples fishes were collected from of the cage culture in the Mun River. Ubon Ratchathani province for parasitic investigation. The result showed that 48.8 % of fish were found external parasites. Ten genera of 3 Phyla were identified from fish . The external parasites of phylum Protozogy consisted Trichodina, Oodinium, Epistylis, Glossatella and Ichthyophthirius ; Phylum Platyhelminthes consisted Dactylogyrus spp. and Gyrodactylus spp and Phylum Athropoda consisted Alitropus , Argulus and Lernaea.Three phylum of internal parasites were identified from fish; Phylum Acanthocephala, Phylum Platyhelminthes and Phylum Protozogy. One genus of fungi ; Sprolegnia. In this study, 334 samples of fish (total number of 1,020 fish) infected with 4 species bacteria; Flavobacterium columnare , Aeromonas hydrophila, Streptococcus agalactiae and Plesiomonas shigelloide.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยของการเกิดโรคปลาที่เลี้ยงในกระชังในแม่น้ำมูลเขต จ.อุบลราชธานี
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
30 กันยายน 2551
ปัจจัยของการเกิดโรคปลาที่เลี้ยงในกระชังในแม่น้ำมูลเขต จ.อุบลราชธานี ชีววิทยาบางประการของปลาดุกมูลในแม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี การเลี้ยงปลานิลในกระชังด้วยระบบ LVHD (การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นสูง) ปัญหาผลกระทบการเลี้ยงปลาในกระชังในเขตชลประทานลุ่มน้ำชี กรณีศึกษา "การเลี้ยงปลาในกระชัง จังหวัดมหาสารคาม" การเลี้ยงปลาโมงในกระชังเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ุ การวิจัยและพัฒนาวิธีป้องกันรักษาโรคปลานิลที่เลี้ยงในกระชังในแม่น้ำชี ผลกระทบของการเลี้ยงปลานิลในกระชังต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ ดินตะกอน และอุบัติการณ์ของโรคปลานิลในแม่น้ำมูลเขตจังหวัดอุบลราชธานี การเลี้ยงปลาโมงในกระชังด้วยอัตราปล่อยต่างกัน เปรียบเทียบการเลี้ยงปลาชะโอนในกระชังแบบแยกเพศ การเลี้ยงปลาชะโอนในกระชังที่ความหนาแน่นแตกต่างกัน 2 ช่วงอายุ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก