สืบค้นงานวิจัย
ผลของการแช่เมล็ดก่อนเพาะต่อสรีรวิทยาบางประการของข้าวในสภาพเครียดเกลือ
จีรนันท์ นาสะอ้าน - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของการแช่เมล็ดก่อนเพาะต่อสรีรวิทยาบางประการของข้าวในสภาพเครียดเกลือ
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of seed priming on physiological responses of rice under salt stress
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จีรนันท์ นาสะอ้าน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Jiranan Nasaarnt
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ความเค็มของดินเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบทำให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวลดลง ในการวิจัยนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สารเคมีบางซนิดในการแช่เมล็ดข้าวก่อนเพาะต่อความสามารถในการทนเค็ม และ สรีรวิทยาบางประการของต้นอ่อนข้าวในสภาวะเครียดเกลือ พันธุ์ที่ใช้ในการทดลองคือพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 สารที่แช่ เมล็ดได้แก่ สเปอร์มีดีน (0.1, 0.25, 0.5 และ 1 มิลลิโมลาร์) แมนนิทอล (0.5, 1, 2 แล:3 เปอร์เซ็นต์) และน้ำส้มควันไม้ (0.05, 0.1, 0.3 และ 0.6 เปอร์เซ็นต์) ปลูกข้าวในอาหารเหลว (Yoshida Solution ) เป็นเวลา 21 วัน แบ่งต้นอ่อนเป็นสอง กลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับอาหารเหลวปกติ และกลุ่มที่ได้รับอาหารเหลวร่วมกับเกลือโซเดียมคลอไรด์ 150 มิลลิโมลาร์ เป็นเวลา 7 วัน ผลการศึกษาพบว่า ความเครียดเกลือทำให้การเจริญของต้นอ่อนลดลง ใบมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง อัตรา การคายน้ำ และค่การชักนำปากใบลดลง ในกลุ่มที่ได้รับความเครียดจากเกลือ ค่าเฉลี่ยของลักษณะต่างๆ ของต้นข้าวที่ เจริญมาจากเมล็ดที่แช่ด้วยสารต่างๆ ไม่แตกต่างทางสถิติเมื่อเทียบกับต้นที่เจริญมาจากเมล็ดที่ไม่ได้แช่ด้วยสารและแช่ ด้วยน้ำกลั่น อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาเปอร์เซต์การเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาที่ลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ ไม่ได้รับเกลือ พบว่า การแช่เมล็ดด้วยแมนนิทอล 0.5 และ 2% ช่วยให้ต้นอ่อนข้าวมีการเจริญเติบโต ได้ดีกว่าสารชนิดอื่น ในสภาวะความเครียดเกลือ แมนนิทอล 1% มีแนวโน้มช่วยบรรเทาผลเสียของเกลือต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง อัตรา การคายน้ำ และค่าการซักนำปากใบ สารแช่เมล็ดที่มีประสิทธิภาพดีสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสภาพเรือนทดลองต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Soil salinity is an important abiotic stress factor which reduces growth and productivity of rice. The objective of this research is to investigate the effects of seed priming on an improvement of salt tolerance and physiological responses of rice (cv. KDML105) seedlings under salt stress. Chemicals used for seed priming were spermidine (0.1, 0.25, 0.5 and 1 mM), mannitol (0.5, 1, 2 and 3%) and wood vinegar (0.05, 0.1, 0.3 and 0.6%). After priming treatments seed were germinated and the seedlings were transferred to hydroponic growth medium (Yoshida solution) and were allowed to grow for 21 days. The seedlings obtained from each priming treatment were then divided into two groups, the control (normal growing medium) and the salt-stress (seedlings were transferred to growth medium containing 150 mM NaCl for 7 days). Salt stress resulted in the reduction in growth, net photosynthesis rate, transpiration rate and stomatal conductance. In the salt-stressed groups, means of growth and physiological parameters of seedlings derived from seeds primed with all agents did not significantly differ from those grown from non-primed seeds or from seeds primed with water. However, when percent reduction in growth and physiological parameters compared with the non-stressed plants were considered, mannitol (0.5 and 2%) resulted in seedlings showing the least growth reduction under salt stress. Mannitol (1 %) led to the least reduction in net photosynthesis rate, transpiration rate and stomatal conductance. The most effective chemicals will be used in future experiments under greenhouse conditions.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P068 Agr15.pdf&id=2779&keeptrack=7
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการแช่เมล็ดก่อนเพาะต่อสรีรวิทยาบางประการของข้าวในสภาพเครียดเกลือ
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของโรคเมล็ดด่างที่มีต่อความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำและข้าวทนน้ำลึก ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวลูกผสมระหว่างข้าวปลูก x ข้าวป่าและข้าวปลูก x ข้าววัชพืช ผลของไคโตซานต่อลักษณะทางการเกษตร การตอบสนองทางสรีรวิทยาและผลผลิตของข้าวภายใต้สภาพขาดน้ำ ความผันแปรของขนาดและน้ำหนักเมล็ดข้าวพันธุ์ขาหนี่ภายใต้สภาพพื้นที่ปลูกที่แตกต่างกันและความสัมพันธ์ของน้ำหนักเมล็ดต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้า ผลของอุณหภูมิสูงในระยะเจริญพันธุ์ที่มีต่อการติดเมล็ดและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของข้าวกล้องหอมมะลิแดงระหว่างการพัฒนา ของเมล็ดข้าวสามระยะ การประเมินพันธุกรรมข้าวป่าและข้าวปลูกในประชากรข้าววัชพืช ผลของการอบดินโดยใช้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ต่อการควบคุมข้าววัชพืชในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว การผสมเมล็ดพันธุ์เพื่อการจัดการโรคไหม้ในข้าวไร่ ผลของฟางข้าวต่อสภาพรีดักชั่นในดินนา และปริมาณการปล่อยก๊าซมีเทน (การทดลองในกระถางปลูกข้าว)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก