สืบค้นงานวิจัย
การผลิตหอมแดงปลอดเชื้อไวรัสด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ณัฐธิกา วรรณรัตน์, เกวลิน คุณาศักดากุล - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การผลิตหอมแดงปลอดเชื้อไวรัสด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ชื่อเรื่อง (EN): Production of Virus-free Shallot Using Tissue Culture Techniques
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Natthika Wannarat
คำสำคัญ: โพทีไวรัส(Potyvirus) หอมแดง(shallot (Allium ascalonicum L.)) เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ(tissue culture technique) พืชปลอดไวรัส(virus-free plantlets)
บทคัดย่อ: จากการนำตัวอย่างหัวพันธุ์หอมแดงพันธุ์บ้านโฮ่ง จากพื้นที่เพาะปลูก อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน มาปลูกในดินที่ผ่านการฆ่าเชื้อ เพื่อสังเกตอาการโรคใบด่างในสภาพโรงเรือน เป็นเวลา 20 วัน ซึ่งจากการประเมินความรุนแรงของโรค 5 ระดับ (0 - 4) พบว่าต้นหอมแดงทั้งหมดแสดงอาการใบด่างเป็นขีดสีเหลืองสลับสีเขียวตามแนวยาวของใบ โดยระดับความรุนแรงที่พบมากที่สุดคือระดับ 2 คิดเป็นร้อยละ 37 รองลงมาคือ ระดับ 1, 3 และ 4 คิดเป็นร้อยละ 28.5, 18 และ 16.5 ตามลำดับ เมื่อนำหอมแดงที่แสดงอาการใบด่างมาทดสอบการถ่ายทอดโรคด้วยวิธีกล พบว่าทำให้เกิดอาการแบบ local lesions ในพืชทดสอบ ได้แก่ Chenopodium amaranticolor, C. quinoa, Celosia argentea และ Cassia occidentalis หลังจากปลูกเชื้อเป็นเวลา 14-20 วัน จากนั้นตรวจสอบชนิดของเชื้อไวรัสในพืชที่แสดงอาการด้วยเทคนิคทางเซรุ่มวิทยา จากการใช้ชุดตรวจไวรัสสำเร็จรูป POCy KIT สำหรับตรวจหาเชื้อ Potyvirus, Odontoglossum ringspot virus (ORSV) และ Cymbidium mosaic virus (CyMV) พบว่าตัวอย่างทั้งหมด ให้ผลบวกกับ Potyvirus และ CyMV จากนั้นยืนยันผลอีกครั้งด้วย เทคนิค ELISA โดยใช้แอนติซีรั่มของเชื้อไวรัสในสกุล Potyvirus จากบริษัท Agdia Elkhart, Indiana, USA พบว่า ให้ผลเช่นเดียวกัน และจากการตรวจสอบลักษณะอนุภาคของเชื้อไวรัสด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (TEM) พบอนุภาคไวรัสลักษณะเส้นยาวคด ขนาดความกว้าง 10 นาโนเมตร ความยาว 600 - 760 นาโนเมตร ซึ่งเป็นขนาดอนุภาคโดยรวมของเชื้อไวรัสในสกุล Potyvirus เมื่อนำหัวพันธุ์หอมแดงดังกล่าวมาทำให้ปลอดไวรัส ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเจริญปลายยอด และตรวจสอบการปลอดโรคด้วยเทคนิค ELISA ด้วยแอนติซีรั่มของ Potyvirus พบว่าการตัด เนื้อเยื่อเจริญปลายยอดขนาด 0.5 มิลลิเมตร มีการปลอดเชื้อไวรัสร้อยละ 88 และมีชีวิตรอดหลังการเพาะเลี้ยงร้อยละ 78.62 ขณะที่การตัดเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดขนาด 0.3 มิลลิเมตร มีการปลอดเชื้อไวรัสร้อยละ 100 และมีชีวิตรอดหลังการเพาะเลี้ยงร้อยละ 16.78 นอกจากนี้ จากการทดลองชักนำให้เกิดการแตกกอของต้นหอมแดงปลอดเชื้อไวรัสในสภาพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พบว่า อาหารสังเคราะห์ MS ที่เติม 2ip ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถกระตุ้นการแตกกอของหอมแดงได้ดีที่สุด โดยมีอัตราการแตกกอเฉลี่ยเท่ากับ 4.2 ยอดต่อต้น รองลงมาคืออาหารสังเคราะห์ที่เติม 2ip ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีอัตราการแตกกอเท่ากับ 2.3 ยอดต่อต้น ส่วนอาหารสังเคราะห์ที่เติม 2ip ร่วมกับ NAA ทุกความเข้มข้น พบการแตกกอไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับชุดควบคุม
บทคัดย่อ (EN): Shallot cv. Ban-Hong, bulb seeds were collected from planting area of Ban Hong district, Lamphun province. The samples were planted in sterile soil for 20 days under greenhouse condition before viral symptoms on the leaves were evaluated. Five levels of disease severities were recorded in number 0 - 4 (no symptom - severe symptoms). Results of the yellow stripe symptoms were detected on the leaves of all the samples, no healthy normal sample was observed. Disease severities, level 2 was the most detected at 37 % followed by the level 1, 3 and 4 at 28.5, 18 and 16.5%, respectively. The virus types were diagnosed with various techniques. The mechanical transmission using infectious leaf sap was first detected and the results revealed local lesions on leaves of indexing hosts, Chenopodium amaranticolor, C. quinoa, Celosia argentea and Cassia occidentalis after 14 - 20 days of inoculation. Secondly, the commercial POCy KIT was used for serological diagnosis of Potyvirus, Odontoglossum ringspot virus (ORSV) and Cymbidium mosaic virus (CyMV). Positive results for Potyvirus and CyMV in all tested samples were observed and then the positive result was confirmed again by ELISA technique with Potyvirus antiserum from Agdia Elkhart, Indiana, USA. In addition, virus particle was examined under transmission electron microscopy (TEM), flexuous particles of about 10 nm in width and 600-760 nm in length of the particular group of Potyvirus were observed. Thus, meristem tip cultured on MS medium was used to produce the virus-free plantlets. By excised the meristem tip from the bulbs and then ELISA technique was used to evaluate the virus-free plantlets. Results showed 88% of the 0.5 mm meristem tip excisions gave virus-free plantlets with the survival rate at 78.62%. Even, all of the 0.3 mm meristem tip excisions revealed virus-free plant but only 16.78% of that was survived. In order to mass-produce the virus-free plantlets, multiple shoot inductions were tested using various concentrations of plant growth regulators supplemented in MS medium. Results revealed after cultured for 2 months, the 4.2 shoots per explant were successfully developed on the medium supplemented with 2ip at the concentration of 1 ppm and the 2.3 shoots per explant were induced in 0.5 ppm of the same plant growth regulators. On the other hand, shoot multiplication trials on the media mixed with NAA at all concentration showed non significant number of shoot per explant compared with control treatment.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตหอมแดงปลอดเชื้อไวรัสด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2559
เอกสารแนบ 1
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอสหอมแดง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออโกลนีมา (Aglaonema) โดยใช้เทคนิค Temporary Immersion การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชพื้นเมือง การผลิตต้นกล้าพืชสกุลเร่วโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเพาะเลี้ยงพรรณพืชวงศ์ขิงบางชนิดที่พบที่เขื่อนสิริกิติ์โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเติบโตและเพิ่มปริมาณต้นของกล้วยหอมพันธุ์ Crand Nain โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหวายเพื่อปลูกเป็นพืชร่วมในสวนยาง การปรับปรุงพันธุ์หญ้าแพงโกล่าโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การพัฒนาระบบขยายพันธุ์ว่านชักมดลูก โดยวิธีการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชสมุนไพร การเพาะเลี้ยงกบจาน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก