สืบค้นงานวิจัย
โรคสเตรปโตคอคโคซีสในปลาหมอไทย (Anabas testudineus) และปลาดุกอุย (Clarias macrocephalus)
ชุติมา ตันติกิตติ, บุญกอบ วิริยพงศ์สุธี, นเรศ ซ่วนยุก, ชุติมา ตันติกิตติ, บุญกอบ วิริยพงศ์สุธี, นเรศ ซ่วนยุก - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชื่อเรื่อง: โรคสเตรปโตคอคโคซีสในปลาหมอไทย (Anabas testudineus) และปลาดุกอุย (Clarias macrocephalus)
ชื่อเรื่อง (EN): Streptococcosis in Climbing Perch (Anabas testudineus) and G?nther's Walking Catfish (Clarias macrocephalus)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: บทคัดย่อ แบคทีเรีย Streptococcus agalactiae (Group B Streptococcus; GBS) เป็นแบคทีเรียที่สร้างความเสียหายต่อการเพาะเลี้ยงปลาทั่วโลก การศึกษาครั้งนี้รายงานการติดเชื้อแบคทีเรีย S. agalactiae ในปลาหมอไทย (Anabas testudineus) และปลาดุกอุย (Clarias macrocephalus) ที่เลี้ยงร่วมกันในภาคใต้ของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2554 ถึงปี พ.ศ. 2558 ระหว่างการระบาดของโรคพบอัตราการตาย 10-40 เปอร์เซ็นต์ ในปลาหมอไทยน้้าหนัก 60-150 กรัม และปลาดุกอุยน้้าหนัก 30-90 กรัม โดยปลาที่ติดเชื้อแสดงอาการของโรคสเตรปโตคอคโคซีสหลายแบบ ได้แก่ เซื่องซึม ตาโปน ตาขุ่น น้้าขังในช่องท้อง เลือดออก และว่ายน้้าผิดปกติ การศึกษาครั้งนี้สามารถแยกแบคทีเรียจากปลาป่วยจ้านวน 126 ไอโซเลต และจ้าแนกชนิดได้เป็นแบคทีเรีย S. agalactiae ซีโรไทป์ Ib โดยอาศัยคุณสมบัติทางชีวเคมี ซีรั่มวิทยา และการวิเคราะห์ทางอณูชีวโมเลกุล การตรวจสอบยีนที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง (bca, bac, scpB, lmb และ GBSi1) ของแบคทีเรีย S. agalactiae ที่แยกได้จากปลาหมอไทยและปลาดุกอุย พบเพียงยีน bca ซึ่งแตกต่างจากแบคทีเรีย S. agalactiae ที่แยกได้จากปลานิล (Oreochromis spp.) ป่วย การศึกษารูปแบบของดีเอ็นเอของแบคทีเรีย S. agalactiae โดยการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจ้าเพาะ ไม่พบความแตกต่างระหว่างแบคทีเรีย S. agalactiae ที่แยกได้จากปลาหมอไทย ปลาดุกอุย และปลานิล การศึกษาครั้งนี้พบว่าแบคทีเรีย S. agalactiae ที่แยกได้มีความไวต่อยาปฏิชีวนะคลอแรมเฟนิคอล อิริโทรมัยซิน ลินโคมัยซิน และออกซี่เตตร้าซัยคลิน แต่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะออกโซลินิค แอซิด และซัลฟาเมทอกซาโซล/ไตรเมโทพริม การคัดเลือกแบคทีเรีย S. agalactiae ซีโรไทป์ Ib จ้านวน 20 ไอโซเลต ที่แยกได้จากปลาหมอไทยและปลาดุกอุย โดยวิธีการฉีดแบคทีเรียความเข้มข้น 107 ซีเอฟยูต่อมิลลิลิตร ปริมาตร 0.1 มิลลิลิตร เข้าช่องท้องปลาหมอไทย พบว่าแบคทีเรียทุกไอโซเลตมีความรุนแรงสูง ท้าให้ปลาตาย 80-100 เปอร์เซ็นต์ ภายในระยะเวลา 7 วันหลังการติดเชื้อ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของปลาหมอไทยที่ติดเชื้อแบคทีเรีย S. agalactiae ซีโรไทป์ Ib พบเลือดออกกระจายตามเยื่อหุ้มสมอง เยื่อหุ้มหัวใจ ตา ไต ม้าม และตับ และพบการแทรกตัวของเม็ดเลือดขาวจ้านวนมากในสมอง ม้าม และไต การศึกษาการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย S. agalactiae ซีโรไทป์ Ib สายพันธุ์ PSU-KSAAHRC-298 ในอาหารเลี้ยงเชื้อ Tryptic soy broth ภายใต้สภาวะต่างๆ พบว่าแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ความเค็ม 0.5 เปอร์เซ็นต์ และความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 7 การทดลองติดเชื้อแบคทีเรีย S. agalactiae PSU-KSAAHRC-298 ในปลาหมอไทยโดยวิธีการฉีดแบคทีเรียความเข้มข้นตั้งแต่ 101-104 ซีเอฟยูต่อมิลลิลิตร ปริมาตร 0.1 มิลลิลิตร เข้าช่องท้อง พบว่าแบคทีเรียชนิดนี้มีความรุนแรงสูง สามารถท้าให้ปลาหมอไทยตาย 60-97 เปอร์เซ็นต์ มีค่าความเข้มข้นที่ท้าให้ปลาตายครึ่งหนึ่งที่ระยะเวลา 60 ชั่วโมง และ 72 ชั่วโมง เท่ากับ 4.5x102 ซีเอฟยูต่อมิลลิลิตร และ 6.3x101 ซีเอฟยูต่อมิลลิลิตร ตามล้าดับ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบเลือดของปลาหมอไทยหลังการติดเชื้อแบคทีเรีย S. agalactiae ซีโรไทป์ Ib โดยวิธีการฉีดเข้าช่องท้อง พบปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น ฮีโมโกลบิน ปริมาณโปรตีนในซีรั่ม จ้านวนเม็ดเลือดแดงการลดลงของไนโตรบลู เตตร้าโซเลียม ลดลงอย่างมีนัยส้าคัญ (p<0.05) และจ้านวนเม็ดเลือดขาว กิจกรรมเอนไซม์ไลโซไซม์ ดัชนีการจับกินสิ่งแปลกปลอม และค่าเฉลี่ยเม็ดบีดที่ถูกเม็ดเลือดขาวจับกิน มีค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยส้าคัญ (p<0.05) การศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย S. agalactiae ซีโรไทป์ Ib ในปลาหมอไทย พบว่าปลาหมอไทยที่เลี้ยงในน้้าที่มีอุณหภูมิ 34.07?0.45 องศาเซลเซียส และปริมาณออกซิเจนละลายน้้า 1.73?0.21 มิลลิกรัมต่อลิตร มีอัตราการตายสูงสุด (96.67?5.77 เปอร์เซ็นต์) และปลาหมอไทยที่เลี้ยงในน้้าที่มีอุณหภูมิ 28.97?0.12 องศาเซลเซียส และปริมาณออกซิเจนละลายน้้า 5.52?0.21 มิลลิกรัมต่อลิตร มี 2 อัตราการตายต่้าสุด (56.67?5.77 เปอร์เซ็นต์) การทดสอบการยอมรับเชื้อแบคทีเรีย S. agalactiae ซีโรไทป์ Ib ในปลานิล (Oreochromis niloticus) และปลากะพงขาว (Lates calcarifer) โดยวิธีการฉีดแบคทีเรียความเข้มข้น 107 ซีเอฟยูต่อมิลลิลิตร ปริมาตร 0.1 มิลลิลิตร เข้าช่องท้องปลาหมอไทย พบปลานิลมีอัตราการตาย 40 เปอร์เซ็นต์ ภายในเวลา 14 วัน แต่ไม่พบการตายของปลากะพงขาว การทดลองติดเชื้อแบคทีเรีย S. agalactiae ซีโรไทป์ Ib ในปลาดุกอุยพบการตายเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามการทดลองติดปลิงใส Gyrodactylus sp. ร่วมกับแบคทีเรีย S. agalactiae ซีโรไทป์ Ib ในปลาดุกอุย พบว่าปลาดุกอุยที่ติดปลิงใสร่วมกับแบคทีเรียมีอัตราการตายเฉลี่ยสูงสุด คือ 36.7?12.6 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างอย่างมีนัยส้าคัญ (p<0.05) กับปลาดุกอุยที่ติดแบคทีเรียเพียงอย่างเดียว ที่มีอัตราการตายเฉลี่ย 6.7?5.8 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่พบการตายของปลาดุกอุยที่ติดปลิงใสเพียงอย่างเดียวกับปลาดุกอุยกลุ่มควบคุม ปลาดุกอุยที่ติดปลิงใสร่วมกับแบคทีเรีย S. agalactiae มีอาการว่ายน้้าควงสว่าน มีของเหลวในช่องท้อง ตับซีด ม้ามโต เลือดออกในสมอง มีการขับเมือกมากผิดปกติ ครีบกร่อน และผิวหนังมีสีซีด การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของปลาดุกอุยป่วย พบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เลือดออกในสมอง มีการแทรกตัวของเมลาโนแมคโครฟาจในเนื้อเยื่อตับ ท่อไตเสื่อมสลาย มีเลือดออกกระจายอยู่ในเนื้อเยื่อม้าม การทดลองแยกเชื้อแบคทีเรีย S. agalactiae จากปลิงใสในปลาดุกอุยที่ติดปลิงใสร่วมกับแบคทีเรีย S. agalactiae พบแบคทีเรีย S. agalactiae ในปลิงใส ที่เวลา 36 และ 48 ชั่วโมงหลังการติดเชื้อ การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการติดเชื้อร่วมกันระหว่างปรสิตและแบคทีเรียสร้างปัญหาอย่างมากต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้้า การทดลองติดเชื้อแบคทีเรีย S. agalactiae ซีโรไทป์ Ib ในปลานิล โดยวิธีการฉีดเข้าช่องท้อง พบว่าปลานิลที่ติดเชื้อแบคทีเรียความเข้มข้นประมาณ 105 - 108 ซีเอฟยูต่อมิลลิลิตร มีอัตราการตาย 33.33 – 90.00 เปอร์เซ็นต์ ภายในเวลา 14 วัน ปลาที่ติดเชื้อแสดงอาการเซื่องซึม ว่ายน้้าเสียการทรงตัว ล้าตัวมีสีคล้้า ตาโปนข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ร่วมกับอาการขุ่นขาวของกระจกตา เลือดออกตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย อาการภายในของปลาป่วยพบว่า สมองมีสีชมพู ตับซีด และม้ามโตผิดปกติ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของปลานิลที่ติดเชื้อแบคทีเรีย S. agalactiae ซีโรไทป์ Ib พบเซลล์ตับเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ และมีช่องว่างในเซลล์ ไซโมเจนแกรนูลบริเวณตับอ่อนลดลง เกิดการหดตัวของโกลเมอรูลัส และมีเมลาโนแมคโครฟาจแทรกอยู่ในเนื้อเยื่อไตและม้าม เยื่อหุ้มหัวใจมีเลือดออกและหนาผิดปกติ เยื่อหุ้มสมองอักเสบและมีการแทรกตัวของเม็ดเลือด การศึกษาการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบเลือดของปลานิลที่ติดเชื้อ S. agalactiae ซีโรไทป์ Ib ที่ระยะเวลา 0, 1, 3, 6 และ 9 วัน หลังการติดเชื้อ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของฮีมาโตคริต ฮีโมโกลบิน กิจกรรมเอนไซม์ไลโซไซม์ และการลดลงของไนโตรบลู เตตร้าโซเลียม แต่พบความแตกต่างของปริมาณโปรตีนในซีรั่ม ปริมาณเม็ดเลือดแดง และปริมาณเม็ดเลือดขาว การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าแบคทีเรีย S. agalactiae ซีโรไทป์ Ib สามารถก่อโรคและสร้างความรุนแรงต่อปลานิลได้ รายงานฉบับนี้นับเป็นครั้งแรกของการแยกแบคทีเรีย S. agalactiae ซีโรไทป์ Ib จากปลาหมอไทยและปลาดุกอุยที่เลี้ยงร่วมกันในภาคใต้ของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าแบคทีเรีย S. agalactiae ซีโรไทป์ Ib ส่งผลกระทบต่อการเพาะเลี้ยงปลาในประเทศไทย ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้นับเป็นประโยชน์ต่อการเพาะเลี้ยงปลาในประเทศไทยอย่างยั่งยืน
บทคัดย่อ (EN): Streptococcus agalactiae (Group B Streptococcus; GBS) causes serious damage to fish aquaculture worldwide. The present study reports a S. agalactiae infection in climbing perch (Anabas testudineus) and G?nther’s walking catfish (Clarias macrocephalus) polycultured in southern Thailand between 2011 and 2015. During the disease outbreak, a mortality rate of 10-40 % was observed, affecting climbing perch and G?nther’s walking catfish weighing from 60-150 g and 30-90 g, respectively. Infected fish exhibited a variety of symptoms typical of streptococcosis, including lethargy, exophthalmia, corneal opacity, ascites, haemorrhage and erratic swimming. One hundred and twenty six isolates from infected fish were identified as S. agalactiae serotype Ib by biochemical, serological, as well as molecular analyses. Investigation of virulence-associated genes (bca, bac, scpB, lmb and GBSi1) indicated that S. agalactiae isolates from climbing perch and G?nther’s walking catfish contain only bca which differed from S. agalactiae previously isolated from infected tilapia (Oreochromis spp.). Study on DNA pattern indicated that there was no difference among S. agalactiae isolates from climbing perch, G?nther’s walking catfish and tilapia after cut with restriction enzyme. S. agalactiae isolates from the present study were completely sensitive to chloramphenicol, erythromycin, lincomycin and oxytetracycline but resistant to oxolinic acid and sulfamethoxazole/trimethoprim. Screening of 20 S. agalactiae serotype Ib isolates from infected climbing perch and G?nther walking catfish by intraperitonelly injection with 0.1 ml of bacterial suspension at concentration of 107 CFU/ml indicated that all S. agalactiae serotype Ib isolates were strongly virulent with 80-100 % mortality was observed within 7 days post infection. Histopathological examination revealed diffused hemorrhage in the brain, heart, eye, kidney, spleen and liver tissues as well as infiltration of white blood cell in the brain, the spleen and the kidney of infected fish. Study on growth of S. agalactiae PSU-KSAAHRC-298 in tryptic soy broth under various conditions indicated that optimal growth of S. agalactiae serotype Ib was at temperature 30 ?C, salinity 0.5 % and pH 7. Experimental infection of climbing perch with S. agalactiae PSU-KSAAHRC-298 by intraperitoneally injected with 0.1 ml of bacterial suspension at concentrations of 101-104 CFU/ml revealed that infected fish exhibited 60-97 % mortality with 60 h LD50 and 72 h LD50 of 4.5x102 and 6.3x101 CFU/ml, respectively. Determination of hemato-immunological changes showed the significantly decreasing of hematocrit, hemoglobin, serum protein, red blood cell and reduction of nitroblue tetrazolium (p<0.05) and significantly increasing of white blood cell, lysozyme activity, 4 phagocytic index and average bead per cell ingested (p<0.05) of climbing perch injected with S. agalactiae serotype Ib. Investigation on the effect of environment factors i.e., temperature and dissolved oxygen on the susceptibility of climbing perch to S. agalactiae serotype Ib infection revealed that high water temperature (34.07?0.45 ?C) and low dissolved oxygen level (1.73?0.21 mg.l) proved to increase mortality of climbing perch (96.67?5.77 %) while climbing perch maintained in ambient water temperature (28.97?0.12 ?C) and dissolved oxygen level (5.52?0.21 mg/l) exhibited lowest mortality (56.67?5.77 %). Study on susceptibilitie of S. agalactiae serotype Ib in other fish species by intraperitoneally injection with 0.1 ml of bacterial suspension at concentration of 107 CFU/ml showed that Nile tilapia (Oreochromis niloticus) exhibited 40 % mortality within 14 day while no mortality was observed in Asian seabass (Lates calcarifer). G?nther’s walking catfish experimental infected with S. agalactiae serotype Ib revealed less mortality. However, concurrent experimental infection with Gyrodactylus sp. and S. agalactiae in G?nther’s walking catfish revealed 36.7?12.6 % mortality in comparison with fish infected with S. agalactiae (6.7?5.8 %) and fish infected with Gyrodactylus sp. (0 %) as well as uninfected control fish (0 %). During the experiment, infected fish showed several disease signs including, serpentine movement, ascites, pale liver, splenomegaly, hemorrhagic brain, increased mucus secretion on the skin, tail and fin rot and pale to white skins. Histopathological alterations in fish infected by Gyrodactylus sp. and S. agalactiae showed meningitis, encephalitis, congestion and infiltration of melanomacrophage in the liver, hemorrhagic kidney and diffuse hemorrhage in the spleen. S. agalactiae was isolated from Gyrodactylus sp. collected from infected fish at 36 and 48 h post infection. This study indicated concurrent parasitic and bacterial infections cause serious problem in fish aquaculture. Experimental infection of S. agalactiae serotype Ib in tilapia by intraperitoneally injection of bacterial concentrations of 105-108 CFU/ml indicated that infected tilapia exhibited 33.33-90.00 % mortality within 14 days. Clinical signs of infected fish including lethargy, erratic swimming, darkening of skin pigment, unilateral or bilateral exophthalmia together with eye opacity, haemorrhagic septicemia in several organs. Internally, haemorrhagic brain, pale liver and splenomegaly were observed. Histopathological finding indicated that tilapia infected with S. agalactiae exhibited sloughing and vacuolization of the hepatic cell, reduction of zymogen granule in the pancreas, shrinkage glomerulus, 5 infiltration of melanomacrophage in the kidney and the spleen, haemorrhagic and extended epicardium as well as meningitis and infiltration of white blood cell in the brain. Determination of hemato-immunological changes of tilapia infected with S. agalactiae serotype Ib at 0, 1, 3, 6 and 9 days post infection revealed no significantly different in hematocrit, hemoglobin, lysozyme activity and reduction of nitroblue tetrazolium, but significantly changing of serum protein, red blood cell and white blood cell was observed. The present study indicated that S. agalactiae serotype Ib is a pathogenic bacterium in tilapia. To our knowledge, this is the first isolation of the S. agalactiae serotype Ib from climbing perch and G?nther’s walking catfish polycultured in southern Thailand. The present study indicated that S. agalactiae serotype Ib has a great impact on fish aquaculture in Thailand. These findings are useful information for sustainable aquaculture in Thailand.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โรคสเตรปโตคอคโคซีสในปลาหมอไทย (Anabas testudineus) และปลาดุกอุย (Clarias macrocephalus)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
30 กันยายน 2558
การวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้การเลี้ยงปลาหมอไทยแปลงเพศร่วมกับการเลี้ยงปลาดุกอุย การอนุบาลปลาดุกอุยในกระชัง การพัฒนาระบบน้ำหมุนเวียนสำหรับการเลี้ยงปลาดุกลูกผสม (Clarias macrocephalus X C. gariepinus) การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับปลาดุก เปรียบเทียบปริมาณสารกลิ่นสาบโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย( Clarias macrocephalus X Clarias gariepinus )ที่เลี้ยงในระบบชีววิถีทั้งที่ใช้และไม่ใช้ปลานิล( Oreochromis niloticus )เลี้ยงร่วมเพื่อมาตรฐานอาหารปลอ การพัฒนาเทคนิคที่เหมาะสมในการผลิตลูกปลาหมอไทย (Anabas testudineus) เพศเมียโดยการใช้ฮอร์โมน การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการเลี้ยงปลาหมอร่วมกับปลานิล การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่เหมาะสม เพื่อยกระดับผลผลิตปลาดุก โดยอาศัยข้อมูลจากเครื่องหมายพันธุกรรม การเพาะพันธุ์ปลาหมอ การเลี้ยงปลาหมอในกระชังด้วยความหนาแน่นต่างกัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก