สืบค้นงานวิจัย
การคำนวณและการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมสำหรับมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 เพื่อการประยุกต์ใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช
ปรเมศ บรรเทิง - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การคำนวณและการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมสำหรับมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 เพื่อการประยุกต์ใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช
ชื่อเรื่อง (EN): Calibration and validation of the genetic coefficients for cassava cv. Rayong 9 for crop growth model application
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปรเมศ บรรเทิง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Poramate Banterng
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: การศึกษาเพื่อหาเทคโนโลยีการเพาะปลูกที่เหมาะสม สำหรับการผลิตมันสำปะหลังต้องอาศัยข้อมูลจากหลายงานทดลอง ซึ่งใช้ทรัพยากรสูงและใช้ระยะเวลานาน ดังนั้น การศึกษาแบบจำลองการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการเลือกวันปลูกที่เหมาะสมต่อการปลูกมันสำปะหลัง อย่างไรก็ตาม ยังขาดค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมของมันสำปะหลังซึ่งข้อมูลแสดงลักษณะประจำพันธุ์ที่กำหนดการแสดงออกของพืช แต่ละพันธุ์ จึงจำเป็นต้องทำการคำนวณและทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมเพื่อเป็นข้อมูลตัวป้อนก่อนการประยุกต์ใช้ แบบจำลอง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณและทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมของมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 ดำเนินการปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 ที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2558 (ต้นฤดูฝน) และ 10 พฤศจิกายน 2558 (ปลายฤดูฝน) และปลูกมันสำปะหลังที่บ้านโคกสี ต.บ้านค้อ อ.เมือง จ.ขอนแก่น วันที่ 18 ธันวาคม 2557 (ปลายฤดูฝน) แต่ละวันปลูกมี 4 แปลง บันทึกข้อมูลดินก่อนการปลูก ข้อมูลฟ้าอากาศจากสถานี ตรวจวัดอากาศ ข้อมูลการจัดการ เช่น วันปลูก วันเก็บเกี่ยว เป็นต้น และข้อมูลพืช ได้แก่ น้ำหนักแห้งของแต่ละส่วนของ มันสำปะหลัง ทำการคำนวณและทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมโดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้เป็นข้อมูลตัวป้อนให้ กับแบบจำลอง พบว่าแบบจำลองให้ข้อมูลน้ำหนักแห้งได้ดี แต่ยังจำเป็นต้องทดสอบศักยภาพของแบบจำลองการเจริญ เติบโตของมันสำปะหลังด้วยข้อมูลจากงานทดลองที่มากกว่านี้ เพื่อให้มั่นใจถึงความเป็นไปได้ของการประยุกต์ใช้สำหรับ เป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจทางการเกษตร
บทคัดย่อ (EN): The study about investigation of suitable technology for cassava production involves several experimental data and consumes resources and times. The cassava model is an alternative option to help for supporting decide appropriate planting dates for cassava. However, there is a lack of genetic coefficients of cassava, which characterize the expression of individual plants. Therefore, it is necessary to calibrate and validate the genetic coefficients as input parameter before applying the model. The objective of this study was to calibrate and validate the genetic coefficients for cassava cv. Rayong 9. Cassava was planted on 25 May 2015 (early-rainy season) and 10 November 2015 (late-rainy season) at the Faculty of Agriculture, Khon Kaen University, and planted on 18 December 2014 at Ban Kok Sri, Maung district, Khon Kaen. There were four plots for each planting date. The data of soil, weather from weather station, management and plant characteristics were recorded. The genetic coefficient was calibrated and validated using the experimental data. The result from genetic coefficient determination demonstrated that cassava model provided good simulation for total dry weight, stem dry weight, leaf dry weight and storage root dry weight. It is also necessary to test the potential of the cassava growth model with more experimental data to ensure the feasibility of the application as an alternative tool to aid decision making in agriculture.
ชื่อแหล่งทุน: โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=O02 Agr063.pdf&id=2978&keeptrack=2
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2557
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การคำนวณและการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมสำหรับมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 เพื่อการประยุกต์ใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2561
เอกสารแนบ 1
การประยุกต์ใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืชในการประเมินการตอบสนองของพันธุ์มันสำปะหลังต่อวันปลูกที่แตกต่างกัน แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช: ทางเลือกใหม่เพื่อช่วยงานวิจัย แบบดั้งเดิม อัตราการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสำปะหลังในวันปลูกที่แตกต่างกัน ผลของระยะเวลาการใช้สารกำจัดวัชพืชไกลโฟเสทต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 11 ศึกษาการใช้น้ำหมักชีวภาพเพิ่มการเจริญเติบโตของรากมันสำปะหลัง การจำลองอิทธิพลของวันปลูกและการจัดการไนโตรเจนต่อข้าวไร่ พันธุ์เงาะสะตะโดยแบบจำลองการเจริญเติบโตของข้าวเหนียวก่ำ ศึกษาอัตราของปุ๋ยหมักชีวภาพร่วมกับถั่วพร้าและน้ำหมักชีวภาพ พด.2 ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสำปะหลังในจังหวัดกาฬสินธุ์ การประเมินศักยภาพของแบบจำลองการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง CSM-CSCRP-Cassava การใช้มันสำปะหลังแคโรทีนสูง (พันธุ์ระยอง) ในอาหารสุกรขุน ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก