สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลกุดน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
วัฒนชัย กุลทอง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลกุดน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วัฒนชัย กุลทอง
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในเขตตำบลกุดน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึง สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร และปัญหาอุปสรรคในการผลิตข้าวของเกษตรกร ทั้งนี้โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่าง รวม 269 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรผู้ใช้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49 ปี ส่วนมากสำเร็จการศึกษาภาคบังคับ (ป.4 - ป.6) มีสมาชิกน้อยกว่า 4 คน จำนวนแรงงานในครัวเรือนประมาณ 2 - 3 คน และมีประสบการณ์ในการทำนามากกว่า 20 ปีขึ้นไป ความรู้ด้านการผลิตข้าวส่วนใหญ่ได้มาจากเพื่อนบ้าน มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 24.29 ไร่ ลักษณะการถือครองที่ดิน ร้อยละ 39.40 เช่าที่ทำการเกษตรทั้งหมด รายได้ภาคการเกษตรระหว่าง 40,000 - 60,000 บาท ส่วนใหญ่กู้เงินมาลงทุนในการผลิต และมีหนี้สินระหว่าง 10,000 - 100,000 บาท การผลิตข้าวส่วนใหญ่มีพื้นที่นาเฉลี่ย 23.90 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกข้าวช่วงวันที่ 16 มิถุนายน - 15 กรกฎาคม พันธุ์ที่ปลุกส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยซื้อพันธุ์มาจากเพื่อนบ้าน มีการเตรียมดิน 2 ครั้ง และเตรียมดินแบบหว่านข้าวแห้ง มีการปลูกข้าวแบบนาหว่านข้าวแห้งแล้วคราดกลบรอฝน การใช้ปุ๋ยของเกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตราการใช้ 20 - 30 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนใหญ่จะใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง โรค แมลง สัตว์ศัตรูข้าว และวัชพืชที่พบ ส่วนใหญ่เป็นโรคใบไหม้ หนอนกอ หนูนา และหญ้าชันอากาศ วิธีป้องกันกำจัดโดยการใช้วิธี IPM เกษตรกรผู้ปลูกข้าวทุกรายใช้รถไถเดินตาม/รถแทรกเตอร์ ส่วนใหญ่เกษตรกรร้อยละ 93.19 มีการระบายน้ำออกจากแปลงนาก่อนเก็บเกี่ยว วิธีการเก็บเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้แรงงานในครอบครัวและจ้างแรงงานในการเก็บเกี่ยวข้าว และเก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 400 - 600 กิโลกรัมต่อไร่ มีการจ้างรถในการขนส่ง ราคาข้าวเปลือกที่ขายได้เฉลี่ย 6.89 บาทต่อกิโลกรัม ปัญหาอุปสรรคในการผลิตข้าวที่เป็นปัญหามาก ได้แก่ ขาดความรู้ด้านการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว ขาดความรู้ด้านการใช้ปุ๋ยเคมี ค่าจ้างแรงงานเครื่องจักรกลสูง ขาดความรู้ด้านเมล็ดพันธุ์ การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ ค่าแรงงานในการปลูกข้าวสูง แรงงานในครัวเรือนไม่เพียงพอ ราคาผลผลิตต่ำ และขาดความรู้ด้านการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช ข้อเสนอแนะ ควรใช้เมล็ดพันธุ์จากศูนย์ขยายพันธุ์ข้าว มีการจัดทำแปลงพิสูจน์ทราบตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มในการขยายผลผลิต และจัดซื้อปัจจัยการผลิตราคาถูก ควรศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวของเกษตรกร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลกุดน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตและการตลาดข้าวของเกษตรกรตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลโนนเต็ง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลหนองบัวน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลหนองหว้า กิ่งอำเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรจังหวัดเลย สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรตำบลสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก