สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาแผนที่พันธุกรรมยางพาราของพันธุ์ RRIM 600 x PB 217 โดยการใช้ microsatellite markers
กัลยา ประพาน - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแผนที่พันธุกรรมยางพาราของพันธุ์ RRIM 600 x PB 217 โดยการใช้ microsatellite markers
ชื่อเรื่อง (EN): Development of a genetic map of RRIM 600 x PB 217 based on microsatellite markers
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กัลยา ประพาน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: "ตามโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ CIRAD ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง Genetic determinism and location of physiology components of rubber productivity by QTL approach in Thailand. Building saturated genetic map based on microsatellite markers. ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทราได้ทำการสุ่มเลือกตัวแทนประชากรลูกผสม RRIM 600 x PB 217 จำนวน 365 สายพันธุ์เพื่อใช้ในการทำแผนที่รหัสพันธุกรรมยาง สามารถคัดเลือกประชากร ลูกผสมที่ถูกต้องของสายพันธุ์ จำนวน 335 สายพันธุ์ด้วย 10 microsatellite markers เมื่อวิเคราะห์ ประชากรลูกผสมดังกล่าวด้วย microsatellite markers ชนิด polymorphic type จำนวนทั้งหมด 219 markers และ 19 AFLP markers ได้แถบดีเอ็นเอทั้งหมด 202 แถบ เมื่อนำมาจัดทำแผนที่พันธุกรรมด้วย ซอฟต์แวร์ JoinMap-cp 3.0 โดยมีค่า LOD = 4.0 ได้แผนที่รหัสพันธุกรรมซึ่งวิเคราะห์ด้วย microsatellite markers 3 ชนิดคือ 1) แผนที่พันธุกรรมของพันธุ์ RRIM600 (พันธุ์แม่) สามารถจัด โมเลกุลเครื่องหมาย (microsatellite markers) 199 markers ที่มีความสัมพันธ์กันออกได้เป็น 18 กลุ่ม (linkage group) 2) แผนที่รหัสพันธุกรรมของพันธุ์ PB217 (พันธุ์พ่อ) จัดโมเลกุลเครื่องหมายที่มี ความสัมพันธ์กัน189 markers และแบ่งออกได้เป็น 21 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 12, 17 และ 18 แยกออกเป็น กลุ่มย่อยตาม bridge markers ของแผนที่อ้างอิง และ 3) แผนที่รหัสพันธุกรรมรวมของพันธุ์ RRIM 600 x PB 217 ที่มีความสอดคล้องกัน (consensus map) ประกอบด้วยกลุ่มโมเลกุลเครื่องหมายที่ มีความสัมพันธ์กัน 20 กลุ่ม และเมื่อนำข้อมูลการวิเคราะห์ด้วย AFLP markers มาวิเคราะห์ร่วมกับ microsatellite markers และจัดทำแผนที่พันธุกรรมด้วยซอฟต์แวร์ JoinMap-cp 3.0 พบว่าแผนที่ที่ได้ทั้ง 3 ชนิดคือ แผนที่พันธุ์ RRIM600 แผนที่พันธุ์ PB217 และแผนที่รวม (consensus map) มีความสมบูรณ์ มากยิ่งขึ้น และสามารถแบ่งออกเป็น 18 linkage groups ซึ่งตรงกับจำนวน haploid genome ของ ยางพารา (2n=36)"
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาแผนที่พันธุกรรมยางพาราของพันธุ์ RRIM 600 x PB 217 โดยการใช้ microsatellite markers
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
กลุ่มวิจัยยางพารา การศึกษาปริมาณการใช้น้ำของยางพาราพันธุ์ RRIM 600 การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน ผลของเอทธิลีนต่อการให้ผลผลิตของยางพาราพันธุ์ RRIM 600 และ BPM 24 การวิเคราะห์พันธุกรรมระดับโมเลกุลของยางพารา [Hevea brasiliensis Muell.Arg.] เพื่อประยุกต์ใช้ในการศึกษาอาการเปลือกแห้ง การเพิ่มผลผลิตของยางพาราพันธุ์ RRIM 600 และ RRIT 251 โดยใช้เทคนิคการกรีด ศึกษาดัชนีพื้นที่ใบกับอัตราการสังเคราะห์แสงสูงสุดของยางพันธุ์ RRIM 600 การศึกษาปริมาณการใช้น้ำของยางพารา พันธุ์ PRIM 600 ปีที่ 3 ผลของเอทธิลีนต่อการให้ผลผลิตของยางพาราพันธุ์ RRIM 600 และ BPM 24

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก