สืบค้นงานวิจัย
ระดับโปรตีนและพลังงานในอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบทางเคมีของปลาสวายโมง
เฉลิมพล เพ็ชรรัตน - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ระดับโปรตีนและพลังงานในอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบทางเคมีของปลาสวายโมง
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of DietaryEnergy and Protein Level on Growth and Chemicalcomposition ofStripped CatfishThaiPanga (Pangasius hypophthalmusxPangasius bocourti )
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เฉลิมพล เพ็ชรรัตน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: นงค์เยาว์ มณี
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาระดับโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมในอาหารสำหรับปลาสวายโมงดำเนินการทดลอง ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดยโสธร โดยเลี้ยงปลาสวายโมงน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 0.78-0.85 กรัม ความยาวเริ่มต้นเฉลี่ย 6.97-7.60 เซนติเมตร ในตู้กระจกขนาด 45×90×45 เซนติเมตร จำนวน 30 ตู้ ในอัตรา ความหนาแน่น 25 ตัวต่อตู้ ให้อาหารทดลอง 10 สูตร ประกอบด้วยอาหารที่มีระดับโปรตีน 5 ระดับ คือ 20, 25, 30, 35 และ 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ละระดับโปรตีนมีพลังงานรวม (GE) 2 ระดับ คือ 350 และ 400 กิโลแคลอรีต่ออาหาร 100 กรัม ให้กินอาหารจน อิ่มวันละ 2 ครั้ง ผลการทดลอง พบว่าปลาสวายโมงที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์ มีความยาว สุดท้ายเฉลี่ย 13.65±1.22 เซนติเมตร มีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) กับปลาที่เลี้ยง ด้วยอาหารที่มีโปรตีน 25, 35 และ 40 เปอร์เซ็นต์ แต่มีค่าแตกต่างกับปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีโปรตีน 20 เปอร์เซ็นต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และพบว่าปลาสวายโมงที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์มีน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย 24.47±7.84 กรัม มีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) กับ ปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีโปรตีน 35 และ 40 เปอร์เซ็นต์ แต่มีค่าแตกต่างกับปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีโปรตีน 20 และ 25 เปอร์เซ็นต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) น้ำหนักเพิ่มต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ อัตราแลกเนื้อ และอัตรารอดตาย มีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) สำหรับทุกชุดการ ทดลอง และเมื่อหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างค่าอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะกับค่าของระดับโปรตีนและ พลังงาน พบว่าที่พลังงาน 350 กิโลแคลอรีต่ออาหาร 100 กรัม ระดับโปรตีนที่ทำให้ปลามีค่าอัตราการ เจริญเติบโตจำเพาะสูงสุดเท่ากับ 32.80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนค่าประสิทธิภาพของโปรตีนในอาหารลดลงอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อระดับโปรตีนในอาหารเพิ่มสูงขึ้น จากผลการทดลองในครั้งนี้ พบว่าอาหารที่มีโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์และพลังงาน 350 กิโลแคลอรีต่ออาหาร 100 กรัม เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาสวายโมง
บทคัดย่อ (EN): Experiment on optimal dietary protein and energy levels for Thai Panga was conducted at Yasothon Inland Fisheries Research and Development Center from August to November 2009 for 10 weeks. Fish with initial size of 0.78-0.85 g in weight and 6.97-7.60 cm in length were reared in thirty 45×90×45 cm glass aquarium at a stocking rate of 25 fish per aquarium. Fish were fed to apparent satiation twice daily by ten formulated diets containing protein levels of 20, 25, 30, 35 and 40% and energy levels of 350 and 400 kcal/100 g in each protein level. The results showed that there was no interaction among protein and energy levels on growth performance, fish fed 30% dietary protein had good growth. Body length 13.65+1.22 cm were no significant difference (p>0.05) compare to fish fed by 25, 35 and 40% dietary protein. Body weight of fish fed 30% dietary protein were 24.47+7.84 g which no significant difference (p>0.05) compare to fish fed by 35 and 40% dietary protein. Average daily weight gain, specific growth rates, feed conversion ratio and survival rate were no significant difference (p>0.05) compare to all fish fed dietary protein. Form quadratic regression between dietary protein level and specific growth rate at gross energy 350 kcal/100 g of feed found that 32.80% protein level gave the highest specific growth rate. Protein efficiency ratios were decreased significantly (p<0.05) with increasing of protein levels. By the results, it could be concluded that the 30% dietary protein containing 350 kcal/100 g of feed was optimum for promoting growth performances of Thai Panga.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-04-28
เอกสารแนบ: https://elibonline.fisheries.go.th/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=dsp&wa=952179C&bid=2948&qst=%4060037%2C%4060036%2C%5E%2C%4059761%2C%5E%2C%4060599%2C%5E%2C%4059716%2C%5E%2C%4060035%2C%5E%2C%4059706%2C%5E%2C%4059841%2C%5E%2C%4059879%2C%5E%2C%4059928%2C%5E%2C%4059709%2C%5E%2C%4059827%2C%5E%2C%4059761%2C%5E%2C%4061110%2C%5E%2C%4059786%2C%5E%2C%4061791%2C%5E%2C%4059720%2C%5E%2C%4059863%2C%5E%2C%4062742%2C%5E%2C%4062051%2C%5E&lang=1&db=Main&pat=%C3%D0%B4%D1%BA%E2%BB%C3%B5%D5%B9%E1%C5%D0%BE%C5%D1%A7%A7%D2%B9%E3%B9%CD%D2%CB%D2%C3%B7%D5%E8%C1%D5%BC%C5%B5%E8%CD%A1%D2%C3%E0%A8%C3%D4%AD%E0%B5%D4%BA%E2%B5%E1%C5%D0%CD%A7%A4%EC%BB%C3%D0%A1%CD%BA%B7%D2%A7%E0%A4%C1%D5%A2%CD%A7%BB%C5%D2%CA%C7%D2%C2%E2%C1%A7&cat=gen&skin=s&lpp=20&catop=&scid=zzz
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระดับโปรตีนและพลังงานในอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบทางเคมีของปลาสวายโมง
กรมประมง
28 เมษายน 2553
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมประมง
ผลของระดับโปรตีนและพลังงานที่กินได้ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตในโคนมที่ได้รับต้นอ้อยตากแห้งเป็นอาหารหยาบหลัก ระดับโปรตีนและไขมันที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลากะรังหงส์ (Cromileptes altivelis) วัยรุ่น การใช้เมล็ดถั่วมะแฮะเพื่อเป็นอาหารสัตว์ปีก 3. ใช้ถั่วมะแฮะเป็นแหล่งของโปรตีน/พลังงานในอาหารไก่ไข่ อิทธิพลของระดับพลังงานและโปรตีนในสูตรอาหารที่มีผลต่อคุณภาพของผลผลิตและสมรรถภาพการให้ผลผลิตของไก่ไข่เมื่อทำการเลี้ยงในสภาพอากาศร้อน พัฒนาการวิเคราะห์โปรตีนในอาหาร ผลของระดับโปรตีนต่อการเจริญเติบโตของกั้งตั๊กแตน Harpiosquilla raphidea(Fabricius,1798) ผลของโปรตีนที่กินได้ต่อศักยภาพในการเจริญเติบโตและความสามารถในการย่อยได้ของโภชนะในโคเนื้อลูกผสมบราห์มัน ศึกษาการเจริญเติบโต ผลผลิตและองค์ประกอบของผลผลิตแตงกวา 4 สายพันธุ์ ผลของ Growth hormone analog ต่อการเจริญเติบโต และการเจริญพันธุ์ของปลาบึก ระดับโปรตีนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดของกุ้งก้ามแดงวัยอ่อน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก