สืบค้นงานวิจัย
พิสูจน์ประสิทธิผลและความปลอดภัยของงาขี้ม้อนในโรคความจำเสื่อมเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
กัมมาล กุมารปาวา - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อเรื่อง: พิสูจน์ประสิทธิผลและความปลอดภัยของงาขี้ม้อนในโรคความจำเสื่อมเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
ชื่อเรื่อง (EN): Study the efficacy and safety of Perilla seed oil (Perilla frutescens) in Dementia for Product development.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กัมมาล กุมารปาวา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เมล็ดงาขี้ม้อนมีสัดส่วนของกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงถึง 54-64% มีการใช้งาขี้ม้อนเป็นทั้งอาหารและยา และยังใช้เป็นอาหารในเชิงสัญลักษณ์ในงานประเพณีสำคัญๆ เช่น งานบวช งานศพตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แผนงานวิจัยพบว่าการศึกษาหากลไกการยับยั้งการเกิด ER stress และการตายแบบอะพอพโทซิสด้วยสารสกัดใบงาขี้ม้อนทั้งแห้งและสด และน้ำมันงาขี้ม้อน พบว่าสารสกัดใบทั้งแห้งและสด และน้ำมันงาขี้ม้อนสามารถยับยั้งการตายของเซลล์ neuroblastoma ที่เกิดจากการกระตุ้นของโปรตีน Aβ ได้ นอกจากนี้เมื่อศึกษาการยับยั้งกลไก ER stress พบว่าสารสกัดใบงาขี้ม้อนสดสามารถลดการแสดงออกของโปรตีน GRP78/Bip ในเซลล์ที่ทดสอบร่วมกับ Aβ ได้ ในขณะที่สารสกัดใบงาขี้ม้อนแห้งและน้ำมันงาขี้ม้อนกลับเพิ่มการแสดงออกของโปรตีน GRP78/Bip ส่วนการศึกษาประสิทธิผลของน้ำมันงาขี้ม้อนต่อระดับคะแนนความจำในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมระดับอ่อนถึงปานกลางโดยเปรียบเทียบกับยาหลอก พบว่าอาสาสมัครที่ได้รับน้ำมันงาขี้ม้อนมีระดับคะแนนความจำเพิ่มขึ้นดีกว่ายาหลอกและไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรง
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-07-05
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-07-04
เอกสารแนบ: http://164.115.28.46/thaiexen/search_detail/result/3844
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2557
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
พิสูจน์ประสิทธิผลและความปลอดภัยของงาขี้ม้อนในโรคความจำเสื่อมเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4 กรกฎาคม 2558
เอกสารแนบ 1
การศึกษา " งาขี้ม้อน" พืชน้ำมันชนิดใหม่ กับการใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาเครื่องมือประเมินบรรยากาศความปลอดภัยทางถนนเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในระดับจังหวัด งาม้อน มหัศจรรย์โอเมก้าจากยอดดอย การคัดเลือกองค์ประกอบทางเคมีสำคัญและตรวจสอบความเป็นพิษในสารสกัดหยาบและน้ำมันหอมระเหยจากงาขี้ม้อน เพื่อการพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระตุ้นการเจริญของเส้นผมที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากเหงือกปลาหมอ โครงการการยกระดับคุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิผลของเครื่องสำอางและเสริมอาหารในระดับคลินิก การศึกษาการผลิตสารประกอบโพลีฟีนอลในเนื้อเยื่องาขี้ม้อน ที่เพาะเลี้ยงร่วมกับแบคทีเรียเอนโดไฟท์ พันธุศาสตร์ของลักษณะทางการเกษตรต่างๆ ในงา โรคที่พบในช่วงเก็บรักษาผลลิ้นจี่จากผลที่เก็บเกี่ยวในระยะเวลาต่าง ๆ การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการทางเคมีวิเคราะห์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก