สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก
จรีรัตน์ มีพืชน์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก
ชื่อเรื่อง (EN): Farmer Adoption On Crop Production Technology in the Eastern Region.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จรีรัตน์ มีพืชน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: จรีรัตน์ มีพืชน์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชตามระบบ GAP ของเกษตรกรในภาคตะวันออก ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด สระแก้ว และฉะเชิงเทรา ระหว่าง ตุลาคม 2550–กันยายน 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบข้อมูลการใช้เทคโนโลยี ระดับการยอมรับหรือการใช้เทคโนโลยี และปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เทคโนโลยีการผลิตมังคุด ลองกอง และมะม่วง ตามระบบ GAP ของเกษตรกรภาคตะวันออก เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประกอบการวางแผนงานวิจัยต่อไป ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ เกษตรกรเป้าหมายเป็นเกษตรกรที่ปลูกพืชทั้ง3 ชนิดในโครงการ GAP จำนวน 900 ราย การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมังคุดตามระบบ GAP ของเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกพบว่า เกษตรกรที่ให้ข้อมูลเป็นเพศชาย ร้อยละ 56 มีอายุมากกว่า 40 ปี ร้อยละ 85 มีการศึกษาอยู่ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 65 และร้อยละ 73 เป็นสมาชิกกลุ่ม พื้นที่ถือครอง เฉลี่ย 9 ไร่ต่อครัวเรือน ทั้งนี้ส่วนใหญ่เกษตรกรเป็นเจ้าของเอง มีจำนวนแปลงปลูกรายละ 1 แปลง ร้อยละ 82 และมีประสบการณ์ในการทำสวนมังคุดมากกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 70 และ มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนที่ช่วยทำสวนมังคุด 1-2 คน ร้อยละ 73 เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ 248,705 บาท จากการนำข้อมูลการใช้เทคโนโลยีของเกษตรกร มาวิเคราะห์และประมวลผล โดยแบ่งระดับการยอมรับหรือการใช้เทคโนโลยีเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับมาก ระดับปานกลางและระดับน้อย พบว่า เทคโนโลยีที่มีการใช้ในระดับมากได้แก่ การเก็บเกี่ยว การชักนำให้ออกดอก การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การตัดแต่งกิ่ง/ยอด พบมีการใช้ในระดับมากร้อยละ 100 85 80และ 57 ตามลำดับ ส่วนเทคโนโลยีที่มีการใช้ในระดับปานกลาง ได้แก่ การป้องกันกำจัดแมลงในระยะผล การป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ทำลายใบ การใส่ปุ๋ยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการของผล การกำจัดวัชพืช การทำให้แตกใบอ่อนในช่วงเวลาที่เหมาะสม พบมีการใช้ในระดับปานกลางร้อยละ 60 57 55 54 และ 44 ตามลำดับ สำหรับเทคโนโลยีที่มีการใช้ในระดับน้อย ได้แก่ การจัดการปุ๋ยเพื่อควบคุมปริมาณดอก ผล และการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟในระยะดอก พบมีการใช้เทคโนโลยีในระดับน้อยร้อยละ 97 และ 65 ตามลำดับ รวมทั้งไม่พบว่ามีปัจจัยใดๆที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีในการผลิตมังคุดของเกษตรกร การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตลองกองตามระบบ GAP ของเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกพบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศเพศชาย ร้อยละ 59 มีอายุมากกว่า 40 ปี ร้อยละ 83 มีการศึกษาอยู่ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 63 ส่วนใหญ่ร้อยละ 74 เป็นสมาชิกกลุ่ม มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 11 ไร่ต่อราย และมีประสบการณ์ในการทำสวนลองกองเฉลี่ย 14 ปี มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนที่ช่วยทำสวนลองกอง 1-2 คนร้อยละ 80 สำหรับรายได้ทั้งหมดในครัวเรือน เฉลี่ยครัวเรือนละ 255,285 พบว่าเทคโนโลยีที่มีการใช้ในระดับมากได้แก่ การเก็บเกี่ยว การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การตัดแต่งกิ่ง การจัดการน้ำเพื่อกระตุ้นการออกดอก การกำจัดวัชพืช การตัดแต่งผลและการตัดแต่งช่อผล โดยมีระดับการใช้เทคโนโลยี ถึงร้อยละ 99 96 95 86 60 และ 46 ตามลำดับ ส่วนเทคโนโลยีที่มีการใช้ในระดับปานกลาง ได้แก่ การตัดแต่งช่อดอก การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูทำลายช่อดอก การใส่ปุ๋ยในระยะผล และการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในระยะผล คิดเป็นร้อยละ 82 82 49 และ 45 ตามลำดับ สำหรับเทคโนโลยีที่ส่วนใหญ่ มีการใช้ในระดับน้อยได้แก่ การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชเพื่อป้องกันผลร่วง การจัดการเพื่อลดความเสียหายของตาดอกเนื่องจากการพัฒนาของใบอ่อน การป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูลองกอง และการใส่ปุ๋ยหลังการเก็บเกี่ยว คิดเป็นร้อยละ 70 68 58 และ 57 ตามลำดับ การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงตามระบบ GAP ของเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกพบว่าส่วนใหญ่เกษตรกรปลูกมะม่วงมากกว่าหนึ่งพันธุ์ โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ น้ำดอกไม้สีทอง เขียวเสวย ทวายเดือนเก้า น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ฟ้าลั่น และโชคอนันต์ ส่วนใหญ่มีพื้นที่ปลูกมะม่วงแปลงละไม่เกิน 10 ไร่ มีประสบการณ์เฉลี่ย 16 ปี และมีรายได้ต่อครัวเรือนมากกว่า 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี ด้านการนำเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงไปใช้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงในพื้นที่ภาคตะวันออกส่วนใหญ่ ร้อยละ 70 นำเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงไปใช้ในระดับปานกลาง ร้อยละ 26 นำเทคโนโลยีการผลิตไปใช้ในระดับมาก และกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 4 นำเทคโนโลยีการผลิตไปใช้ในระดับน้อย โดยเทคโนโลยีที่เกษตรกรส่วนใหญ่นำไปใช้ในระดับมากได้แก่ เทคโนโลยีด้านการป้องกันกำจัดวัชพืช พันธุ์ การคัดขนาด การชักนำการออกดอก และการเก็บเกี่ยว คิดเป็นร้อยละ 99 99 92 90 และ 80 ตามลำดับ เทคโนโลยีที่เกษตรกรส่วนใหญ่นำไปใช้ในระดับปานกลาง ได้แก่เทคโนโลยีด้านการป้องกันกำจัดแมลง การให้น้ำ การผลิตมะม่วงคุณภาพ การผลิตมะม่วงผิวสวยและปลอดศัตรูพืช การป้องกันกำจัดโรค และการปลูก คิดเป็นร้อยละ 84 76 75 59 59 และ 43 ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Studies on the adoption of good agricultural practice(GAP) in mangosteen longkog and mango production technologies were carried out in the eastern region of Thailand at Chanthaburi, Rayong, Trat, Sa Kaeo and Chachoengsao provinces during October 2007 to September 2009. The objectives of the studies were to assess some general backgrounds of socio-economics, to find out constraints and factors affecting GAP production of farmers and their adoption. Data were collected from interview schedules. Sample studied were selected from 900 growers who applied in GAP project. Farmer Adoption on GAP Mangosteen Production Technology in the Eastern Region. About 56 percents of the interviewed farmers were men, and 85 percents were over than 40 years. For the education, 65 percents finished primary school. About 73 percents of farmers in the community were the members of GAP. Generally each farmer owned 9 rai and had more than 10 years experience in mangosteen production. The average income per household was 248,705 bath/year, with 1-2 labor forces. Technology adoption was divided into 3 levels ; high, medium and low . The results showed that the harvesting, flower induction, post-harvest, cutting and pruning technologies were at the high adoption level with 100 85 80 and 57 percents, respectively. The medium adoption level were consisted of insect management in fruiting stage, leaf pest management, fertilization for fruiting stage, weed management and leaf flushing induction technologies with 60 57 55 54 and 44 percents respectively. There were 97and 65 percents in thinning by fertilizer and thrip management at flowering stage respectively for the low adoption level. From this study showed general backgrounds of the farmers had no effect to adoption level. Studies on the adoption of good agricultural practice(GAP) in longkong production technologies. About 59 percents of the interviewed farmers were men, and 83 percents were over than 40 years. For the education, 63 percents were finished primary school. About 74 percents of farmers in community were the members of the agricultural groups. Generally each farmer owned 11 rai and had 14.4 years experience in longkong production. The average income per household was 255,285 bath/year, with 1-2 labor forces. The results showed that the harvesting, post harvest, tree pruning, flower induction, weed management and fruit thinning technologies were at high adoption level with 99 96 95 86 60 and 46 percents, respectively. The medium adoption level consisted of flower thinning, insect management in inflorescence stage, fertilization for fruiting stage, and insect management in fruiting stage technologies with 82 82 49 and 45 percents, respectively. For the low adoption level, there were 70 68 58and 57 percents in fruit drop prevention, leaf flushing management in the flowering stage, pest management and fertilization after harvesting respectively. From this study showed general backgrounds of the farmers had no effect to adoption level. Study assesses the adoption on mango production technology in eastern region. The results show that most farmers planted more than one mango varieties in the most popular varieties such as Nam Dok Mai Si Tong , Kaew Sawei, Thawai Dueankao, Nam Dok Mai # 4, Fa Lan and Chok Anan. The most area under cultivation mango conversion is not more than 10 rai, experienced an average 16 years and income per household, more than 100,000 bath but not more than 500,000 bath per year. In the used technology to produce mango which is determined by the consistency of performance of the farm with mango production technology by the GAP system are found that sampling farmers who grow mangoes in the eastern region most 70 percents used technology of mango production at a moderate level, 26 percents at high adoption level and only 4 percents at low adoption level. The technologies that farmers are mostly used in the high level such as weed control, varieties, sizing, flower stimulation and harvest are 99 99 92 90 and 80 percents respectively. The technologies that farmers are mostly used in the moderate level such as pest control, irrigation, quality mango production, beautiful skin and free pest mango production, disease control and cultivation are 84 76 75 59 59 and 43 percents respectively.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2552
การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตกกและทอเสื่อของเกษตรกรในภาคตะวันออก ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของเกษตรกรภาคตะวันออก เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 การตัดสินใจในการปรับลดพื้นที่การผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรในเขตภาคตะวันออก โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตป่านศรนารายณ์ของเกษตรกรในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง การยอมรับและแพร่กระจายเทคโนโลยีของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ปรับปรุงระบบชลประทานขนาดใหญ่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก