สืบค้นงานวิจัย
การจัดการคุณภาพข้าวกล้องเพื่อการค้า
อัญชลี ประเสริฐศักดิ์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การจัดการคุณภาพข้าวกล้องเพื่อการค้า
ชื่อเรื่อง (EN): Brown rice quality management for trade
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อัญชลี ประเสริฐศักดิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Anchalee Prasertsak
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยการจัดการคุณภาพข้าวกล้องเพื่อการค้า มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการทำลายความมีชีวิตและการเก็บรักษาข้าวกล้องโดยคงคุณภาพการบริโภค ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ปี 2546 – 2549 แบ่งออกเป็น 4 กิจกรรม คือ (1) การสำรวจความมีชีวิตและคุณภาพข้าวกล้องในระดับการค้า (2) การศึกษาความยาวนานในการมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพบางประการของข้าวกล้องหลังจากเก็บเกี่ยว (3) การศึกษาวิธีทำลายความมีชีวิตโดยคงรักษาคุณภาพการบริโภคของข้าวกล้อง และ (4) การศึกษาวิธีการเก็บรักษาข้าวกล้องเพื่อการค้า การสำรวจความมีชีวิตของข้าวกล้องจากโรงสีและผู้ประกอบการส่งออก จำนวน 57 ตัวอย่าง พบว่า มีความมีชีวิต 0%, 1-25%, 26-50% และ 80-100% จำนวน 4, 3, 7, 13 และ 30 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 5, 6, 12, 23 และ 54 ตามลำดับ คุณภาพข้าวจัดอยู่ในประเภทข้าวอมิโลสต่ำ ค่าคงตัวของแป้งสุกอ่อน และมีความหอมอยู่ในระดับ 1-2 ปริมาณกรดไขมันอิสระ อยู่ในช่วง 14.04-50.78 มิลลิกรัม KOH/แป้ง 100 กรัม ปริมาณสารพิษ Aflatoxin B1 อยู่ระหว่าง 0-11 ppb ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน (20 ppb) การศึกษาความมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพบางประการของข้าวกล้องหลังจากเก็บเกี่ยว โดยใช้ข้าวจากข้าวกล้อง 2 พันธุ์ คือ ขาวดอกมะลิ 105 และปทุมธานี 1 บรรจุถุงในสภาพสูญญากาศ และปิดผนึกปกติ ทำการตรวจสอบคุณภาพทุกเดือน พบว่าความมีชีวิตของข้าวกล้องขาวดอกมะลิ 105ลดลงจาก 90% ในช่วงบรรจุถุง เหลือ 48% และ 26% ในเดือนที่ 3 ของการเก็บรักษา ในสภาพสุญญากาศและปิดผนึกปกติตามลำดับ และลดเหลือ 5% และ 0% ตามลำดับ ในเดือนที่ 6 ของการเก็บรักษา ปริมาณอมิโลสและค่าการสลายตัวของเมล็ดในด่างไม่เปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา แต่ปริมาณกรดไขมันอิสระเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเก็บรักษา ข้าวกล้องที่บรรจุถุงในสภาพสูญญากาศเริ่มมีการทำลายของแมลงในเดือนที่ 8 ของการเก็บรักษา ส่วนข้าวกล้องที่บรรจุถุงในสภาพปิดผนึกปกติ เริ่มมีการทำลายของแมลงในเดือนที่ 4 การศึกษาวิธีการทำลายความมีชีวิตโดยคงรักษาคุณภาพทางกายภาพของข้าวกล้อง โดยใช้อุณหภูมิและวิธีการต่างๆ คือ (1) ลมร้อนอุณหภูมิ 120, 130, 140, 150 และ 160 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1, 2, 3 และ 4 นาที (2) ไอน้ำร้อน (3) พลังงานจากคลื่นไมโครเวฟ และ (4) การตากแดด (control) กรรมวิธีที่ได้ผลดี คือสามารถทำลายความมีชีวิตของข้าวกล้องและไม่กระทบต่อเปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวของพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และปทุมธานี 1 และนำไปปฏิบัติได้ในทางการค้า คือ ใช้ลมร้อน คือ ผ่านความร้อนอุณหภูมิ 130 องศาเซลเซียส นาน 1 นาที สำหรับการตากแดด ข้าวทั้ง 2 พันธุ์ มีความงอก 94–97% ให้เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวและข้าวเต็มเมล็ด 60–61% และ 51–54% สำหรับขาวดอกมะลิ 105 และปทุมธานี 1 ตามลำดับ ปริมาณข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวลดลงและปริมาณข้าวหักเพิ่มมากขึ้นเมื่อผ่านความร้อนที่อุณหภูมิสูงเป็นระยะเวลานานขึ้น พันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ให้ปริมาณข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวน้อยกว่าขาวดอกมะลิ 105 หลังจากผ่านความร้อนในทุกกรรมวิธี การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพข้าวกล้องภายใต้การเก็บรักษาสภาพต่างๆ โดยใช้ข้าวกล้อง จากพันธุ์ข้าว 2 พันธุ์ คือ ขาวดอกมะลิ 105 และปทุมธานี 1 วางแผนการทดลองแบบ Split plot design in RCB Main plots ประกอบด้วยวิธีการลดความชื้น 3 วิธีคือ (1) ใช้ลมร้อน 130 องศาเซลเซียส นาน 1 นาที จากนั้นบ่มเป็นเวลา 20 นาที แล้วผึ่งลมจนความชื้นประมาณ 14% (2) อบแห้งโดยใช้เครื่องอบลดความชื้นแบบต่อเนื่อง อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และ (3) ตากแดด Subplots ประกอบด้วย การบรรจุ 5 วิธี คือ ถุงพลาสติก (polyethylene: PE) ถุงไนลอนประกบ (laminated plastic: NYLON-LLDPE) ถุงไนลอนประกบปิดผนึกสูญญากาศ ถุงอลูมินัมฟอยล์ประกบ laminated aluminum foil: OPP/PE/AL/PE) และถุงอลูมินัมฟอยล์ประกบปิดผนึกสูญญากาศ บรรจุถุงละ 1 กิโลกรัม เก็บรักษา ที่อุณหภูมิห้อง พบว่า การลดความชื้นด้วยเครื่องอบแบบต่อเนื่องที่ อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ให้คุณภาพการสีดีที่สุด ขาวดอกมะลิ 105 มีคุณภาพการสีเริ่มต้น 43.78%, 47.02% และ 42.4% หลังจากลดความชื้นด้วยการตากแดด อบที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และ ลมร้อน 130 องศาเซลเซียส นาน 1 นาที ตามลำดับ ส่วนปทุมธานี 1 มีคุณภาพการสีเริ่มต้น 38.44%, 46.78% and 42.10% หลังจากลดความชื้นด้วยวิธีดังกล่าว ตามลำดับ ความขาวของข้าวกล้องและข้าวสารของข้าวที่ลดความชื้นด้วย ลมร้อน 130 องศาเซลเซียส นาน 1 นาที น้อยกว่า การอบที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และการตากแดด ข้าวกล้องทั้ง 2 พันธุ์ หลังจากลดความชื้นด้วยการอบที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และการตากแดด ยังคงมีชีวิต 90-100% ในระยะเริ่มต้นของการเก็บรักษาและลดลงเหลือ 10% ในช่วง 4 และ 2 เดือนของการเก็บรักษาตามลำดับ ส่วนข้าวที่ลดความชื้นด้วยลมร้อน 130 องศาเซลเซียส นาน 1 นาที ตาย 100% การเปลี่ยนแปลงคุณภาพในขณะเก็บรักษา พบว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของปริมาณแอมิโลส ค่าการสลายตัวของเมล็ดในด่าง และการยืดตัวของแป้งสุก ของข้าวทั้ง 2 พันธุ์ ค่าความคงตัวของแป้งสุกลดลงในช่วง 6-7 เดือนของการเก็บรักษา ปริมาณสารพิษ Aflatoxin B1 อยู่ระหว่าง 0-5.3 ppb ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน (20 ppb) ข้าวกล้องที่เก็บรักษาในถุงพลาสติก (polyethylene: PE) เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในเดือนที่ 3 มีลักษณะเป็นฝุ่นแป้งสีขาวมีมอดแมลงทำลายมาก ข้าวกล้องที่บรรจุในถุงไนลอนประกบปิดผนึกสูญญากาศ และถุงอลูมินัมฟอยล์ประกบปิดผนึกสูญญากาศ เสื่อมคุณภาพช้ากว่า ข้าวกล้องที่เก็บรักษาในถุงพลาสติก
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
เอกสารแนบ: http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/bitstream/001/1426/1/brrd%20seed44-51-022.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการคุณภาพข้าวกล้องเพื่อการค้า
กรมการข้าว
2552
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105 แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การศึกษากระบวนการพัฒนาระบบการผลิตข้าวคุณภาพ ในสถานการณ์การเปิดเขตการค้าเสรี กรณีศึกษา: โครงการศึกษาเชิงปฏิบัติการระบบการผลิตและการจัดการข้าว ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเขตปฏิรูปที่ดินภาคเหนือ การปรับปรุงคุณภาพด้านการหุงสุกของข้าวกล้องที่มีสีด้วยเทคโนโลยีพลาสมา การรักษาคุณภาพของข้าวกล้องหลังการเก็บเกี่ยวโดยการใช้เทคโนโลยีการฉายรังสีแกมมาเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ข้าวกล้องงอกเพิ่ม กาบา การเพิ่มผลผลิตข้าวคุณภาพพิเศษโดยวิธีการจัดการธาตุอาหารเพื่อการเพาะปลูกและปรับปรุงพันธุ์ รวมทั้งการชะลอการสูญเสียสารคุณภาพพิเศษระหว่างการเก็บรักษา (ปีที่ 2) ความมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของข้าวกล้อง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก