สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
กรมวิชาการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Crop Production Systems in the Lower Northeast
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรมวิชาการเกษตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: บุญชู สายธนู
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชให้ได้ชุดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และมีประสิทธิภาพ สามารถเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน และถั่วลิสง สร้างมาตรฐานคุณภาพพริกสูงขึ้น และลดต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ดำเนินงานระหว่างปี 2551-2552 ผลการดำเนินงาน พบว่า (1) การพัฒนาระบบและเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา ในปี 2551-2552 การปลูกและปฏิบัติดูแลรักษาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์ 3 ตามคำแนะนำกรมวิชาการเกษตร เปรียบเทียบกับวิธีเกษตรกรของแต่ละพื้นที่ ผลการทดลอง พบว่า วิธีปรับปรุง ได้ผลผลิตเฉลี่ย 845 และ 961 กก./ไร่ วิธีเกษตรกร ได้ผลผลิตเฉลี่ย 712 และ 994 กก./ไร่ ต้นทุน 5.51 และ 4.23 บาท/กก. ต่ำกว่าวิธีเกษตรกรซึ่งมีต้นทุน 5.70 และ 4.33 บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ 3 และ 2 ตามลำดับ (2) การพัฒนาระบบและเทคโนโลยีการผลิตพริก พบว่า การผลิตพริกแบบผสมผสานในสภาพไร่ฤดูแล้งจังหวัดอุบลราชธานี ได้ผลผลิตสูงสุดถึง 8,255 กก./ไร่ และรายได้สุทธิมากที่สุด 88,061 บาท/ไร่ ผลผลิตพริกสดปลอดภัยจากสารพิษตกค้างร้อยละ 85 มีคุณภาพร้อยละ 77 การผลิตพริกแบบผสมผสานจังหวัดศรีสะเกษ ไม่พบสารพิษตกค้าง แต่ผลผลิตพริกเฉลี่ยต่อไร่ยังไม่เป็นที่พอใจ การผลิตพริกแบบผสมผสานผสมผสานในฤดูฝนจังหวัดนครราชสีมา ลดสารเคมีได้ 33% ผลผลิตปลอดภัยจากสารพิษ การผลิตพริกตามระบบการจัดการคุณภาพ : GAP พริก พบว่า วิธีปรับปรุง ซึ่งปลูกพริกตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัดศัตรูพริก การปรับปรุงบำรุงดิน และการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 2,828 กก./ไร่ สูงกว่าวิธีเกษตรกร ซึ่งได้ผลผลิตเฉลี่ย 2,269 กก./ไร่ หรือสูงกว่าคิดเป็นร้อยละ 25 การพัฒนาระบบการผลิตพริกเพื่อนำไปสู่มาตรฐานคุณภาพพืชอินทรีย์ วิธีปรับปรุง ซึ่งปลูกพริกโดยใช้เทคโนโลยีป้องกันกำจัดโรครากปมและใช้ปัจจัยการผลิตอินทรีย์ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 2,491 กก./ไร่ ไม่พบสารพิษตกค้างร้อยละ 67-75 ผลผลิตมีคุณภาพตามมาตรฐานร้อยละ 83 วิธีเกษตรกร ได้ผลผลิตเฉลี่ย 2,401 กก. /ไร่ พบสารพิษตกค้างร้อยละ 100 ผลผลิตมีคุณภาพมาตรฐานร้อยละ 85 (3) การพัฒนาระบบและเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ประกอบด้วย (3.1) การพัฒนาระบบและเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังสภาพไร่ ใน 3 เขตฝน ผลการทดลอง พบว่า ในเขตที่มีปริมาณฝน 800-1,200 1,200-1,400 และ 1,400-1,800 ม.ม./ปี วิธีปรับปรุงได้ผลผลิตเฉลี่ย 6.12 4.95 และ 5.49 ตัน/ไร่ สูงกว่าวิธีเกษตรกร ซึ่งได้ผลผลิตเฉลี่ย 4.78 3.64 และ 5.12 ตัน/ไร่ คิดเป็นร้อยละ 28 36 และ 7 ตามลำดับ ผลการดำเนินงานเกิดการขยายผลนำเทคโนโลยีไปปรับปรุงการผลิตและการจัดการในแปลงของเกษตรกรผ่านเกษตรกรต้นแบบ (3.2) การพัฒนาระบบและเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังหลังนา พบว่า วิธีปรับปรุง ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 7 ได้ผลผลิตเฉลี่ย 3.14 ตัน/ไร่ เปอร์เซ็นต์แป้ง 21% ไม่แตกต่างกับวิธีเกษตรกร ที่ได้ผลผลิตเฉลี่ย 3.11 ตัน/ไร่ เปอร์เซ็นต์แป้ง 21% ทั้ง 2 กรรมวิธีมีความเป็นไปได้ในด้าน การผลิต (4) การพัฒนาระบบและเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตอ้อย พบว่า วิธีปรับปรุง ซึ่งปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ได้ผลผลิตเฉลี่ย 14.5 ตัน /ไร่ สูงกว่าวิธีเกษตรกรซึ่งได้ผลผลิตเฉลี่ย 12.9 ตัน/ไร่ หรือสูงกว่าร้อยละ 12 (5) การพัฒนาระบบและเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตถั่วลิสง พบว่า การผลิตถั่วลิสงฝักสด วิธีปรับปรุง ได้ผลผลิตเฉลี่ย 473 กก./ไร่ สูงกว่าวิธีเกษตรกรร้อยละ 15 การผลิตถั่วลิสงฝักแห้ง พบว่า วิธีปรับปรุง ได้ผลผลิตเฉลี่ย 259 กก./ไร่ ต่ำกว่าวิธีเกษตรกรร้อยละ 8
บทคัดย่อ (EN): The development of cash crops production system in the lower northeast was aimed to test and develop crop production package technologies, in order to increase yields of cassava, sugarcane and peanut, increase yield quality of chili, and reduce production cost of corn. The experiment was conducted in 2007-2008. The results of corn suggested that yields of improved method were 845 and 961 kg/rai whereas those of farmer?s method were 712 and 994 kg/rai, in 2007 and 2008, respectively. The production cost of improved method were 5.51 and 4.23 baht/kg lower than the farmer?s cost (5.70 and 4.33 baht/kg). In chili, it was found that integrated chili production technology in dry season in Ubon Ratchathani province received as high yield as 8,255 kg/rai with 88,061 baht/rai of net profit. In addition, the yield was 85 % pesticide free, and 77 % reached the standard quality. In Si Saket province, integrated chili production technology resulted on pesticide free yield whereas the yield was not satisfied. Chili production technology in rainny season in Nakhon Ratchasima province revealed that pesticide residue was 33 % reduced. Chili production according to Good Agricultural Practice (GAP) technology yielded about 25 % higher than farmer?s method. The development of organic chili production demonstrated that the improved method produced 2,491 kg/rai of yield, 67-75 % of yield was pesticide free, and 83 % of yield reached the standard quality. Whereas the farmer?s method produced 2,401 kg/rai of yield and 84 % of yield reached the standard quality but no yield was free of pesticide. Cassava technology development suggested that improved method produced 6.12, 4.95 and 5.49 ton/rai of yields in the areas of 800-1,200, 1,200-1,400 and 1,400-1,800 mm rainfall, compared to 4.78, 3.64 and 5.12 ton/rai of the farmer?s method. These technologies would be transferred to other farmers by a farmer?s model. The development of after rice cassava production technology concluded that improved and farmer?s methods were not different. Sugarcane production technology development revealed that improved method (variety Khon Kaen 3) yielded 12 % higher than farmer?s method. In peanut, it was founded that improved method yielded (fresh weight) 15 % higher than farmer?s method. But, the improved method yielded (dry weight) 8 % lower than farmer?s method.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2552
การใช้เชื้อ Ectomycorrhiza ในการเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจเขตภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหอมแดงคุณภาพในภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ระบบการจัดการพื้นที่สาธารณประโยชน์ของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก