สืบค้นงานวิจัย
ระบบจำแนกพันธุ์มันสำปะหลัง
วลัยพร ศะศิประภา ณิชา โป๋ทอง เถลิงศักดิ์ วีระวุฒิ จิณณจาร์ หาญเศรษฐสุข - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ระบบจำแนกพันธุ์มันสำปะหลัง
ชื่อเรื่อง (EN): Cassava Cultivar Identification Information System
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วลัยพร ศะศิประภา ณิชา โป๋ทอง เถลิงศักดิ์ วีระวุฒิ จิณณจาร์ หาญเศรษฐสุข
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Walaiporn Sasiprapa Nicha Pothong Takengsak Werawut Jinnaja Hansethasuk
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: พันธุ์มันสำปะหลังที่ปลูกมีมากพันธุ์ แต่ละพันธุ์มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งค่อนข้างยากที่จะระบุพันธุ์ได้อย่างถูกต้อง ระบบจำแนกพันธุ์มันสำปะหลังจะช่วยการจำแนกพันธุ์ได้ โดยนำพันธุ์มัสนำปะหลังที่นิยมปลูกในปัจจุบันจำนวน 12 พันธุ์ ศึกษาและวิเคราะห์โดยใช้แนวทางของการพิสูจน์พืช และคงความถูกต้องด้วยรูปวิธาน ที่ศูนย์สารสนเทศ กรมวิชาการเกษตร ระหว่างปี พ.ศ. 2552-2553 โดยศึกษาคุณลักษณะพันธุ์จากเอกสารและตัวอย่างของจริง นำมาจัดทำเป็นแนวทางการจำแนกพันธุ์มันสำปะปลัง โดยการคัดออกลักษณะที่ไม่ปรากฎในพันธุ์ที่ต้องการจะพิสูจน์เพื่อให้มีขอบเขตที่แคบลงเรื่องๆ จนพบคำตอบ คุณลักษณะที่นำมาใช้ในการจำแนกพันธุ์มันสำปะหลังได้แก่ สีก้านใบ สียอดอ่อน การแตกกิ่ง หูใบ การมีขนที่ยอดอ่อนและสีของลำต้นแล้วพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อช่วยในการจำแนกพันธุ์ ส่งผลให้มีคู่มือของการจำแนกพันธุ์มันสำปะหลัง สำหรับให้ผู้ใช้ที่ไม่มีประสบการณ์ให้สามารถระบุชื่อพันธุ์ได้โดยง่ายและถูกต้องพร้อมทั้งให้ข้อมูลคุณลักษณะของพันธุ์ที่ทราบชื่อพันธุ์แล้วและภาพตัวอย่างเปรียบเทียบ
บทคัดย่อ (EN): Cassava cultivar identification information system had been developed to identify 12 cassava cultivar. Dichotomous key was used as a guildline for identification to cultivar level. Documents and living plant samples were studied to standardized characteristics and defined the necessary conditions in this system. Possible answer is narrow characteristics which use in cassava cultivar identification is color of petiole, color of apex, branching, stipule, hair of apex and color of stem. And developed information system for non experience user is to identify cassava cultivar easily together with information of cultivar-known sample for confirmation.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระบบจำแนกพันธุ์มันสำปะหลัง
กรมวิชาการเกษตร
2553
เอกสารแนบ 1
มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ "ระยอง 3" อาหารจากมันสำปะหลัง สถานการณ์ปัจจุบันและศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังของไทย ผลผลิตของมันสำปะหลังที่เก็บเกี่ยวอายุสั้นในสภาพปริมาณน้ำฝนต่างกัน ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีพืชพรรณผล ต่างแบบนอร์แมลไลซ์กับผลผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดกำแพงเพชร การชักนำการออกดอกในมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังแบบแม่นยำ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังผงกึ่งสำเร็จรูปจากมันสำปะหลังสายพันธุ์หวาน การจัดการระบบน้ำที่มีประสิทธิภาพในผลิตมันสำปะหลัง การประเมินและการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มความก้าวหน้าของการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง การเพิ่มโปรตีนในกากมันสำปะหลังและเปลือกมันสำปะหลังโดยใช้จุลินทรีย์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก