สืบค้นงานวิจัย
ระบบพลาสมาโอโซไนเซอร์สำหรับการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยวที่ก่อให้เกิดโรคเน่าของผลมังคุด
โสภนา วงศ์ทอง, ลัญจกร จันทร์อุดม, พิชญ์ศักดิ์ จันทร์กุศล - มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง: ระบบพลาสมาโอโซไนเซอร์สำหรับการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยวที่ก่อให้เกิดโรคเน่าของผลมังคุด
ชื่อเรื่อง (EN): Plasma Ozonizer System for Postharvest Control of Pathogens Cause Mangosteen Fruit Rot
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบระบบพลาสมาโอโซไนเซอร์และศึกษาผลของโอโซนต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคผลเน่าของมังคุด โดยส่วนของระบบพลาสมาโอโซไนเซอร์ ประกอบด้วยแหล่งจ่ายพลังงานมีความต่างศักย์ที่ได้อยู่ในระดับกิโลโวลต์ โดยให้กำลัง 300 W และความถี่ที่เกิดขึ้นระหว่างการดิสชาร์จอยู่ที่ประมาณ 50-500 kHz และหลอดผลิตโอโซนประกอบด้วยขั้วไฟฟ้าทำจากสเตนเลสทรงกระบอกซ้อนกัน 2 อัน เป็นขั้วไฟฟ้าภายนอกและขั้วไฟฟ้าภายในที่มีแก้ว pyrex ทำหน้าที่เป็นไดอิเล็กตริก ขณะความต่างศักย์ค่าหนึ่ง ปริมาณความเข้มข้นโอโซนจะไม่เป็นสัดส่วนโดยตรงกับอัตราการไหลของก๊าซออกซิเจน แต่จะมีค่าสูงสุดที่อัตราการไหล 2 ลิตรต่อนาที ซึ่งเป็นค่าที่ใช้ในงานวิจัยนี้ และปริมาณความเข้มข้นของการเกิดโอโซนกับการเปลี่ยนแปลงศักย์ไฟฟ้าที่ป้อนให้กับระบบ ที่ความต่างศักย์ 8-10 กิโลโวลต์ อัตราการไหลของก๊าซ 2 ลิตร/นาที ให้ความเข้มข้นของโอโซน 33-49 มิลลิกรัม/ลิตร ส่วนผลของโอโซนต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคผลเน่าของมังคุด ประสิทธิภาพของการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคผลเน?าของผลมังคุดโดยการรมด้วยก๊าซโอโซน พบว่า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญของเชื้อราของโคโลนีเชื้อรา Pestalotiopsis sp. และ Lasiodiplodia theobromae ของแต่ละกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ขณะที่ประสิทธิภาพของการใช้โอโซนเพื่อควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคผลเน?าของผลมังคุดโดยการใช้น้ำโอโซน พบว่าการแช่มังคุดในน้ำโอโซนสามารถการควบคุมเชื้อรา Pestalotiopsis sp. และ Lasiodiplodia theobromae แต่ละกรรมวิธีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อเพิ่มเวลาในการแช่น้ำโอโซนมากขึ้น ประสิทธิภาพในการการควบคุมเชื้อราก็เพิ่มขึ้น
บทคัดย่อ (EN): The research purpose is to design plasma ozonizer systems to control of pathogens cause mangosteen fruit rot. The system was composed of high-frequency high-voltage power supply and ozonizer tubes. The high voltage output in kilovolt level and high frequency was 50-500 kHz. Plasma ozonizer was a cylinder-cylinder electrode consist of two electrodes. Outer and inner electrode was made of stainless steel, which inner electrode was covered with pyrex glass as dielectric. Discharge gap between electrode was fixed at 7.5 mm. Ozone concentration generated by this ozonizer in ranges of 33-49 mg/l at 8-10 kV and optimum purified oxygen feed rate of 2 l/min. Effect of ozone on the inhibition of mangosteen rot. The effect of mangosteen fruit fungal control on ozone depletion was found to be that the diameter and percentage of inhibition fungal colonies Pestalotiopsis sp. and Lasiodiplodia theobromae of each treatment were not significantly different (p> 0.05). While the effectiveness of ozone treatment to control fungal diseases caused by mangosteen fruit by using ozonated water It was found that mangosteen infiltration in ozonated water could control the Pestalotiopsis sp. and Lasiodiplodia theobromae were significantly different (p <0.05). Efficiency in fungal control is increased.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระบบพลาสมาโอโซไนเซอร์สำหรับการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยวที่ก่อให้เกิดโรคเน่าของผลมังคุด
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
30 กันยายน 2560
การวิจัยในสภาพสวนเพื่อพัฒนาการผลิตมังคุดนอกฤดูจังหวัดนครศรีธรรมราช การผลิตถ่านจากเปลือกมังคุดและผลมังคุดคัดทิ้งหรือมังคุดตกเกรดเพื่อใช้เป็นถ่านกรองน้ำและถ่านดูดซับความชื้นและกลิ่น ผลของโอโซนในการควบคุมโรคผลเน่าของสาลี่และแอปเปิล ที่นำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน การพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Ganoderma spp. การคัดเลือกไรโซแบคทีเรียในการควบคุมโรคผลเน่าที่เกิดจากแบคทีเรียของเมลอน การคัดเลือกเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าของลำไย ศึกษาชีววิธีในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์วิบริโอด้วยจุลินทรีย์บาซิลลัสในห้องปฏิบัติการ โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและสารเคลือบผลสำหรับควบคุมโรคผลเน่าของสตรอเบอรี่ การควบคุมการสุกของผลมังคุดหลังการเก็บเกี่ยว การควบคุมโรคผลเน่าของส้มโดยใช้น้ำส้มควันไม้และสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก