สืบค้นงานวิจัย
ความต้องการฝึกอบรมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองบัวลำภู
สุริยะ อุดมทรัพย์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความต้องการฝึกอบรมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองบัวลำภู
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุริยะ อุดมทรัพย์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง ความต้องการฝึกอบรมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองบัวลำภู มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจบางประการของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร และ3) ความต้องการฝึกอบรมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างที่สุ่ม จำนวน 299 ตัวอย่าง จากเกษตรกรที่ปลูกข้าวอินทรีย์ในจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 1,180 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS for Windows โดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 48.55 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.07 คน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร ร้อยละ 66.6 ไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางสังคม มีการเดินทางออกนอกหมู่บ้านเพื่อศึกษาดูงานด้านการเกษตร เฉลี่ย 3.43 ครั้งต่อปี แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.20 คน มีพื้นที่ถือครองการเกษตรเฉลี่ย 22.7 ไร่ เกษตรกรมีรายได้รวมเฉลี่ย 69,077.01 บาท มีพื้นที่ทำนาทั้งหมดเฉลี่ย 14.78 ไร่ ใช้ปลูกข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 10.15 ไร่ ต้นทุนการผลิตข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 1,080 บาทต่อไร่ ร้อยละ 61.5 มีสภาพดินนาเป็นดินร่วนปนทราย อาศัยน้ำฝน เกษตรกรส่วนใหญ่ เตรียมดินโดยการไถ 1 ครั้ง คราด 1 ครั้ง ไม่ไถกลบตอซัง ประมาณครึ่งหนึ่งปลูกข้าวเดือนกรกฎาคม ใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 9.69 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนใหญ่เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองร้อยละ47.0ใช้ปุ๋ยชีวภาพโดยการหว่านทิ้งในนา เกษตรกรส่วนใหญ่กำจัดวัชพืชโดยวิธีเขตกรรม ใช้ระดับน้ำควบคุมศัตรูพืช ได้รับการอบรมด้านเกษตรอินทรีย์ โดยเกินครึ่งเล็กน้อยได้รับการอบรมจากสำนักงานเกษตรจังหวัด สำหรับความต้องการฝึกอบรมการผลิตข้าวอินทรีย์ เกษตรกรต้องการฝึกอบรมด้านวิชาการระดับมาก 5 เรื่อง ได้แก่ การตลาด การแปรรูปผลผลิต การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว การจัดการดิน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และการเก็บรักษาผลผลิต ด้านอุปกรณ์และสื่อที่ใช้ในการฝึกอบรม เกษตรกรต้องการสื่อและอุปกรณ์ในการอบรมทุกสื่อในระดับมาก ด้านวิธีการฝึกอบรมเกษตรกรต้องการมากที่สุดในประเด็นการทัศนศึกษา ส่วนการเล่นเกมส์ต้องการระดับน้อย ด้านการจัดการอบรมต้องการให้ประสานก่อนการอบรมเฉลี่ย 7.16 วัน ส่วนใหญ่ให้จัดอบรมระหว่างเดือน มีนาคม - เมษายน จำนวนวันอบรมเฉลี่ย 3.87 วัน ผู้เข้าอบรมเฉลี่ย 35.82 คน ให้ใช้แปลงเกษตรกรเป็นสถานที่อบรม ด้านความรู้ความสามารถของวิทยากรพบว่า เกษตรกรต้องการวิทยากรที่ตรงเวลา มีความรู้ในเรื่องที่อบรม ตอบคำถามได้ชัดเจน เป็นเกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จ ด้านการสนับสนุนหลังการฝึกอบรม เกษตรกรต้องการให้ติดตามให้คำแนะนำสม่ำเสมอ การวางแผนการตลาด ประสานแหล่งทุน แหล่งและราคาปัจจัยการผลิตการบริการข้อมูลข่าวสาร การรวมกลุ่มแปรรูป ข้อเสนอแนะ ควรเชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่น ๆ เพื่อสร้างพันธมิตร ฝึกอบรมเพิ่มเติม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องบูรณาการแผนงานโครงการด้วยกัน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้องการฝึกอบรมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองบัวลำภู
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตข้าวอินทรีย์ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู การผลิตข้าวอินทรีย์ ของจังหวัดสุรินทร์ ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การศึกษาความต้องการในการฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกรในทุ่งกุลาร้องไห้ การศึกษาความต้องการในการฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรม สมาชิกกลุ่มเกษตรกรทำนา จังหวัดลำปาง การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2548 จังหวัดอุทัยธานี สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร ในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ความต้องการฝึกอบรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น ความต้องการฝึกอบรมการแปรรูปผลผลิตเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก