สืบค้นงานวิจัย
การอนุบาลกั้งตั๊กแตนหางจุด Harpiosquilla raphidea (Fabricius, 1798)
ปราณี อ่อนแก้ว - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การอนุบาลกั้งตั๊กแตนหางจุด Harpiosquilla raphidea (Fabricius, 1798)
ชื่อเรื่อง (EN): The Nursing of Mantis Shrimp Harpiosquilla raphidea (Fabricius, 1798)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปราณี อ่อนแก้ว
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pranee Oonkaew
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การอนุบาลกั้งตั๊กแตนหางจุด แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ช่วงอายุของการอนุบาลโดย แต่ละช่วงมี 3 ชุดการทดลองๆละ 3 ซ้ำ คือ ช่วงที่ 1 อนุบาลลูกกั้งตั๊กแตนหางจุดจากระยะ nauplii 2 จนถึงระยะ post larva 3 โดยชุดการทดลองที่ 1,2 และ3 อนุบาลที่ระดับความลึก 30,50 และ70 เซนติเมตร พบว่าลูกกั้งตั๊กแตนหางจุดที่ อนุบาลที่ระดับความลึก 70 เซนติเมตร มีค่าอัตราการรอดตายสูงสุด มีค่าเท่ากับ 8.32 + 0.04 เปอร์เซ็นต์ ช่วงที่ 2 เลี้ยงกั้งตั๊กแตนหางจุดจากระยะ post larva 14 เป็นระยะเวลา 60 วัน ชุดการทดลองที่ 1,2และ3 เลี้ยงในสภาพที่ มี substrate เป็นดิน ดินปนทราย(70:30) และ ทราย ตามลำดับ พบว่า การเลี้ยงกั้งตั๊กแตนหางจุด ใน substrate ที่เป็นทรายมีค่าอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะและน้ำหนักเพิ่มต่อวันสูงสุด มีค่าเท่ากับ 3.05 ± 0.45 เปอร์เซ็นต์ ต่อวัน และ 540.97 ± 182.41 เปอร์เซ็นต์. อัตราการรอดตายของลูกกั้งตั๊กแตนหางจุดที่เลี้ยงใน substrate ที่เป็น ดินมีค่าสูงสุด (8.97 ± 1.28). จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าระดับความลึกที่ 70 เซนติเมตรเหมาะสำหรับการ อนุบาลลูกกั้งตั๊กแตนหางจุดจากระยะ nauplii 2 จนถึงระยะ post larva 3และการเลี้ยงกั้งตั๊กแตนหางจุดระยะ หลังจาก PL 14 ควรเลี้ยงใน substrate ที่เป็นดิน.
บทคัดย่อ (EN): The nursing of Mantis shrimp was devided 2 steps. The first was the experiment on nursing of mantis shrimp from nauplii 2 to post larva 3 which was consisted of 3 treatments with 3 replications of depth of water level 30,50 and 70 cm. After 23-26 days of nursing , the result showed that the survival rate of treatment 3 was the highest (8.97 ± 1.28 %).The second step was the experiment on nursing of mantis shrimp from post larva 14 for 60 days. This experiment consisted of 3 different kind of substrate(soil, soil : sand (70:30) and sand) with 3 replications. The result revealed that the specific growth rate and weight gain of mantis shrimp nursed in sand substrate was the highest (3.05 ± 0.45 %/day and 540.97 ± 182.41 %). The survival rate of young mantis shrimp nursed in soil substrate was the highest (8.97 ± 1.28 %). It was concluded that the depth of water level at 70 cm. for nursing larvae from nauplii 2 to post larva 3 and soil substrate was appropriate for young mantis shrimps(After post larva 14).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-03-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การอนุบาลกั้งตั๊กแตนหางจุด Harpiosquilla raphidea (Fabricius, 1798)
กรมประมง
30 มีนาคม 2556
เอกสารแนบ 1
กรมประมง
ผลของความเค็มต่อการเจริญเติบโตและการรอดตายของของกั้งตั๊กแตนหางจุด ( Harpiosquilla raphidea (Fabricius, 1798) ผลของความเค็มต่อการเจริญเติบโตและการรอดตายของของกั้งตั๊กแตนหางจุด ( Harpiosquilla raphidea (Fabricius, 1798) ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกั้งตั๊กแตน Harpiosquilla raphidea, Fabricius 1798 ในจังหวัดพังงา ผลของอาร์ทีเมียต่อผลผลิต อัตราการรอดตาย และเวลาการพัฒนาเข้าระยะโพสท์ลาร์วาของกั้งตั๊กแตน (Harpiosquilla raphidea Fabricius, 1798) ค่าพารามิเตอร์การเติบโตของกั้งตั๊กแตนชนิด Harpiosquilla raphidea (Fabricus, 1798) บริเวณจังหวัดสตูล ผลของความเข้มแสงต่อ ผลผลิต อัตราการรอดตาย และ ระยะเวลาการพัฒนาเข้าระยะ Post larva ของกั้งตั๊กแตน (Harpiosquilla raphidea Fabricius, 1798) การอนุบาลลูกกั้งตั๊กแตนหางจุด Harpiosquilla raphidea (Fabricius, 1798) โดยใช้วิธีการต่างกัน ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกั้งตั๊กแตนชนิด Harpiosquilla raphidea (Fabricus, 1798) ทางฝั่งทะเล อันดามันของประเทศไทย ทรัพยากรกั้งตั๊กแตนทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การเพาะเลี้ยงกั้งตั๊กแตน Harpiosquilla raphidea, Fabricius,1798

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก