สืบค้นงานวิจัย
ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2546 ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ในจังหวัดมุกดาหาร
ไพจิตร ดำรงกุล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2546 ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ในจังหวัดมุกดาหาร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ไพจิตร ดำรงกุล
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรปี 2546 ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดมุกดาหารมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์และผลการดำเนินงานตามโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ปัญหาอุปสรรค ความคิดเห็นและความพึงพอใจของสมาชิกในการ ดำเนินงาน ทำการศึกษาโดยการสัมภาษณ์ในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 10 กลุ่ม จำนวนสมาชิกที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 142 ราย ค่าสถิติที่ใช้ คือค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สูงสุด ต่ำสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าF - test ผลการศึกษาพบว่า สมาชิก มีอายุเฉลี่ย43.9 ปี มีรายได้ในรอบครัว ต่อปีเฉลี่ย 55,223.8 มีรายได้จากกลุ่ม เฉลี่ย 2,920.3 บาท เป็นสมาชิกนานเฉลี่ย 4.9 ปี มีหุ้นในกลุ่มเฉลี่ย 6.9 หุ้นเป็นเงินหุ้น เฉลี่ย 306.1 บาท กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ตั้งมาแล้วเฉลี่ย 8.9 ปี มีสมาชิกร่วมโครงการ เฉลี่ย 23.8 คน ครึ่งหนึ่งดำเนินการผลิตประเภทอาหาร และ อีกครึ่งหนึ่งผลิตไม่ใช่ประเภทอาหาร มีเงินทุนหมุนเวียน เฉลี่ย 130,556.0 บาท การดำเนินการโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรของกลุ่ม ในกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบภายในกลุ่มชัดเจน มีการตั้งกฎระเบียบหรือกติกาและสมาชิกมีการปฏิบัติตาม มีการประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ มากที่สุดคือสำนักงานเกษตรอำเภอและพัฒนาชุมชน มีสวัสดิการ ให้แก่สมาชิก มีการให้บริการเงินกู้ยืมแก่สมาชิก มีการอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องการแปรรูปสินค้าเกษตร และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ส่วนมากใช้แรงงานจากสมาชิกภายในกลุ่ม มีการจ่ายค่าแรงสมาชิก โดยครึ่งหนึ่งจ่ายตามเวลาการทำงาน มีการใช้งบประมาณจากงบที่ได้รับทั้งหมด ในการปรับปรุงสถานที่ เฉลี่ย 25.4 % ซื้ออุปกรณ์การผลิต เฉลี่ย 24.4 % จัดทำบรรจุภัณฑ์ เฉลี่ย 15.7 % ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เฉลี่ย 30.1 % ร้อยละ 80 มีเงินออม และสมาชิกได้ร่วมลงหุ้นมูลค่าหุ้น เฉลี่ย 92 บาท มีการจัดทำบัญชีให้เป็น การปันผลจะแบ่งตามหุ้นที่สมาชิกมีและแบ่งตามเวลาที่สมาชิกมาร่วมปฏิบัติงาน ปันผล 1-2 ครั้งต่อปี มีการจัดหาเครื่องมือ - อุปกรณ์การผลิตที่ได้มาตรฐานมาใช้อย่างคุ้นค่า ส่วนน้อย (ร้อยละ 20) ผลิตภัณฑ์ ได้รับการรับรอง ส่วนใหญ่มีการจัดทำบรรจุภัณฑ์ และผลิตสินค้าได้พอดีกับความต้องการของตลาด มีการจำหน่ายทั้งระบบขายปลีกและขายส่ง บางส่วนโดยมีร้านค้าประจำ และนำไปจำหน่ายในตลาดของชุมชน มีการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้า กลุ่มและสมาชิกประสบปัญหาอุปสรรคคือ ขาดแหล่งจำหน่ายสินค้าที่แน่นอน ขาดความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และต้นทุนการผลิตสูง จำหน่ายสินค้าได้น้อย เงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอ และ อุปกรณ์การผลิตไม่เพียงพอ ภายหลังเข้าร่วมโครงการสมาชิกมีรายได้เฉลี่ย 2,143.5 บาท เปลี่ยนแปลง ภายหลังการเข้าร่วมโครงการ โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1,066.6 บาท ส่วนใหญ่ ได้มีส่วนร่วมในการผลิต โดยครึ่งหนึ่ง ได้ดำเนินการผลิต มากกว่า 10 เดือน ในรอบเดือนผลิต เฉลี่ย 14.9 วัน และผลิตในรอบวัน เฉลี่ย 4.8 ชั่วโมง สมาชิกกลุ่ม มีความคิดเห็นว่าโครงการมีประโยชน์ ภาพรวมในระดับมาก โดยมีประเด็นย่อยที่มีประโยชน์ระดับมาก จำนวน 8 ประเด็น ระดับปานกลาง 4 ประเด็น มีความพึงพอใจต่อโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ในภาพรวมระดับมาก โดยมีประเด็นย่อย ที่สมาชิกมีความพึงพอใจระดับมาก 7 ประเด็น ระดับปานกลาง 1 ประเด็น สมาชิกที่มีรายได้เปลี่ยนแปลงโดยเพิ่มมากขึ้นกว่า 1,500 บาทต่อเดือน มีความพึงพอใจมากกว่าสมาชิกที่มีรายได้น้อย ในทุกประเด็น ข้อเสนอแนะให้กลุ่มมีการวางแผนการใช้งบประมาณเกี่ยวกับการจัดหาวัตถุดิบ และใช้เป็นทุนหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น ให้กลุ่มมีการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างได้มาตรฐาน ประสานงานให้ส่งผลิตภัณฑ์เพื่อการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้มาก และจัดการถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิกอย่างต่อเนื่อง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2546 ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ในจังหวัดมุกดาหาร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรปี 2546 ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2544-2546 ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดนนทบุรี ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรปี 2544-2546 ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กรุงเทพมหานคร ศึกษาผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร การมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรต่อโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2546 ในจังหวัดนครราชสีมา ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรจังหวัดยโสธร ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2546 ระดับธุรกิจ ในจังหวัดร้อยเอ็ด ความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2546 จังหวัดพิษณุโลก ความต้องการฝึกอบรมการแปรรูปสินค้าเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรปี 2546-2547 ในอำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก