สืบค้นงานวิจัย
ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อมาตรฐานการแก้ปัญหาลำไย ปี 2547 ในจังหวัดลำพูน
ณรงค์ แสงมณีวรรณ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อมาตรฐานการแก้ปัญหาลำไย ปี 2547 ในจังหวัดลำพูน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ณรงค์ แสงมณีวรรณ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อโครงการแก้ไขปัญหาลำไยปี 2547 ในจังหวัดลำพูน เป็นการศึกษาการดำเนินการแก้ไขปัญหาลำไย ในปี 2547 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบลักษณะพื้นฐานบางประการของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในจังหวัดลำพูน ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อโครงการแก้ไขปัญหาลำไย ปี 2547 และปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อมาตรการการแก้ไขปัญหาลำไย ปี 2547 ในจังหวัดลำพูนรวมทั้งเพื่อทราบปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของเกษตรกรที่มีต่อมาตรการการแก้ไขปัญหาลำไยปี 2547 ในจังหวัดลำพูนสรุปผลได้ดังนี้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาลำไยจังหวัดลำพูนปี 2547 มีส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุเฉลี่ย 52.7 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีสมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 4.08 คน และมีประสบการณ์ในการปลูกลำไย11 ปีขึ้นไป เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 5.7 ไร่ส่วน รายได้ของเกษตรกรในรอบปีที่ผ่านมามีรายได้เฉลี่ย 25,000 บาท เป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆถึงร้อยละ 90.7 ส่วนความรู้ความเข้าใจต่อโครงการนั้น เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาลำไย ปี 2547 มีความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดเนื้อหาโครงการเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการดี แต่ไม่ค่อยสะดวกในการเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาลำไยปี 2547และขั้นตอนและวิธีการขายผลผลิตยุ่งยากมาก ส่วนความพึงพอใจของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาลำไยจังหวัดลำพูนปี 2547นั้น ประเด็นที่เกษตรกรมีความพึงพอใจมากคือ วิธีการรับเงินจากการจำหน่ายผลผลิตลำไยให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรแล้ว การขึ้นทะเบียนเกษตรกร (ลย.1)ก่อน จึงจะสามารถเข้าร่วมโครงการได้ และโครงการแก้ไขปัญหาลำไยโดยใช้มาตรการซื้อลำไยสด สำหรับประเด็นที่เกษตรกรความพึงพอใจน้อย คือ เกษตรกรต้องเข้าคิวยื่นใบ ลย.1 การคัดเกรด ตรวจสอบคุณภาพลำไยสด ต้องนำลำไยไปขาย ณ จุดรับซื้อ การกำหนดราคารับซื้อลำไยสด AA = 15 บาท A= 10 บาท และ B = 5 บาท และ การได้รับบริการในจุดรับซื้อ ประเด็นที่เกษตรกรมีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือจำนวนปริมาณจุดรับซื้อ ส่วนประเด็นที่เกษตรกรไม่พึงพอใจเลยคือการกำหนดผลผลิตต่อไร่ สำหรับปัญหาอุปสรรคของเกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาลำไยปี 2547 พบว่า กลุ่มเกษตรกร/สหกรณ์ไม่มีส่วนร่วมในโครงการแก้ไขปัญหาลำไยเลย การประมาณการผลผลิตลำไยต่อไร่ต่ำเกินไป ปริมาณจุดรับซื้อมีน้อยเกินไป ขั้นตอน/วิธีการในการปฏิบัติยุ่งยากมาก ใช้เวลาในการจำหน่ายลำไยนานเกินไป สำหรับในส่วนของจุดรับซื้อนั้น จุดรับซื้อไม่มีความพร้อมในด้านวัสดุอุปกรณ์ อตก.จ่ายเช็คไม่ตรงเวลาที่นัดไว้ และ จุดรับซื้ออยู่ไกลเกินไป โดยมีข้อเสนอแนะคือควรเพิ่มปริมาณจุดรับซื้อ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ประจำจุดรับซื้อให้พร้อม ลดขั้นตอนในการปฏิบัติและไม่ควรกำหนดปริมาณผลผลิตต่อไร่ รวมทั้งจุดรับซื้อควรอยู่ในหมู่บ้านเพื่ออำนวยความ สะดวกในการจำหน่ายผลผลิตลำไย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อมาตรฐานการแก้ปัญหาลำไย ปี 2547 ในจังหวัดลำพูน
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การศึกษาโครงการส่งเสริมการเลี้ยงจิ้งหรีด กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรบ้านหนองสร้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ปี 2547 การประเมินผลโครงการส่งเสริมการจัดการคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตร (กาแฟโรบัสต้า) จังหวัดระนอง ปี 2547 ลำไยและผลิตภัณฑ์ สภาพภูมิอากาศกับการให้ผลผลิตของลำไยจังหวัดลำพูน ปี 2525 - 2539 ประเมินผลโครงการส่งเสริมจัดการคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตร กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร (ส้มโอ) ประจำปี 2547 จังหวัดสมุทรสงคราม ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนปี 2547 การผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2547 การใช้ประโยชน์เงินกองทุนหมู่บ้านในการแก้ปัญหาหนี้สินนอกระบบของเกษตรกร ความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดภายใต้ระบบตลาดข้อตกลงในจังหวัดราชบุรี ปี 2547 ความพึงพอใจของเกษตรกรในจังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์ของศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 21 จังหวัดสุโขทัย ปี 2547

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก