สืบค้นงานวิจัย
ระบบการเกษตรผสมผสานของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ.2539
เอื้อ เชิงสะอาด - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ระบบการเกษตรผสมผสานของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ.2539
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เอื้อ เชิงสะอาด
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ประเสริฐ กองกันภัย
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาระบบการเกษตรผสมผสานของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ.2539 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ทำการเกษตรผสมผสานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศึกษารูปแบบการเกษตรผสมผสาน และความเห็นของเกษตรกรต่อการทำเกษตรผสมผสาน โดยเก็บข้อมูลจากเกษตรกรจากผู้ทำการเกษตรผสมผสาน จำนวน 240 ราย ใน 19 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งในเขตน้ำฝนและเขตชลประทาน เกษตรกรตัวอย่าง จังหวัดละ 10 - 20 ราย ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรผู้ทำการเกษตรผสมผสานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อายุเฉลี่ย 48 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน และอยู่ในวัยทำงานที่ช่วยทำการเกษตรได้เฉลี่ย 4 คน ระดับการศึกษาร้อยละ 76.25 จบชั้นประถมศึกษา (ป.1 - ป.7) สำหรับด้านอาชีพพบว่าเกษตรกร ร้อยละ 95.42 มีอาชีพการเกษตรอย่างเดียว ลักษณะการถือครองพื้นที่การเกษตรของเกษตรกรพบว่า ร้อยละ 79.59 มีพื้นที่ถือครองของตนเอง ซึ่งมีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 22.55 ไร่ต่อครัวเรือน นอกจากนั้นมีพื้นที่ทำการเกษตรผสมผสานเฉลี่ย 13 ไร่ต่อครัวเรือน เกษตรกรผู้ทำการเกษตรผสมผสาน ส่วนใหญ่จำนวนร้อยละ 81.25 เปลี่ยนจากกิจกรรมเดิม 1 กิจกรรมเป็นกิจกรรมใหม่มากกว่า 3 กิจกรรม ลักษณะการทำการเกษตรผสมผสานร้อยละ 91.67 จะมีการขุดสระน้ำขนาดเล็กในไร่นา กิจกรรมการเกษตรส่วนใหญ่ จำนวนร้อยละ 36.67 ได้แก่ ข้าว บ่อปลา สุกร ไม้ผลและพืชผัก ผลผลิตข้าวจากการเกษตรผสมผสาน ร้อยละ 77.08 จะบริโภคในครัวเรือนและมีเหลือจำหน่าย การใช้สารกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ 66.25 ใช้สารเคมีร่วมกับสารสกัดจากธรรมชาติ การใช้ปุ๋ยเกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 78.75 ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด เมื่อพิจารณาถึงรายได้ เกษตรกรผู้ทำการเกษตรผสมผสานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวนร้อยละ 69.58 มีรายได้ระหว่าง 30,000 - 50,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี จากกิจกรรมข้าว พืชผัก ปลา เลี้ยงไก่ สุกร และไม้ผล ไม้ยืนต้น การจำหน่ายผลผลิตเกษตรกรส่วนใหญ่จำนวนร้อยละ 88.33 จำหน่าย ณ บ้าน และไร่นาของเกษตรกร การวางแผนการผลิต เกษตรกรส่วนใหญ่จำนวนร้อยละ 71.67 มีการวางแผนการผลิต และจำนวนร้อยละ 73.33 มีการจดบันทึกและทำบัญชีไร่นา ในเรื่องสินเชื่อการเกษตรพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่จำนวนร้อยละ 76.25 ไม่ได้กูเงิน ในรายที่กู้เงิน จำนวนร้อยละ 75.43 วงเงินกู้เฉลี่ยน้อยกว่า 10,000 บาท แหล่งสินเชื่อส่วนใหญ่จำนวนร้อยละ 71.93 ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำหรับรูปแบบการผลิตของเกษตรผสมผสาน พบว่าเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีรูปแบบการผลิตเกษตรผสมผสาน ข้าว บ่อปลา สุกร ไม้ผล และพืชผัก ร้อยละ 31.67 รูปแบบ ข้าว บ่อปลา เลี้ยงไก่ ไม้ผลและพืชผัก ร้อยละ 31.25 ความเห็นของเกษตรกรต่อการทำเกษตรผสมผสาน เกษตรกรส่วนใหญ่จำนวนร้อยละ 82.50 พอใจต่อการทำเกษตรผสมผสาน เพราะเห็นว่าทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ดังกรณีตัวอย่าง นายบุญจันทร์ วังคง ทำการเกษตรผสมผสานในเขตน้ำฝน พื้นที่ 19 ไร่ เดิมมีรายได้ 14,250 บาท/ปี และมีกำไร 2,375 บาท/ปี เพิ่มขึ้นเป็น 74,350 บาท/ปี และมีกำไร 42,811 บาท/ปี หลังการทำเกษตรผสมผสาน และกรณีตัวอย่าง นายลดา บวชประโคน ทำการเกษตรผสมผสานในเขตชลประทาน พื้นที่ 17 ไร่ เดิมมีรายได้ 14,280 บาท/ปี และเป็นกำไร 4,080 บาท/ปี เพิ่มขึ้นเป็น 118,242 บาท/ปี และเป็นกำไร 84,692 บาท/ปี หลังการทำเกษตรผสมผสานและมีอาหารบริโภคอย่างเพียงพอในครอบครัว ร้อยละ 100 มีการใช้แรงงานอย่างเต็มที่ ร้อยละ 93.33 และทำให้สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศดีขึ้น ร้อยละ 89.58 ปัญหาในการทำเกษตรผสมผสานของเกษตรกร ได้แก่ ขาดเงินทุน ร้อยละ 65.83 ขาดแหล่งน้ำ ร้อยละ 29.58 ซึ่งต้องการให้ราชการสนับสนุน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2539
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระบบการเกษตรผสมผสานของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ.2539
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
การศึกษาออกมาอยู่นาเพื่อทำเกษตรระบบผสมผสานของเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น การเลี้ยงปศุสัตว์ในระบบเกษตรผสมผสานของเกษตรกรรายย่อย ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรต่อโครงการปรับโครงสร้างและระบบการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศึกษาปัจจัยการตัดสินใจปลูกหญ้าแฝกของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การสื่อสารเพื่อรับข่าวสารข้อมูลการเลี้ยงปลาของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาสภาพปัญหาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรในภาคตะวันออก ปี 2539 สภาพการทำไร่นาสวนผสมและเกษตรผสมผสานของเกษตรกร จังหวัดหนองบัวลำภู ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อย ด้วยการจัดการแบบบูรณาการในระบบเกษตรผสมผสานในจังหวัดน่าน สภาพการผลิตและความรู้เรื่องการจัดการโรคใบขาวอ้อยของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2545 การส่งเสริมการใช้แร่ธาตุสูตรใหม่ระดับฟาร์มเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก