สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตกกและทอเสื่อของเกษตรกรในภาคตะวันออก
สุนิสา ประไพตระกูล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตกกและทอเสื่อของเกษตรกรในภาคตะวันออก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุนิสา ประไพตระกูล
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกกกและทอเสื่อในภาคตะวันออก เพื่อศึกษาเทคโนโลยีการผลิตกกตามกระบวนการผลิตต่าง ๆ ครบทุกขั้นตอน ตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว การทอเสื่อและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ พร้อมทั้งศึกษาปัญหาและความต้องการของเกษตรกรในการผลิตกก การศึกษาครั้งนี้มีสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกกกทอเสื่อในภาคตะวันออก 3 จังหวัด คือจันทบุรี ปราจีนบุรี และนครนายก จำนวน 196 ราย ผลการศึกษาดังนี้ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรที่ผลิตกกทั้งหมด 196 ราย เป็นเพศหญิงร้อยละ 79.1 เป็นเพศชายร้อยละ 20.9 เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 48.6 ปี เกษตรกรร้อยละ 64.2 จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 44.9 มีสมาชิกในครัวเรือน 3-4 คน เกษตรกรมีสมาชิกที่ช่วยปลูกกกทอเสื่อ เฉลี่ย 2.1 คน ร้อยละ 46.4 ปลูกกกทอเสื่อเป็นอาชีพหลัก ร้อยละ 53.1 ปลูกกกทอเสื่อเป็นอาชีพรอง เกษตรกรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนี้มานานประมาณ 21-30 ปี เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกกกเฉลี่ย 1.2 ไร่ กกที่ปลูกคือกกจันทบูรณ์ โดยปลูกกกครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน อัตราเหง้าที่ใช้ปลูก 400-500 กำต่อไร่ เกษตรกรใส่ปุ๋ย 2-3 ครั้งต่อปี โดยส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 และ สูตร 46-0-0 ส่วนปุ๋ยอินทรีย์คือ ปุ๋ยกากน้ำปลา เกษตรกรกำจัดวัชพืช 1 ครั้งต่อปี และถอนแยกต้นกกในปีที่ 2 ขึ้นไป ศัตรูกกที่พบมากคือ โรคราน้ำค้าง หนูนา และตั๊กแตน เกษตรกรปลูกกกเพียงครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 4-5 ปี ได้ผลผลิตกกแห้งเฉลี่ย 487.8 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับการจักต้นกกนั้น เกษตรกรทั้งหมดจักต้นกกสดแล้วนำไปตาก 3-4 วัน จึงนำไปย้อมสี สีที่นิยม คือ แดง ดำ เขียว เหลือง ม่วง ชมพู น้ำเงิน ปริมาณการใช้เส้นกกแห้งทดเสื่อขนาด 4 5 6 7 8 9 และ 10 คืบ ใช้เส้นกกแห้งเฉลี่ย 1.2 1.4 1.8 2.1 2.6 2.9 และ 3.1 กิโลกรัมตามลำดับ เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้เวลาทอเสื่อทั้งวัน โดยทอเสื่อในช่วงว่างจากทำอาชีพหลัก เช่น หลังฤดูทำนา หลังการเลี้ยงกุ้ง เกษตรกรร้อยละ 62.8 ทอเสื่อได้วันละ 2 ผืน ราคาเส้นกกแห้งกิโลกรัมละ 26-35 บาท สำหรับการขายเสื่อกก จะมีพ่อค้ามาร้บซื้อถึงบ้าน เกษตรกรขายเสื่อกกขนาด 4 5 6 7 8 9 และ 10 คืบ ราคาเฉลี่ยผืนละ 96.1 120.5 136.6 158.9 202.1 299.3 และ 319.7 บาทตามลำดับ ปัญหาสำคัญในการปลูกกกคือ การขาดแรงงาน รองลงมาคือ โรคกกระบาด เกษตรกรขาดความรู้ในเรื่องการดูแลรักษาแปลงกก และต้นทุนการผลิตสูง ส่วนปัญหาในการผลิตเสื่อที่สำคัญที่สุด คือ ขาดแรงงานในการทอเสื่อ ปัญหารองลงมาคือ ต้นทุนในผลิตเสื่อสูง และเกษตรกรขาดความรู้ในการย้อมสีและออกแบบลวดลายเสื่อ สำหรับปัญหาด้านการตลาดที่สำคัญที่สุดคือ เสื่อกกราคาต่ำ รองลงมาคือ ตลาดผลิตภัณฑ์ยังไม่กว้างและเสื่อพลาสติกเข้ามาแข่งขัน เกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้แนะนำเรื่องการป้องกันกำจัดโรคกก สนับสนันปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมี จัดหาตลาดสำหรับจำหน่ายเสื่อและผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ให้ต้านทานโรคและเหมาะสมกับท้องถิ่น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดจันทบุรี ปราจีนบุรี และนครนายก
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตกกและทอเสื่อของเกษตรกรในภาคตะวันออก
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของเกษตรกรภาคตะวันออก โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โครงการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน การใช้เทคโนโลยีการผลิตสับปะรดบริโภคผลสดของเกษตรกร โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง การใช้เทคโนโลยีการผลิตผักกินใบของเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีการผลิตยางพารา ต่อรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยาง ปีการผลิต 2549 : กรณีศึกษาจังหวัดระยอง เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 แผนงานวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชในพื้นที่ภาคตะวันออก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก