สืบค้นงานวิจัย
การใช้เทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
มงคล คงสุข - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มงคล คงสุข
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง การใช้เทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร ในตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานบางประการทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตผักปลอดสารพิษและปัญหาในการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์เกษตรกร จำนวน 86 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการศึกษาดังนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาย อายุเฉลี่ย 54 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน แรงงานเฉลี่ย 2 คน พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 6.9 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตรของตนเองเฉลี่ย 6.9 ไร่ รายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 26,483.60 บาท รายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ย 6,409.30 บาท จำนวนหนี้สินเฉลี่ย 20,4732.56 บาท เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกผักเฉลี่ย 2.3 งาน นิยมปลูกผักบุ้ง โหระพา กระเพรา หอมแบ่งและผักชี ปลูกผักจำนวน 4 รุ่นต่อปี ซื้อเมล็ดพันธุ์ผักมาปลูกเอง ไม่มีการทดสอบความงอกก่อนการปลูก มีการเตรียมดินปลูก 2 ครั้งต่อรุ่น การตากดินเพื่อฆ่าเชื้อโรคในดินก่อนปลูกผัก 7 วันต่อรุ่น มีการใส่ปุ๋ยคอกก่อนการปลูกผัก ไม่มีการใส่ปุ๋ยหมัก มีการใส่น้ำหมักชีวภาพหลังปลูกผัก ใส่ปุ๋ยเคมีหลังการปลูก มีการใส่ปุ๋ยเคมี 2 ครั้งต่อรุ่น ไม่มีการใส่ปูนขาว ไม่มีการใช้สารเคมี ไม่มีการใช้สารสะเดา ไม่มีการใช้กับดักกาวเหนียว เชื้อชีวินทรีย์ ไส้เดือนฝอย ใช้ต้นทุนการผลิตผักเฉลี่ย 869.59 บาท มีรายได้จากการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษเฉลี่ย 1,212.91 บาท ปลูกผักปลอดสารพิษนอกมุ้งตาข่ายไนล่อน ปลูกผักปลอดสารพิษมาแล้ว 2 ปี เก็บผลผลิตตอนเย็น ขายผลผลิตโดยตรงแก่ผู้บริโภคโดยนำไปขายที่ตลาด ใช้ถุงพลาสติกบรรจุผลผลิต และไม่มีการตรวจสารพิษก่อนการจำหน่าย เกษตรกรประสบปัญหา ด้านปัจจัยการผลิต ในระดับมาก 4 เรื่อง คือ ปัญหาขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดี ปัญหาขาดเงินทุน ปัญหามีพื้นที่เพาะปลูกน้อย และปัญหาขาดแคลนแรงงาน ด้านการตลาด ปัญหาในระดับมาก 2 เรื่อง คือ ปัญหาราคาผลผลิตต่ำ และตลาดรับซื้อผลผลิตมีจำกัด และด้านการส่งเสริม มีปัญหาในระดับมาก 2 เรื่อง คือ ปัญหาขาดบริการสินเชื่อ ปัญหาขาดคำแนะนำด้านการตลาด ข้อเสนอแนะ ควรพัฒนาทักษะ ความรู้ ในการผลิตผัก การจัดการธุรกิจและวิเคราะห์กลไกของตลาด ควรจัดหาแหล่งเงินทุน แหล่งสินเชื่อ หรือกองทุนช่วยเหลือเกษตรกร และจัดหาปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพเพื่อบริการแก่เกษตรกรอย่างสม่ำเสมอ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
มงคล คงสุข
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรผักจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2547 การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร กรณีศึกษา : อำเภอเมือง อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ศึกษาใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลหนองสนิท อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลชุมแสง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลลุ่มระวี อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลแคน อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลอู่โลก อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก