สืบค้นงานวิจัย
การดำเนินการและการใช้สื่อเสียงตามสายเพื่อเกษตรกรในจังหวัดลำพูน
วิริยะ คล้ายแดง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การดำเนินการและการใช้สื่อเสียงตามสายเพื่อเกษตรกรในจังหวัดลำพูน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิริยะ คล้ายแดง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องการดำเนินงานและการใช้สื่อเสียงตามสายเพื่อเกษตรกรในจังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการบริหารและการดำเนินการเสียงตามสายในหมู่บ้านรวมทั้งศึกษาพฤติกรรมการรับฟังข่าวสารจากเสียงตามสาย เพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมการเกษตรผ่านสื่อเสียงตามสายในหมู่บ้าน การวิจัยนี้ ได้สำรวจข้อมูลจาก 12 หมู่บ้าน ตามการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดย 6 หมู่บ้านแรกได้สุ่มจากอำเภอที่มีกิจกรรมการเกษตรหนาแน่น (เขตเกษตรหนาแน่น) อีก 6 หมู่บ้านได้สุ่มจากอำเภอที่มีกิจกรรมการเกษตรไม่หนาแน่น (เขตเกษตรไม่หนาแน่น) รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม ประชากรที่ศึกษาคือผู้ดำเนินการเสียงตามสายทั้ง 12 หมู่บ้าน ซึ่งมีอยู่ 14 คน และเกษตรกรผู้รับฟังหมู่บ้านละ 15 คน ซึ่งสุ่มตามกลุมฐานะทางเศรษฐกิจได้แก่ ฐานะดี ฐานะปานกลาง ฐานะไม่ดี กลุ่มละ 5 คน รวมเกษตรกรที่ศึกษาทั้งหมด 180 คน จากการศึกษาพบว่าผู้ดำเนินการฯ ทุกคนเป็นชาย มีอายุเฉลี่ย 47 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และมีอาชีพเกษตรกรรม สื่อมวลชนที่นิยมเปิดรับสูงสุดคือวิทยุโทรทัศน์ สำหรับเสียงตามสายส่วนใหญ่จะติดตั้งที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งทุกหมู่บ้านผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดำเนินการ และเกือบทั้งหมดประชาชนเป็นผู้สนับสนุนเงินและค่าซ่อมแซม ส่วนค่าไฟฟ้าผู้ดำเนินการออกเอง ผู้ดำเนินการจะกระจายเสียงเฉลี่ยเดือนละประมาณ 10 วัน นิยมกระจายเสียงช่วงเช้า (6.00-7.00 น.) และกระจายเสียงนานประมาณ 5-10 นาที วิธีการพูดสดเป็นรูปแบบี่ยการที่นิยมใช้จัดรายการมากที่สุด ส่วนเนื้อหาที่นำมาเผยแพร่จะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับข่าวทั่วไปในหมู่บ้านมากที่สุด องค์กรที่สนับสนุนและแนะนำช่วยเหลือสูงสุดคือฝ่ายสาธารณสุข ผู้ดำเนินการส่วนมากจะประสพปัญหาเรื่องขาดคุณภาพของเสียงที่กระจายออกไป เนื่องจากการจัดการเทคนิคเครื่องมือและมีเครื่องมือไม่ค่อยดี สำหรับเกษตรกรผู้รับฟังเสียงตามสายที่ได้รับการสอบถาม พบว่า 2 ใน 3 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ยประมาณ 40 ปี ส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นเกษตรกรผู้นำร้อยละ 13 สื่อวิทยุโทรทัศน์เป้นสื่อที่เปิดรับฟังมากที่สุด รองลงมาคือวิทยุกระจายเสียง หนังสือพิมพ์ ตามลำดับ เกษตรกร 2 ใน 3 ระบุว่ารับฟังเสียงตามสายได้ชัดเจนดี และรับฟังทุกครั้งที่มีการเปิดกระจายเสียง โดยรับฟังในช่วงเช้ามากที่สุด และมีพฤติกรรมการรับฟังซึ่งเกษตรกรได้ระบุดังนี้ ร้อยละ 82 ขณะรับฟังมีเสียงรบกวน ร้อยละ 69 ตั้งใจฟังเสนอ ร้อยละ 77 เข้าใจเรื่องที่ฟังได้อย่างดี ร้อยละ 54 ขณะรับฟังมีเสียงรบกวน ร้อยละ 24 กล้าจะติชมการกระจายเสียง ร้อยละ 50 ได้นำเรื่องที่ฟังไปพูดคุยหรือแนะนำกับผู้อื่นบ้าง ร้อยละ 81 ไม่ได้รู้สึกรำคาญเสียงที่ส่งตามสาย ร้อยละ 78 มีทัศนคติชอบการดำเนินการเสียงตามสายในหมู่บ้านของตน ประมาณกว่าร้อยละ 80 ได้รับความรู้ทั้งในเรื่องทั่วไปและเรื่องทางเกษตรในระดับน้อยถึงปานกลาง และได้นำความรู้เหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ในระดับน้อยถึงปานกลางเช่นกัน เกษตรกรส่วนใหญ่เสนอว่า ควรจะมีการให้ความรู้ทางการเกษตรที่เหมาะสมผ่านสื่อเสียงตามสายบ่อยครั้งโดยเนื้อหาทางเกษตรที่ต้องการได้แก่ การตลาดทางเกษตร การกำจัดศัตรูพืชโรคพืช ปุ๋ย ส่วนเนื้อหาด้านอื่นที่สนใจรองลงมาคือ เรื่องสุขภาพอนามัย โดยทั่วไปสภาพการดำเนินการเสียงตามสายระหว่างเขตเกษตรหนาแน่นและเกษตรไม่หนาแน่น จะไม่แตกต่างกัน แต่พฤติกรรมการรับฟังในด้าน "ฟังได้อย่างชัดเจน" "ฟังอย่างตั้งใจ" "ความเข้าใจในเรื่องที่ฟัง" "มีทัศนคติที่ดีต่อการกระจายเสียง" "ได้รับความรู้มากและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้มาก" ที่มากกว่า จากผลการสอบสมมติฐาน พบว่า หมู่บ้านที่ได้รับการสนับสนุนข่าวสาร/ข้อมูลจากองค์กรภายนอกสูงประสิทธิภาพการดำเนินการเสียงตามสายซึ่งประเมินโดยเจ้าหน้าที่ระดับตำบลจะสูงหรือดีตาม ซึ่งเสียงตามสายที่มีประสิทธิภาพดีเกษตรกรจะมีทัศนคติที่ดีต่อเสียงตามสาย ทั้งไดเรับความรู้มากและนำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์มาก และยังพบว่าเกษตรกรที่ฟังเสียงตามสายได้ชัดเจนดีจะมีพฤติกรรมการรับฟังในด้าน ปริมาณการรับฟัง ความตั้งใจฟัง ทัศนคติที่ดีและได้รับความรุ้มากกว่าเกษตรกรที่ฟังไม่ชัดเจน ส่วนเกษตรกรผู้ชายมีพฤติกรรมการรับฟังในด้านสภาพรับฟังที่ดี เข้าใจเรื่องที่ฟังสูง และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์มากกว่าเกษตรกรผู้หญิง การวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่า ควรปรับปรุงเสียงตามสายให้มีคุณภาพเสียงที่ชัดเจนและเสนอข่าวที่เหมาะสมตามสภาพท้องถิ่นนั้นโดยเฉพาะข่าวสารพัฒนาอาชีพเกษตร เกษตรตำบลควรมาใช้สื่อเสียงตามสายให้มากขึ้น และหน่วยงานต่างๆ ควรสนับสนุนข่าวสารให้ผู้ดำเนินการฯ อย่างเพียงพอ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2535
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2535
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/35444
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดลำพูน
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การดำเนินการและการใช้สื่อเสียงตามสายเพื่อเกษตรกรในจังหวัดลำพูน
กรมส่งเสริมการเกษตร
2535
เอกสารแนบ 1
การใช้เทคโนโลยีของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย จังหวัดลำพูน สภาพการผลิตและการตลาดลำไยของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการดำเนินการปฏิรูปที่ดิน อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี การยอมรับของเกษตรกรที่มีต่อวิธีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริจังหวัดลำพูน ปี 2543-2544 ความต้องการฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมหลักสูตรระยะสั้นของเกษตรกรจังหวัดลำพูน ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการยอมรับข้าวพันธุ์ปรับปรุงใหม่ของเกษตรกรในท้องที่ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการทำเกษตรกรรมตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้แบคทีเรียควบคุมศัตรูตระกูลกะหล่ำของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน สื่อส่งเสริมการเกษตรที่เกษตรกรในจังหวัดสมุทรสาครสนใจและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้เพื่อพัฒนาอาชีพการเกษตร ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก