สืบค้นงานวิจัย
ความสูญเสียทางการเงินและผลกระทบต่อการค้าในการทำการประมงอวนลากคู่บริเวณอ่าวไทยตอนใน
รัตนาวลี พูลสวัสดิ์, นิภา กุลานุจารี - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ความสูญเสียทางการเงินและผลกระทบต่อการค้าในการทำการประมงอวนลากคู่บริเวณอ่าวไทยตอนใน
ชื่อเรื่อง (EN): Financial loss and the effect on trade of the pair trawl fisheries in the inner Gulf of Thailand.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาอัตราการจับองค์ประกอบชนิดและองค์ประกอบขนาดของสัตว์น้ำจากเรือประมงอวนลากคู่ ในบริเวณอ่าวไทยตอนใน ปี 2555 พบว่า มีการลงแรงประมงเฉลี่ย 208.24 ชม./ลำ/เที่ยวและอัตราการจับเฉลี่ย 106.579 กก./ชม.อัตราการจับของสัตว์น้ำเศรษฐกิจกับปลาเป็ดเท่ากับ 51.108 และ 55.471 กก./ชม. โดยอัตราการจับของสัตว์น้ำพลอยจับได้เท่ากับ 1.671 กก./ชม คิดเป็นร้อยละ 1.57 ของอัตราการจับรวมองค์ประกอบของสัตว์น้ำทั้งหมดพบว่าอัตราส่วนของสัตว์น้ำเศรษฐกิจต่อปลาเป็ดเท่ากับ 47.95:52.05 โดยมีองค์ประกอบชนิดของสัตว์น้ำพลอยจับได้ต่อสัตว์น้ำเศรษฐกิจเท่ากับ 2.28:97.72 และองค์ประกอบชนิดของสัตว์น้ำพลอยจับได้ต่อปลาเป็ดเท่ากับ 0.91:99.09 โดยองค์ประกอบชนิดของสัตว์น้ำพลอยจับได้ที่มีปริมาณสูงได้แก่ ปลาปักเป้า ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลากระโทงร่ม ปลากระโทงแทง และม้าน้ำ สัตว์น้ำพลอยจับได้ส่วนใหญ่มีขนาดต่ำกว่าขนาดแรกสืบพันธุ์ ปริมาณการจับสัตว์น้ำทั้งหมดลดลงแต่ปริมาณสัตว์น้ำพลอยจับได้เพิ่มสูงขึ้น และชนิดของสัตว์น้ำพลอยจับได้เมื่อพิจารณาจากสถานภาพของสัตว์น้ำจากบัญชีของอนุสัญญาว?าด?วยการค?าระหว?างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป?าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora : CITES) และสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural : IUCN) พบว่าส่วนใหญ่จัดอยู่ในสถานภาพความเสี่ยงต่ำ
บทคัดย่อ (EN): Study on catch per unit effort (CPUE), species composition and total length of marine resources caught by a pair trawler in 2012 were conducted around the inner Gulf of Thailand areas. Fishing effort was 208.24 hr/boat/trip and mean CPUE was 106.579 kg/hr. The ratio between economic fish and trash fish species were 51.108 kg/hr and 55.471 kg/hr. The catch rate of by catch was 1.671 kg/hr. (1.57%) of total catch. The catch rate between by catch and economic fish species was 2.28:97.72, by catch and trash fish was 0.91:99.09. Species composition of by catch were dominated by puffer, sharks, rays, billfish, swordfish and sea horse respectively. Almost of by catch were smaller than the size at first maturity (Lm). Result showed total catch per unit effort (CPUE) was decreasing while catch rate of by catch was increasing. Almost of by catch status were categorized in low threaten by Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora (CITES) and International Union for Conservation of Nature and Natural (IUCN).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความสูญเสียทางการเงินและผลกระทบต่อการค้าในการทำการประมงอวนลากคู่บริเวณอ่าวไทยตอนใน
กรมประมง
30 กันยายน 2556
กรมประมง
การประเมินความสูญเสียทางการเงินในการนำลูกสัตว์น้ำมาใช้ก่อนระยะแรกเริ่มสืบพันธุ์จากการประมงอวนลากคู่ในอ่าวไทยตอนใน ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทำประมงอวนลากคู่บริเวณอ่าวไทยตอนใน การประมงหมึกกระดองจากเครื่องมืออวนลากพาณิชย์ในอ่าวไทย สัตว์น้ำพลอยจับได้จากการทำประมงอวนลากคู่ในบริเวณอ่าวไทยตอนใน ผลกระทบของการประมงลอบหมึกสายบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง ทรัพยากรประมงจากการประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนใน การเปลี่ยนแปลงสภาวะทรัพยากรประมงบริเวณอ่าวไทยตอนใน ทรัพยากรประมงจากเรืออวนลากคู่บริเวณอ่าวไทยตอนใน ทรัพยากรประมงจากเรืออวนดำบริเวณอ่าวไทยตอนใน การประมงกุ้งทะเลจากเครื่องมืออวนลากคานถ่างและอวนลากแผ่นตะเฆ่บริเวณอ่าวไทยตอนในและบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก