สืบค้นงานวิจัย
การจัดการดินที่เหมาะสมด้วยพืชปุ๋ยสดร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ และแหนแดงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และผลผลิตของผักคะน้า ข้าวโพดฝักอ่อนภายใต้การปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มชุดดินที่ 7
สุพัตรา จีรัตน์, สมศักดิ์ จีรัตน์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การจัดการดินที่เหมาะสมด้วยพืชปุ๋ยสดร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ และแหนแดงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และผลผลิตของผักคะน้า ข้าวโพดฝักอ่อนภายใต้การปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มชุดดินที่ 7
ชื่อเรื่อง (EN): Appropriate Soil Management with Green Manure Bio-fertilizer and Azolla on Soil Fertility and Yield of Chinese Kale and Baby Corn under Organic Cultivation System on Soil Group 7
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการจัดการดินที่เหมาะสมด้วยพืชปุ๋ยสดร่วมกับปุ๋ยชีวภาพและแหนแดงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินต่อผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อนภายใต้การปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มชุดดินที่ 7 เป็นการทดลองศึกษาผลของเชื้อจุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดิน พด.11 ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และแหนแดงที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางเคมี ชีวภาพบางประการของดินที่มีการปลูกข้าวโพดฝักอ่อนบนพื้นฐานการจัดการแบบอินทรีย์ วางแผนการทดลองแบบ Split plot มี Main plot 3 กรรมวิธี ได้แก่ 1.) การปลูกปอเทืองโดยใส่เชื้อจุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดิน พด.11 โดยคลุกเชื้อด้วย Gum acacia กับเมล็ดปอเทือง 2.) การปลูกปอเทืองโดยใส่เชื้อจุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดิน พด.11 กับวัสดุรองรับเชื้อ 3.) การปลูกปอเทืองโดยใส่เฉพาะวัสดุรองรับเชื้อ โดยมี sub plot 6 กรรมวิธี และ มี 3 ซ้ำ ของการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน ในแปลงย่อยขนาด 2 x 5 ตารางเมตร ดังนี้1.ให้ปุ๋ยตามวิธีของเกษตรกรที่เคยปฏิบัติ 2.ให้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดินและความต้องการของพืชทดลอง 3.ให้ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตราแนะนำ 300 กก. /ไร่ 4.ให้แหนแดงแห้งในอัตรา 200 กก./ไร่ 5.ให้ ? ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดินและความต้องการของพืชทดลอง + ? ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตราแนะนำ และ 6.ให้ ? ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดินและความต้องการของพืชทดลอง + แหนแดงแห้งอัตรา 100 กก./ไร่ ผลการทดลองพบว่ารูปแบบการปลูกปอเทืองโดยการใส่เชื้อจุลินทรีย์ พด. 11 โดยวิธีคลุกเชื้อด้วย Gum acacia กับเมล็ดปอเทือง และวิธีการปลูกปอเทืองโดยใส่เชื้อจุลินทรีย์ พด. 11 กับวัสดุรองรับเชื้อให้ค่าความสูงต้นข้าวโพดที่มากกว่าการปลูกปอเทืองโดยใส่เฉพาะวัสดุรองรับเชื้ออย่างเดียว ขณะที่รูปแบบการให้ปุ๋ย ? ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดินและความต้องการของพืชทดลอง + แหนแดงแห้งอัตรา 100 กก./ไร่ ทำให้ค่าความสูงเฉลี่ยของข้าวโพดสูงที่สุดทุกระยะการเจริญเติบโต สำหรับทางด้านของน้ำหนักสดต้น แห้งต้น สดฝัก แห้งฝัก และน้ำหนักผลผลิตสดรวมของข้าวโพดทั้ง 3 ปี การคลุกเชื้อ พด. 11 ด้วย Gum acacia กับเมล็ดปอเทืองทำให้ค่าผลผลิตดังกล่าวมากกว่าการปลูกปอเทืองโดยใส่เชื้อจุลินทรีย์ พด.11 กับวัสดุรองรับเชื้อ และใส่เฉพาะวัสดุรองรับเชื้อเพียงอย่างเดียว ขณะที่รูปแบบการให้ปุ๋ยที่ทำให้ความสูงข้าวโพดสูงสุดก็ทำให้ค่าผลผลิตรวมปีที่ 1, 2 และ 3 สูงสุดเช่นกัน ทางด้านการเปลี่ยนแปลงมวลชีวภาพจุลินทรีย์ดินในรูปคาร์บอน และไนโตรเจนก่อนการปลูกและหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดมีความแปรปรวนค่อนข้างสูงระหว่างตำรับการทดลอง สำหรับคุณสมบัติของค่า pH และ EC ในดินในแต่ละรูปแบบการจัดการใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.11 ทั้ง 3 รูปแบบให้ค่าไม่แตกต่างกัน ขณะที่ผลในด้านค่า OM นั้นการปลูกปอเทืองโดยใส่เชื้อจุลินทรีย์ พด.11 โดยคลุกเชื้อด้วย Gum acacia กับเมล็ดปอเทืองให้ค่ามากที่สุด ทางด้านการจัดการดินโดยการใส่ปุ๋ยทั้ง 6 รูปแบบต่อค่า pH , EC และ OM มีความแปรปรวนค่อนข้างสูงในแต่ละปี แต่ค่าดังกล่าวสูงมากขึ้นในปีที่ 2 และ 3 เมื่อเทียบกับปีที่ 1 ของแต่ละการจัดการปุ๋ย ส่วนคุณสมบัติด้านธาตุอาหารหลัก N ในดินหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยการใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.11 ทั้ง 3 ปี ไม่มีความแตกต่างกัน ขณะที่ค่า P และ K ทั้ง 3 ปีที่มีการปลูกปอเทืองโดยใส่เชื้อจุลินทรีย์ พด.11 กับวัสดุรองรับเชื้อ และการใส่เฉพาะวัสดุรองรับเชื้ออย่างเดียวให้ค่า P และ K ทั้ง 3 ปี สูงกว่าการปลูกปอเทืองด้วยวิธีการปลูกโดยคลุกเชื้อด้วย Gum acacia นอกจากนี้พบว่ามีปฏิสัมพันธ์ร่วมของการใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.11 กับรูปแบบการจัดการดิน โดยการใส่ปุ๋ยทั้ง 6 รูปแบบต่อการสะสมฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปเป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่อยู่ในรูปละลายได้ของดินในแปลงข้าวโพด โดยรูปแบบการใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.11ที่ใส่เฉพาะวัสดุรองรับเชื้อให้ค่าเฉลี่ยทุกรูปแบบการจัดการดินด้วยการใส่ปุ๋ยทั้ง 6 รูปแบบที่ค่าสูงสุด และต่ำสุดในรูปแบบการใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.11 โดยการคลุกเชื้อด้วย Gum acacia
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการดินที่เหมาะสมด้วยพืชปุ๋ยสดร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ และแหนแดงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และผลผลิตของผักคะน้า ข้าวโพดฝักอ่อนภายใต้การปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มชุดดินที่ 7
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2555
การจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสดหลายชนิด สำหรับการปลูกข้าวในกลุ่มชุดดินที่ 7 การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง การจัดการดินที่เหมาะสมร่วมกับพืชปุ๋ยสด โดยใช้ไรโซเบียม (พด.11) และแหนแดง เพื่อเพิ่มผลิตข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ในกลุ่มชุดดินที่ 18 การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด การจัดการดินตื้นด้วยปุ๋ยชีวภาพร่วมกับเพอร์ไลท์ในการส่งเสริมกิจกรรมของจุลินทรีย์เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และผลผลิตข้าวโพด การจัดการดินและปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน จังหวัดอุตรดิตถ์ (กลุ่มชุดดินที่ 35) การคัดเลือกและพัฒนาชนิดพืชปุ๋ยสดและพืชคลุมดินท้องถิ่นไม่อยู่ในกลุ่มพืชตระกูลถั่วที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินในสภาพดินที่มีปัญหา การจัดการดินที่เหมาะสมด้วยปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับวัสดุปรับปรุงดิน เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตข้าวโพดหวาน ในชุดดินเขาพลอง (กลุ่มชุดดินที่ 44) ศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสมร่วมกับพืชปุ๋ยสดเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในกลุ่มชุดดินที่ 29

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก