สืบค้นงานวิจัย
โครงการศึกษารูปแบบและกระบวนการพัฒนาองค์กรชุมชนบนพื้นที่สูง
เกษราภร ศรีจันทร์ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการศึกษารูปแบบและกระบวนการพัฒนาองค์กรชุมชนบนพื้นที่สูง
ชื่อเรื่อง (EN): The Study on Institutional Development of Community-Based Organizations in the Thai Highland
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เกษราภร ศรีจันทร์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: รัชนีวรรณ แสงโสภา
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการพัฒนาองค์กรชุมชนและสถาบันชุมชนในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง พบว่ารูปแบบองค์กรชุมชนที่มีอยู่ในชุมชนมีลักษณะที่ทางการคือมีการจดทะเบียนกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและมีกฎหมายรองรับ และลักษณะที่ไม่เป็นทางการซึ่งหมายถึงการรวมตัวกันทางสังคม ความจำเป็นของการการรวมกลุ่มกันเพื่อจัดตั้งเป็นองค์กรชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่ทางการแบ่งออกเป็น 4 ด้านคือ 1) รวมกลุ่มเพื่อความอยู่รอด เช่น กลุ่มการออม 2) รวมกลุ่มเพื่อเพิ่มพลังปัญญา เช่น กลุ่มโรงสีข้าวชุมชน กลุ่มเครือข่ายลุ่มน้ำ และ 3) รวมกลุ่มเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มสหกรณ์ และ 4) รวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็ง โดยองค์กรชุมชนส่วนใหญ่ในโครงการขยายผลโครงการหลวงได้รับการจัดตั้งและส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ ส่งผลให้ระยะการจัดตั้งเริ่มต้นดำเนินการได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วแต่การบริหารจัดการของกลุ่มองค์กรจำเป็นต้องได้รับการขับเคลื่อนต่อเนื่องในระยะยาว ในขณะที่กรณีศึกษาองค์กรชุมชนที่ประสบผลสำเร็จจะมีขั้นตอนการริเริ่มกลุ่มที่มีระยะเวลานานกว่า แต่สามารถบริหารจัดการตนเองได้ในระยะยาวและมีบทบาทของภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมจำกัด ดังนั้นกระบวนการพัฒนาองค์กรชุมชนในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงจึงต้องให้ความสำคัญและมีกระบวนการริเริ่มกลุ่มอย่างละเอียดอ่อน
บทคัดย่อ (EN): The research program aim to explore type and stepwise of community-based organization (CBOs) in highland. The study discovered that there are both formal CBOs that are registered under relevant law and informal ones that are socially formed and functioned by community. Main drivers of CBOs establishment are 1) maintaining community survival e.g. saving group 2) integration knowledge and wisdom e.g. village rice mill group, catchment management 3) increasing negotiation e.g. cooperatives, village enterprise and 4) self-help management. Most of CBOs in the Royal Project Extended area are formed by government entities with quick initiation phase but long term coaching is needed. Whereas, strong CBOs took longer time in initiation phase but sustain self-management in longer term. Hence, further development of CBOs must carefully address the stepwise in particular in the initiation stage.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการศึกษารูปแบบและกระบวนการพัฒนาองค์กรชุมชนบนพื้นที่สูง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2558
การผลิตอาหารสัตว์จากขยะอินทรีย์ของชุมชน การพัฒนากระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบมีส่วนร่วม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงไก่ฟ้าและไก่เบรสบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1 โครงการวิจัยและพัฒนาไก่ฟ้าเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชนบนพื้นที่สูง ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงไก่ฟ้าและไก่เบรสบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 2 โครงการวิจัยและพัฒนาไก่เบรสเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชนบนพื้นที่สูง โครงการศึกษาการบริหารจัดการศัตรูพืชของชุมชน การพัฒนาศักยภาพการผลิตไก่พื้นเมืองของชุมชนบนพื้นที่สูงของจังหวัดน่าน การวิจัยการเพิ่มผลผลิตไก่พื้นเมืองบนพื้นที่สูง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการน้ำเขื่อนลำปาวให้สัมฤทธิ์ผล “กรณีศึกษาในเขตพื้นที่ส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว” โครงการวิจัยและพัฒนาไก่ฟ้าเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชนบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 2 โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนบนพื้นที่สูง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก