สืบค้นงานวิจัย
การทดสอบปุ๋ยกับหอมแดงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สนั่น รัตนานุกูล - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การทดสอบปุ๋ยกับหอมแดงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Fertilizer Trial on Shallot in the Northeast
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สนั่น รัตนานุกูล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sanan Ratananukul
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ได้นำผลการทดลองปุ๋ยหอมแดงในดินชุดเรณู จากศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษไปใช้ในทดสอบในแหล่งปลูกหอมแดง อำเภอเมือง ราษีไศล ยางชุมน้อย และกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ รวม 5 แห่ง ซึ่งดินนาชุดเรณู 2 แปลง ชุดร้อยเอ็ด 2 แปลง ทั้ง 4 แปลงนี้ เกษตรกรใช้ปลูกหอมแดงหลังฤดูทำนามาแล้ว 10 ถึง 30 ปี และใส่ปุ๋ยทุกปี อีกแปลงหนึ่งเป็นดินชุดสันป่าตอง เกษตรกรใช้ปลูกแตงโมมาบ้าง แต่ไม่เคยปลูกหอมแดงมาก่อนในการทดลองครั้งนี้ได้วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block แปลงละ 6 ซ้ำ กรรมวิธีประกอบด้วยปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัส อย่างละ 2 ระดับ คือ 10 และ 20 กก. N และ P2O5/ ไร่ เปรียบเทียบกับไม่ใส่ปุ๋ย ผลการทดลองพบว่า ความอุดมสมบูรณ์ของดินก่อนปลูกและอัตราปุ๋ยที่ใส่มีผลโดยตรงต่อปริมาณผลผลิต ในด้านการใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิต เมื่อใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 10 กก.N/ไร่ ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากไม่ใส่ปุ๋ย 54% โดยเฉลี่ยหอมแดงดูดไนโตรเจนจากปุ๋ยไปใช้ (N - recovery) 17.5% การใส่ปุ๋ยมากกว่านี้ไม่ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีก ยกเว้นในดินที่มีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 0.5% ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 20 กก.N/ไร่ สำหรับฟอสฟอรัส หอมแดงมีการตอบสนองต่อปุ๋ยสูง เมื่อใส่ปุ๋ย 10 และ 20 กก. P2O5/ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 48 และ 58% จากไม่ใส่ปุ๋ย หอมแดงดูดฟอสฟอรัสจากปุ๋ยได้เท่ากับ 7.8 และ 4.6% ตามลำดับ ในดินที่มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้สูงกว่า 60 ppm ใส่ฟอสฟอรัส 10 กก. P2O5/ไร่
บทคัดย่อ (EN): Indications from shallot fertilizer experiment in Renu soil of Sisaket Horticultural Research Center was tested in farmer’s field at five locations in Sisaket province. The sites at Amphoe Muang and Rasisalai were on Renu soil, the two sites at Yangchumnoi were on Roi-Et soil and the site at Kunthararom was San-Pa-Tong soil. The sites on Roi-Et and Renu soil have been under shallot cultivation for 10 to 30 years and had received fertilizer treatment every year. The site on San-Pa-Tong soil was previously cropped with watermelon and has never been under shallot cultivation before. Six replications of 2 x 2 combinations between 10 and 20 kg N and P2O5 per rai plus a check treatment in randomized complete block design were used for the evaluation. Results of the experiment showed that fertility level of the soils before planting and fertilizer application rates have a remarked effect on the yield of shallot. The soil fertility indexes highly correlated to the yield (r2= 0.985) are available Bray II-P, extractable A1 and the soil pH. The relations is Yield (kg/rai) = 11187 + Bray II-P (ppm) – 45.5 extractable A1 (ppm) – 931 soil pH. Nitrogen fertilizer application of 10 kg N per rai increased the average yield 54% from check. Nitrogen recovery by the plants was 17.5%. Application of more than 10 kg N per rai did not increase the yield except in the soils that had organic matter content less than 0.5 percent. Shallot showed high response to phosphorus applications. The average yield increased 48 and 58 percent from check with the application of 10 and 20 kg P2O5 per rai, respectively. The P recovery from the application of 10 and 20 kg P2O5 per rai was 7.8 and 4.6 percent, respectively. In the soil that had available phosphorus content more than 60 ppm, fertilizer application rate of 10 kg P2O5 per rai was adequate for shallot.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2532
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2532
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดสอบปุ๋ยกับหอมแดงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมวิชาการเกษตร
2532
เอกสารแนบ 1
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอสหอมแดง โปรแกรมฐานข้อมูลแนะนำการใช้ปุ๋ย dbFRec for DOS การประเมินพันธุ์ข้าวหอมพื้นเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาการใช้สารกำจัดวัชพืชในหอมแดงของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลไกตลาดยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระบบการผลิตยางพาราภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสม ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก