สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มประสิทธิภาพของหัวเชื้อไรโซเบียมในการแข่งขันเพื่อการเข้าสร้างปมกับพืชตระกูลถั่ว
หนึ่ง เตียอำรุง - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มประสิทธิภาพของหัวเชื้อไรโซเบียมในการแข่งขันเพื่อการเข้าสร้างปมกับพืชตระกูลถั่ว
ชื่อเรื่อง (EN): Enhancing the competition efficiency of rhizobial inoculant for nodulation with leguminous plant
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: หนึ่ง เตียอำรุง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: สภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมในดิน เช่น ดินกรด ความแล้ง อุณหภูมิสูง หรือในบางพื้นที่อาจ มีสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ ร่วมกันมากกว่าหนึ่งปัจจัย เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประสิทธิภาพของหัวเชื้อไร โขเบียมลดลง และส่งผลให้ไม่ประสบความสำเร็จในการเข้าสร้างปม และตรึงไนโตรเจน การคัดเลือกเชื้อไร โซเบียมที่ทนต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมแบบต่าง ๆ รวมทั้งการใช้สาร compatible solute เสริมใน อาหารเลี้ยงเชื้อในการผลิตหัวเชื้อไรโชเบียมจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนาประสิทธิภาพของหัวเชื้อไร โซเบียม โครงการวิจัยนี้ได้คัดเลือกเชื้อ Bradyrthizobium sp. isolate 194 ซึ่งเป็นเชื้อไรโซเบียมที่มี ความสามารถในการทนต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี โดยให้ผลในการตรีงไนโตรเจน และน้ำหนักแห้ง ของถั่วสูงสุดในสภาวะเครียดแบบต่าง ๆ และยังมีความสามารถในการแข่งขันเพื่อเข้าสร้างปมกับถั่วเหลือง ได้ ดีกว่าเชื้อ USDA110 ที่เป็นเชื้อไรโซเบียมทางการค้าสำหรับถั่วเหลือง ทั้งนี้การเสริมน้ำตาลซูโครส เพื่อทำ หน้าที่เป็น compatible solute ที่ความเข้มข้น 300 มิลลิโมลาร์ ช่วยให้เชื้ออยู่รอด และเจริญได้ดีกว่าการเติม สารชนิดอื่น โดยพบว่าเชื้อไรโซเบียมที่มีการเสริมน้ำตาลซูโครสสามารถใช้เมทาบอลิซึมในการเปลี่ยนให้เป็น น้ำตาลชนิดต่าง ๆ แล้วสะสมภายในเชลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตาลกลีเซอรอล และน้ำตาลทรีฮาโรส ที่ เกี่ยวข้องกับการป้องกันเซลล์เมื่อเผชิญกับสภาะเครียด ดังนั้นกลไกนี้สามารถช่วยให้ไรโซเบียมอยู่รอดได้ใน สภาวะเครียด และส่งผลต่อการส่งเสริมการเจริญของต้นถั่วเหลือง อย่างไรก็ตามการพัฒนาเชื้อไรโซเบียมที่ คัดเลือกได้นี้ให้เป็นปุยชีวภาพ จำเป็นต้องคำนึงถึงกระบวนการกำจัดเชื้อปนเปื้อนที่มีประสิทธิภาพในวัสดุ พาหะ เช่น พีท หรือวัสดุอินทรีย์อื่น ๆ ที่ย่อยสลายแล้วเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตหัวเชื้อไรโซเบียม ทั้งนี้จาก งานวิจัยพบว่าการเตรียมวัสดุพาหะที่ต้องการกำจัดเชื้อปนเปื้อนให้มีความชื้น 10 เปอร์เซ็นต์ โดยบรรจุใน ถุงพลาสติกชนิดโพลีเอทธิลีน สามารถใช้วิธีการกำจัดเชื้อปนเปื้อนด้วยการฉายรังสีแกมมาที่ปริมาณรังสี 10-20 กิโลเกรย์ หรือการนี่งด้วยความดันไอน้ำ (autoclave) ด้วยเทคนิค tyndalization โดยการนึ่งด้วยความดันไอ น้ำ 2 ครั้ง ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 นาที โดยมีทิ้งระยะเวลาหลังจากการนึ่งด้วยความดัน ไอน้ำครั้งแรก 18 ชั่วโมง ก่อนการนี่งครั้งที่ 2 สามารถกำจัดเชื้อปนเปื้อนได้ดี และเมื่อนำไปผลิตหัวเชื้อไร โชเบียม สามารถทำให้เชื้อมีชีวิตอยู่รอดได้ในพีทนานถึง 6 เดือน โดยมีปริมาณเชื้อในช่วง 10-10 เชลล์ต่อ กรัม อย่างไรก็ตามจำนวนของเชื้อไรโขเบียมในวัสดุพาหะที่ผลิตจากวัสดุอินทรีย์ที่ย่อยสลายแล้ว สามารถมีอายุ การเก็บรักษาได้เพียง 1 เดือน ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า ชนิดของวัสดุพาหะมีอิทธิพลสำคัญต่อคุณภาพ ของปัยชีวภาพไรโซเบียมเช่นกัน และสุดท้ายเมื่อคัดเลือกเชื้อไรโขเบียมรวมทั้งกระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพที่มี ประสิทธิภาพได้แล้ว ได้นำเชื้อไรโซเบียมในรูปแบบปุยชีวภาพที่มีการพัฒนาแล้วนี้ไปทดสอบกับถั่วเหลืองในดิน ตัวอย่างจากพื้นที่ตัวแทนต่าง ๆ ในระดับกระถาง พบว่าหัวเชื้อไรโซเบียมที่มีการเสริมน้ำตาลซูโครสเป็น compatible solute สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับหัวเชื้อไรโซเบียมส่งผลให้ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ได้ดีในดินตัวอย่างที่นำมาทดสอบส่วนใหญ่ภายใต้สภาวะต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าหัวเชื้อไรโซเบียมที่พัฒนาได้นี้มี ศักยภาพเบื้องต้นในการนำไปผลิตเพื่อใช้ในเชิงการค้าเพื่อใช้ในสำหรับการปลูกถั่วเหลืองในพื้นที่ต่าง ๆ ต่อไป ทั้งนี้ได้ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้จากงานวิจัยให้กับเกษตรกรและผู้สนใจโดยการจัดอบรม ทางด้าน เทคโนโลยีไรโขเบียมและการผลิตปุ๋ยชีวภาพ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
บทคัดย่อ (EN): Environmental stress conditions in the soil, such as acidity, drought, high temperature, or multiple stress conditions are the important factors that reduce the efficiency of rhizobial inoculant and finally fail in nodulation and nitrogen fixation in legume plant. Selection of stress tolerant rhizobia and using of compatible solute supplemented in medium is one of strategies to enhance the efficiency of rhizobial inoculant. This research project aimed at selection of multi-stress tolerant bradyrhizobium for soybean inoculant production. Bradyrhizobium sp. isolate 194 was selected as the multi-stress tolerant strain in this project. This strain could promote high level of nitrogenase activity, plant biomass, and it also has higher nodulation competition ability than a soybean commercial strain of B. japonicum USDA110 under stress conditions. Whereas, Bradyrhizobium sp. isolate 194 was supplemented with sucrose as a compatible solute showing highest percentage survival of bacteria when cultured in medium under various stress conditions. The sucrose supplementation in medium could improve rhizobial cell survival by accumulating several sugars derived from its sucrose metabolism, especially glycerol and trehalose inside the cell when encounter to the various stresses, and subsequently support soybean growth under stress conditions. Moreover on formulation of high quality biofertilizer, the suitable sterilization processes of carrier (peat or compost) is required to develop. It was found that carriers with 10% moisture content packing in polyethylene bag could be efficiently sterilized by irradiation at 10-20 kGy, or by autoclaving with tyndallization approach (autoclaving two times in a row at 121*C for 60 min, with waiting period of 18 hours after each time of autoclaving). The number of bradyrhizobia was in the range of 10-10 cfu/g in both irradiated and autoclaved peat after 6 months storage. However, the numbers of bradyrhizobial cell were reduced in compost sterilized by both methods after one month storage. These results indicate carrier material also had an important influence on inoculant quality. Finally, this developed soybean rhizobial inoculant was tested with plant in the pot containing soil sample collected from different areas in Thailand under stress conditions. The results showed that bradyrhizobial inoculant supplemented with sucrose could enhance soybean growth in several soil samples. These results revealed the preliminary potential of this developed bradyrhizobial inoculant to be used as commercial inoculant for soybean production in several locations of Thailand. Knowledge and technology derived from this research project have been extended to farmers and people who interested in rhizobial inoculant production technology by arranged the seminar and workshop on Rhizobium Technology and Biofertilizer fertilizer production course at Suranaree University of Technology.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/291504
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มประสิทธิภาพของหัวเชื้อไรโซเบียมในการแข่งขันเพื่อการเข้าสร้างปมกับพืชตระกูลถั่ว
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
30 กันยายน 2555
เอกสารแนบ 1
ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง แนวโน้มตลาดอาหารเสริมสุขภาพจากพืช การศึกษาพืชตระกูลถั่วท้องถิ่นใน จังหวัดจันทบุรี ร่วมกับไรโซเบียมเพื่อคลุมดินและเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ของดิน ปฏิกริยาของเชื้อไรโซเบียมต่อถั่วเขียว 32 สายพันธุ์ การประยุกต์ใช้แนวทางต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหัวเชื้อไรโซเบียมในการแข่งขันเพื่อเข้าสร้างปมกับพืชตระกูลถั่ว การศึกษาประสิทธิภาพการส่งเสริมการใช้เชื้อไรโซเบียมด้วยวิธีหน่วยเผยแพร่เคลื่อนที่ การสำรวจปริมาณเชื้อไรโซเบียมถั่วลิสงในดินที่มีระบบการปลูกพืชที่ต่างกัน การศึกษาการปลูกพืชตระกูลถั่วในนาหลังเก็บเกี่ยวข้าว การทดสอบประสิทธิภาพของการใช้หัวเชื้อไรโซเบียมที่ปรับปรุงแล้วในระดับกระถาง การใช้เชื้อ วี-เอ ไมโคไรซ่า เพื่อผลผลิตพืชตระกูลถั่ว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก