สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความรุนแรงของโรคหลังการเก็บเกี่ยวและสารพิษจากเชื้อราในผลิตผลเกษตร
เนตรา สมบูรณ์แก้ว - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความรุนแรงของโรคหลังการเก็บเกี่ยวและสารพิษจากเชื้อราในผลิตผลเกษตร
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of climate change on postharvest diseases and mycotoxin in agricultural commodities
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เนตรา สมบูรณ์แก้ว
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เช่น อุณหภูมิที่สูงขึ้น ปริมาณน้ำฟ้าที่มากกว่าปกติ ความแห้งแล้ง และการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในบรรยากาศ ส่งผลกระทบต่อการปนเปื้อนสารพิษจากเชื้อราในผลิตผลเกษตรและอาหาร การศึกษานี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของระดับอุณหภูมิ ปริมาณน้ำอิสระ ความชื้น ปริมาณ CO2 และปฏิสัมพันธ์ของปัจจัยข้างต้นต่อการเจริญและผลิตสารพิษของเชื้อรา Aspergillus niger, A. flavus และ Fusarium moniliforme ในอาหารเลี้ยงเชื้อ (in vitro) และในผลิตผลเกษตร ได้แก่ เมล็ดกาแฟดิบ เมล็ดถั่วลิสง และเมล็ดข้าวโพด ตามลำดับ การศึกษาในอาหารเลี้ยงเชื้อพบว่าการเปลี่ยนแปลงระดับอุณหภูมิ ปริมาณน้ำอิสระ และปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างอุณหภูมิและปริมาณน้ำอิสระมีอิทธิพลต่อการเจริญของเชื้อราทั้งสามชนิด ขณะที่การเพิ่มขึ้นของ CO2 ไม่มีผลต่อการเจริญของเชื้อราทั้งสามชนิด อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของระดับอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณ CO2 ทำให้เชื้อรา A. niger A. flavus และ F. moniliforme ผลิตสารโอคราทอกซิน เอ สารแอฟลาทอกซิน บี1 และสารฟูโมนิซิน (ตามลำดับ) ได้ในปริมาณที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปริมาณก๊าซ CO2 ที่สูงขึ้นจากระดับ 300 เป็น 1,000 พีพีเอ็มทำให้มีปริมาณสารพิษทั้งสามชนิดปนเปื้อนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งพบทั้งในการศึกษาในอาหารเลี้ยงเชื้อและในผลิตผลเกษตร ผลการศึกษานี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญสำหรับการศึกษาเชิงลึกต่อไป นอกจากนี้ได้ศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิต่อการเกิดโรคดอกจุดสนิมในกล้วยไม้สกุลหวายตัดดอก โดยศึกษาข้อมูลเบื้องต้นในแหล่งปลูกกล้วยไม้สกุลหวายเพื่อการส่งออก 3 จังหวัดได้แก่ นครปฐม สมุทรสาคร และราชบุรี จำนวน 6 แปลง ระหว่างมกราคม-สิงหาคม 2557 พบว่า อุณหภูมิในแปลงปลูกอยู่ระหว่าง 29.7-35.9oC ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศอยู่ระหว่าง 41.30-61.70 ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ 7.05-7.45 และเมื่อสุ่มเก็บดอกกล้วยไม้ 100 ช่อต่อแปลง มาจำแนกเชื้อราสาเหตุโรคดอกจุดสนิม พบเชื้อรา Curvularia eragrostidis มากที่สุดของกลีบดอกและก้านดอกจากแปลงปลูกในจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดนครปฐม คิดเป็นร้อยละ 33.33 ทดสอบอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา C. eragrostidis บนอาหาร PDA ที่อุณหภูมิ 5 15 25 35 และ 45oC เป็นเวลา 14 วัน พบว่าที่อุณหภูมิ 25 15 35 5 และ 45oC เชื้อ C. eragrostidis มีการเจริญเติบโต 8.10 3.68 0.87 0.63 และ 0 เซนติเมตร ตามลำดับ ทดสอบอุณหภูมิการเก็บรักษาต่อความรุนแรงการเกิดโรคดอกจุดสนิมกล้วยไม้สกุลหวาย 2 กรรมวิธี คือ ทำแผลบนดอก และไม่ทำแผล เก็บที่อุณหภูมิ 5 15 25 35 และ 30oC (ชุดควบคุม) เป็นเวลา 7 และ 14 วัน พบว่ากรรมวิธีทำแผลที่อุณหภูมิ 15oC เกิดโรคดอกจุดสนิมมากที่สุดร้อยละ 81.73 ในขณะชุดควบคุมเกิดโรคร้อยละ 50.47 ส่วนกรรมวิธีไม่ทำแผลที่อุณหภูมิ 25oC เกิดโรคดอกจุดสนิมมากที่สุดร้อยละ 29.40 ชุดควบคุมเกิดโรคร้อยละ 20.20 ทดสอบการควบคุมโรคดอกจุดสนิมด้วยน้ำอุณหภูมิ 25 35 45oC และอุณหภูมิห้อง (ชุดควบคุม) โดยนำช่อกล้วยไม้สกุลหวายที่มีดอกบาน 3 ใน 4 ของช่อดอกมาพ่นสปอร์เชื้อรา C. eragrostidis ความเข้มข้น 105 โคโลนีต่อมิลลิลิตร บ่มอุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชั่วโมง แช่ช่อดอกกล้วยไม้ในน้ำอุณหภูมิต่างๆ ข้างต้น 4 นาทีและนำขึ้นแช่น้ำกลั่นทันที ผึ่งให้แห้งเก็บที่อุณหภูมิ 14oC เป็นเวลา 10 วัน พบว่า ดอกกล้วยไม้ที่แช่น้ำอุณหภูมิ 25oC เกิดโรคดอกจุดสนิมน้อยที่สุดร้อยละ 2.34 ชุดควบคุมเกิดโรคร้อยละ 3.44
บทคัดย่อ (EN): Climate change e.g. warmer weather, greater precipitation, drought and elevated carbon dioxide will have various impacts to mycotoxins in agricultural products and food. The aim of current study was to determine effect of temperature, water stress and carbon dioxide concentrations and their interactions on growth and mycotoxins production by Aspergillus niger, A. flavus and Fusarium moniliforme in vitro and in stored coffee bean, peanut and corn grain. In vitro, only temperature, water activity and temperature x water activity affected on growth of A. niger, A. flavus and F. monoliforme, whilst elevated carbon dioxide did not influence to growth of these three mycotoxigenic species. However, the three main environmental factors and their interactions significantly caused A. niger, A. flavus and F. monoliforme to produce different concentrations of ochratoxin A, aflatoxin B1 and fumonisin, respectively. Increased carbon dioxide (300 to 1,000 ppm) resulted to higher contents of mycotoxins contamination. These results were found in in vitro and in agricultural products experiments. The obtained results are advantage for further study as baseline assumptions. Another study focused on impact of temperature to flower rusty spot initiation of Dendrobium hybrid. Basic environmental study of orchid garden was obtained from commercial growers in Nakhon Pathom, Samut Sakhon and Ratchaburi provinces of total 6 farms from January to August 2014. We found that the average field temperature was 29.7-35.9oC, as well as relative humidity was 41.30-61.70%, and water pH was 7.05-7.45. The 100 resemes of orchids per farm were randomly collected to isolate flower rusty spot in Samut Sakhon and Nakhon Pathom provinces. We found that the most disease was Curvularia eragrostidis representing for 33.33%. The in vitro experiment studied the effect of 6 temperatures including 5, 15, 25, 35, 45 and 30oC (control) on mycelium growth of C. eragrostidis for 14 days. The result showed that the mycelium growths of C. eragrostidis were 8.10, 3.68, 0.87, 0.63 and 0 cm at temperature of 25, 15, 35, 5, and 45oC respectively. The in vivo experiments studied the effect of 6 storage temperatures including 5, 15, 25, 35 and 30oC (control) on severity of flower rusty spot disease by wounding and non-wounding. The result showed that for wounding method, the rustiest spot disease of 81.73% was found in 15oC treatment whereas control showed 50.47%. For non-wounding method, the most flower rusty spot diseases of 29.40% was found in 25oC treatment whereas control showed 20.20%. Moreover, we studied the effect of hot water treatment at temperature of 25, 35, 45 and 32oC (control) on flower rusty spot by spraying C. eragrostidis 105 cfu/ml to receme and immersing them in hot water at temperature mentioned above for 4 minutes, suddenly immersing them in distilled water and keeping them at 14oC for 10 days. We found that 25oC treatment showed the least flower rusty spot by 2.34% whereas control showed 3.44%.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความรุนแรงของโรคหลังการเก็บเกี่ยวและสารพิษจากเชื้อราในผลิตผลเกษตร
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 สังข์หยดพัทลุงให้ปลูกได้ทุกฤดูเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ความรุนแรงในการก่อโรคและพันธุกรรมในระดับโมเลกุลของเชื้อรา Beauveria bassiana สายพันธุ์ท้องถิ่นที่เป็นผลมาจากอาหารเทียมและวัสดุเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณสำหรับใช้ประโยชน์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชอย่างยั่งยืน โครงการวิจัยการจัดการโรคและสารพิษจากเชื้อราในผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวโดยไม่ใช้สารเคมี ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินทางการเกษตร โครงการวิจัยโรคหลังการเก็บเกี่ยวและสารพิษที่เกิดจากเชื้อราในผลิตผลเกษตร ความรุนแรงในการก่อโรคและพันธุกรรมในระดับโมเลกุลของเชื้อรา Beauveria bassiana สายพันธุ์ท้องถิ่นที่เป็นผลมาจากอาหารเทียมและวัสดุเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณสำหรับใช้ประโยชน์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชอย่างยั่งยืน โครงการวิจัยการควบคุมการปนเปื้อนจุลินทรีย์และสารพิษจากเชื้อราในกระบวนการผลิตผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อผลผลิตและรายได้ของเกษตรกร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก